Street Art – Graffiti สไตล์ที่ถูกสรรสร้างและสังคมมองว่าไม่สร้างสรรค์จนได้รับการยอมรับ

Street Art - Graffiti สไตล์ที่ถูกสรรสร้างและสังคมมองว่าไม่สร้างสรรค์จนได้รับการยอมรับ

สไตล์ Street Art มีจุดต้นกำเนิดมาจากการวาดภาพ หรือเพ้นภาพลงบนผนังและพื้นผิว บนผนังสิ่งก่อสร้างต่างๆที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลักฐานการวาดภาพในถ้ำ Lascaux ฝรั่งเศส นักวิชาการสันนิฐานว่าการวาดภาพฉากการล่าสัตว์ในผนังถ้ำนั้นมีจุดประสงค์เพื่อรำลึกถึงชัยชนะจากการล่าสัตว์ ที่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ยุคหลังจากนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มพวกทหารในสงครามนิยมเขียนวลี “Kilroy was here” เป็นภาพคนหัวโล้นที่มีจมูกขนาดใหญ่ ซึ่งพวกเขามีความต้องการที่ตรงกับภาพวาด Graffiti ในปัจจุบัน คือการที่จะแสดงจุดยืนและบ่งบอกให้ทุกคนรู้ถึงการมีตัวตนของเขา เป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ส่งผลให้เริ่มสไตล์ภาพ Graffiti ในภายหลังและเป็นเหมือนหลักแนวทางของสไตล์นี้เลย

หลายปีผ่านไปศิลปินที่สร้างสรรค์สไตล์นี้ยังคงแสดงผลงานอยู่บนทุกๆพื้นที่ในสังคมทั้งในที่ที่ผิดกฎหมาย และพื้นที่สาธารณะ มีมากมายหลากหลายแนวทางภายใต้ชื่อของคำว่า “Street Art” หรืออาจถูกเรียกเป็น Urban Art จริงๆแล้วคำว่า Graffiti นั้นมาจากภาษากรีกที่เป็นคำว่า “graphein” ที่แปลว่าการขีดเขียนหรือวาด การสร้างงานศิลปะสไตล์นี้สมัยใหม่นั้นหรือสามารถเรียกอีกอย่างว่ายุคฮิปฮิบ Hip hop เป็นสมัยปี 1960 – 1970 ที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเป็นการใช้สีสเปรย์หรือสี Paint Markers เป็นส่วนมาก ส่วนใหญ่มีการเน้นตัวอักษรที่วาดเป็นตัวหนาและมีลักษณะของเส้นเงามากเป็นพิเศษถูกเรียกว่า “Wildstyle” ประกอบกับภาพการ์ตูนเป็นส่วนมาก

Image : Pinterest
Image : Pinterest

Graffiti หรือ Hip-Hop สไตล์นั้นมีอยู่มากในย่านคนผิวดำและลาตินในนิวยอร์กควบคู่ไปกับดนตรีสไตล์นี้ เป็นวัฒนธรรมย่อยข้างถนน ศิลปิน Graffiti ในช่วงยุคแรกมักถูกเรียกว่า “Writers” หรือ “Taggers” โดยพวกเขามีเป้าหมายคือการวาดภาพติดแท็กในหลายๆสถานที่เป็นลายเซ็นของเขาเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตรงกับความต้องการพื้นฐานของสไตล์นี้คือแสดงให้มีคนเห็นผลงานของตัวเองได้มากที่สุด จึงทำให้นิวยอร์กเป็นสถานที่ที่วัฒนธรรม Graffiti ขยายได้อย่างเต็มที่

สถานที่มากมายต่างกลายเป็นที่แสดงงานศิลปะ Graffiti ทั้งรถไฟฟ้า ผนังบ้านเมือง รถไฟใต้ดิน เนื่องจากพาหนะเหล่านั้นเดินทางไปได้ไกลและทำให้คนรู้จักในวงกว้าง สถานนีรถไฟ และตัวรถไฟใต้ดินกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในการขีดเขียนอย่างรวดเร็ว

จาก Graffiti สู่ Street Art : Graffiti ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆให้ร่วมกับสมัยใหม่ๆ มีนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงด้านศิลปะ Johannes Stahl ให้คำอธิบายว่า “เราคุ้นเคยกับการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ศิลปะที่เป็นยุคสมัยต่างๆที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะเดียวกันมีบางสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ศิลปะที่เป็นทางการและเป็นแนวทางที่ดื้อด้านแต่ยังคงได้รับการสืบทอดมาเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นถูกถ่ายทอดโดยไม่ต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแต่มีให้เห็นกันทั่วๆไปตามท้องถนนและไม่จำเป็นต้องมีหลักการหรือรูปแบบใดๆเลย นั้นแหละเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของสไตล์นี้

Image flickr.com

ภายหลังช่วงปลายทศวรรษ 1970 – 1980 นักวาดสไตล์ Graffiti หลายคนเริ่มเปลี่ยนจากงานที่ใช้ข้อความธรรมดาเป็นผลงานหลัก เป็นภาพที่ดูสวยงามและรวมตัวหนัวสือประกอบอยู่ด้วย และศิลปินอีกหลายคนใช้เทคนิคใหม่ๆหรือวัสดุต่างๆมาประกอบการวาดมากยิ่งขึ้นเช่น ภาพโปสเตอร์ การพ่นลาย การทำงานศิลปะตัดแปะ(Collage Art)

Image : behance.net

ที่ปฏิเสธไม่ได้อีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสไตล์นี้นั้นคือ ศิลปินส่วนใหญ่จะสร้างงานศิลปะสไตล์ Graffiti กันอย่างลับๆแบบแอบผิดกฎหมายในพื้นที่สาธารณะ งานประเภทนี้จะแตกต่างจากงานศิลปะทั่วๆไป เป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์มาจากผู้ที่ดื้อรั้นจึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่พบเห็นงานเหล่านี้ตามสถานที่ต่างๆในท้องถนน

Iheart, Nobody Likes Me, Stanley Park, Vancouver, Canada ภาของเด็กที่ทำหน้าไม่พอใจ เจ็บปวดกับการที่ไม่มีคนชอบโพสของใน Instagram

Dmitri Vrubel, My God, Help Me to Survive This Deadly Love, Berlin Wall, Germany จิตรกรรมฝาผนังสัญลักษณ์บนกำแพงเบอร์ลิน ที่สื่อให้เห็นถึงการจูบแบบพี่น้อง Bruderkuss ในภาพคือเลขาธิการสหภาพโซเวียต และเลขาธิการของ Socialist Unity Part ของ GDR ที่มีข้อตกลงร่วมกันในการขายอาวุธเคมีให้กับสหภาพโซเวียต

Keith Haring, We the Youth, Philadelphia, USA งานศิลปะสไตล์อเมริกา เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังคงสภาพเดิม ถูกว่าเพื่อรำลึกถึงวันครบรอบสองร้อยปีรัฐธรรมนูญอเมริกากับการเล่นวลีว่า “We the people”

Street Art ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในเมืองลิเวอร์พูลประเทศอังกฤษ ที่ศิลปินต่างๆสร้างสรรค์ภาพบุคคล ผู้จัดการทีม นักเตะคนสำคัญกับทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.