ก่อนที่โลกจะรู้จักกับคอมพิวเตอร์ มนุษย์ทำการออกแบบตัวอักษรและสิ่งพิมพ์กันอย่างไร

ก่อนที่โลกจะรู้จักกับคอมพิวเตอร์ มนุษย์ทำการออกแบบตัวอักษรและสิ่งพิมพ์กันอย่างไร

สำหรับในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ หรือแล็บท็อปล้วนเป็นอุปกรณ์ที่จะเป็นสำหรับอุตสาหกรรมการออกแบบ และการทำงานด้านกราฟฟิกอย่างปฎิเสธไม่ได้ มันเป็นส่วนประกอบหลักที่จะตามมาโดยส่วนย่อยเช่น Software ต่างๆเช่น Photoshop, AI เป็นต้น ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมานั้นเราทราบกันเป็นอย่างดีว่าเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายที่ออกมาเพื่อช่วยให้การทำงานด้านกราฟฟิกนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนที่จะต้องใช้เวลาหลายๆชั่วโมงทำให้นักออกแบบมุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ผลงานนั้นๆได้มากกว่า ในบทความนี้จะลองพูดถึงลักษณะการใช้เทคนิคการออกแบบในสมัยก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ว่าพวกเขาทำมันได้อย่างไรและมีวิธีใดบ้างที่น่าสนใจ

การแสดงงานกราฟฟิกบนคอมพิวเตอร์ครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นในปี 1980 พร้อมกับการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ใหม่ในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Macintosh computer ในสมัยนั้นการออกแบบกราฟฟิกยังคงใช้เวลานานอยู่แต่เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  • X-Acto Knives : ในปัจจุบันแทบจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือนี้เพียงคุณใช้ Software ต่างๆมันก็จะมีเครื่องมือเพื่อรองรับคำสั่งคุณเพียงแค่ 1 คลิก แต่ในสมัยก่อนนักออกแบบกราฟฟิกจะต้องตัดและจัดวางองค์ประกอบต่างๆที่ต้องการด้วยมือ และลองย้ายมันไปรอบๆเพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุด หรืออาจจะลบมันออกหากไม่ต้องการก็ต้องตัดด้วยมือ

  • Drawing Tables : การวาดภาพหรือการออกแบบงานต่างๆทั้งงานอักษรและภาพ จำเป็นต้องมีโต๊ะที่พร้อมทำงานและตั้งอยู่ในมุมที่เหมาะสม อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถทำให้การออกแบบนั้นง่ายมากยิ่งขึ้นการขีดเส้นตรงหรือการวาดเขียนต่างๆทำได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีใช้ในการออกแบบ
Image : flickr.com
  • Tweezers : ในบางครั้งการออกแบบลักษณะของงานที่เป็นตัวอักษรขนาดเล็กๆมักจะมีองค์ประกอบขนาดเล็กมากด้วยเช่นกัน แหนบจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สามารถใช้หยิบจับได้ดีกว่ามือของคุณอย่างแน่นอน
  • Rubber Cement and Solvent : กาวที่นักออกแบบสมัยนั้นเลือกใช้และตัวทำละลายที่มันจะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มันค่อนข้างมีกลิ่นที่เหม็นเป็นปัญหาในงานออกแบบเรื่องที่ต้องสูดดมกลิ่นทุกครั้งที่ใช้ พวกเขาใช้มันในการติดส่วนประกอบต่างๆในงานนั้นๆให้เป็นส่วนเดียวกันหรือใช้สำหรับสร้าง Texture ให้กับงานอักษรให้ดูมิติมากยิ่งขึ้น
Image : etsy.com
  • ปากกาและดินสอ : เป็นสิ่งพื้นฐานที่ในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่เช่นกัน ดินสอไว้สำหรับลอกลาย วาดภาพ เขียนตัวอักษร ออกแบบลายเส้นต่างๆเพื่อใช้ปากกาย้ำตัดเส้นอีกครั้งในภายหลัง และพวกเขาใช้ดินสอสีที่เป็นสีฟ้าอ่อนเพื่อวาดภาพหรือออกแบบตัวอักษรและมันเป็นสีที่จะมองไม่เห็นบนฟิล์มก่อนจะตีพิมพ์

งานพิมพ์/อักษร สำหรับในปัจจุบันการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่เป็นลักษณะของตัวอักษรนั้นหากทำผิดพลาดเพียงแค่ไม่กี่วินาทีก็สามารถแก้ไขได้ทันทีแต่ในสมัยก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์นั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมแทรกตัวหนังสือที่ถูกออกแบบไปแล้ว ตัวอักษรต่างๆที่ถูกดีไซน์ถูกตัดปะลงบนแบบแล้วยากที่จะแก้ไข

นักออกแบบในสมัยนั้นหากพวกเขาได้ไอเดียหรือความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับขนาดและรูปแบบตัวหนังสือที่ต้องการเขาจะส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้รับออกแบบต้นแบบตัวอักษรก่อนเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบต่อในอีกวันนึงเป็ฯวิธีที่ป้องกันการผิดพลาดและออกแบบตัวอักษรออกมาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด และหากนักออกแบบไม่แน่ใจเรื่องของขนาดพวกเขาจะขอตัวอย่างแบบอักษร 2-3 ขนาดที่แตกต่างกันมาเพื่อเล่นกับขนาดและลองออกแบบได้

จึงทำให้เกิดขึ้นจำกัดในการออกแบบตัวอักษร แตกต่างกับทุกวันนี้ที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนขนาด รูปลักษณ์แบบอักษร และรวมถึงลักษณะการจัดวางได้อย่างง่ายดาย ในสมัยนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงานหรือสั่งแก้ไขงานอาจต้องใช้เวลาเพิ่มเติมไปมากจากเดิม

Hot type – หรือสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการพิมพ์โลหะร้อนหรือการพิมพ์ด้วยตะกั่วร้อน เป็นอีกวิธีในการพิมพ์ที่ใช้โลหัหลอมเหลวฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์เพื่อสร้างรูปร่างของตัวอักษร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ เมื่อโลหัเย็นตัวลงจะถูกใช้เพื่อพิมพ์หมึกลงบนกระดาษถูกใช้ในสมัยแรกที่มีการพิมพ์ตัวอักษรและหลังจากนั้นมาจะมีเครื่องพิมพ์ชื่อว่า Linotype ที่มีคีย์บอร์ดไว้พิมพ์ช่วยให้ระยะเวลาการออกแบบและตีพิมพ์ไวขึ้นมากกว่าเดิม

หลังจากขั้นตอนทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ทำการแก้ไขจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วนั้นนักออกแบบจะทำการพิมพ์หน้าสิ่งพิมพ์หรือสื่อพิมพ์ออกมาแต่หากเกิดปัญหาขึ้นจะทำให้ต้องกลับไปย้อนขั้นตอนใหม่ทั้งหมดดังนั้นนักออกแบบจำเป็นต้องตรวจทานทั้งหมดอย่างละเอียดก่อนจะสั่งพิมพ์

สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของวิวัฒนาการของการออกแบบกราฟฟิกและสิ่งพิมพ์ให้ลึกกว่านี้มากยิ่งขึ้น มีสารคดีตัวหนึ่งที่น่าสนใจเราอยากแนะนำให้รู้จัก ชื่อว่า “Graphic Means”

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.