วิธีขจัดความไม่สมบูรณ์(ตำนิของชิ้นงาน)หลังจากการเผาชิ้นงาน
ก่อน ที่จะ รุ้จักกับวิธีในการซ่อมชิ้นงาน ที่มีตำหนิ เราอาจจะต้องมาทำความรุ้จักกันก่อนว่า ตำหนิของชิ้นงานบนเซรามิคมีอะไร? สาเหตุของตำนิคืออะไร? และถูกแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไร บ้าง?ซึ่งจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่เพือเป็นการไม่เสียเวลา ได้ตัดและสรุปเข้าใจแบบง่าย เราจะพูดถึงตำหนิที่เกี่ยวข้องและสามารถแก้ไขได้
“ตำหนิบนชิ้นงาน”
ตำหนิบนชิ้นงานคือ ความไม่เรียบร้อยของชิ้นงานเซรามิค มักเกิดขึ้นกับงานเซรามิคทั้งงานที่เป็นอุตสหกรรมและงานศิลปะตกแต่ง ตำนิชิ้นงาน ที่เป็นอุตสหกรรมมักที่ตรวจสอบมากกว่าและต้องเรียบร้อยมากกว่างาน ที่เป็นศิลปะตกแต่ง ทั้งนี้เพราะว่า งานอุตสหกรรมมักมีการตรวจสอบมากกว่าและไม่ต้องการตำหนิของชิ้นงานแตกต่างงานงานศิลปะกึ่งตกแต่งที่จะยอมรับได้ในบางครั้ง
“สาเหตุของตำหนิบนชิ้นงานเซรามิค “
สาเหตุของตำหนิชิ้นงานบนเซรามิคเป็นเรื่องที่ยากและถกเถียงกันอยุ่เสมอเพราะบ้างครั้งแม้ว่าเรา ทำงานแบบเดิมๆชิ้นงานที่ออกมากลับมีความแตกต่างจาก ที่เคยทำทั้งสีที่แตกต่าง ตำหนิเคลือบไม่เต็ม ฟองอากาศ เคลือบแตกลาน เป็นต้น สาเหตุของตำหนิของงาานเกินขึ้นได้หลายส่วนตั้งแต่ ดิน เคลือบ วิธีการทำงาน สามารถทำให้เกิดตำหนิบนชิ้นงานได้หมด
“ดิน”
เป็นขั้นตอนแรกๆของการทำเซรามิคถ้าไม่นับรวมการทำแม่พิมพ์ การเตรียมดินเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนผสมที่อยุ่ในดิน แต่ละชนิดที่ใช้ในการทำเซรามิคขึ้นอยุ่กับการขึ้นรูป
1.ดินที่ใช้สำหรับโทรอิ้งหรือดินแรมเพลส มักเกินตำหนิฟองอากาศและเศษษกพืชซากสัตว์ขนาดเล็กถึงแม้ว่าจะเป็นดินที่ผลิตจากดรงงานแต่ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำอาจจะมีตะกอน ดิน หินขนาดเล็ก ติดมาได้เมื่อน้ำไปขึ้นรูปชิ้นงานไม่ได้ระวังเวลาเผาบีส(เผาครั้งที่1)จะทำให้เกินรูอากาศขนาดเล็กที่มองไม่เห็น เกิดเป็นตำหนิจาการเคลือบงานเป็นรูเข้ม
2.สลิปดินหรือน้ำดินหล่อ เป็นรูปแบบดินการขึ้นรูปงานโดยใช้แม่พิมพ์ ตำหนิที่จะเกิดขึ้นเช่นเดี่ยวกับดินโทรอิ้งและดินแรมเพลส คือเศษซากพืชซากสัตว์ขนาดเล็ก และฟองอากาศ เมื่อโดนความร้อนตำหนิของงานก็จะค่อยๆโผล่ขึ้นมา
3.ความเข้มข้นของน้ำดินมีผลต่ออากาศ การปั่นน้ำดินที่แรงจนเกินไปอาจจะสร้างรูอากาศที่มองไม่เห็นและเป็นตำหนิของชิ้นงานในภายหลัง น้ำดินที่ข้นการไหลตัวของอากาศออกไม่หมดทำให้มีอากาศติดอยุ่ในเนื้อดินเมือทำการเผา รูอากาศเหลานี้จะขยายตัว
“การเผาบีส”
การเผาบีสก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ เพราถ้าเราเผาบีสเร็สจนเกินไปในบ้างครั้งชิ้นงานจะเผาซากพืชซากสัวต์ขนาดเล็กออกจากตัวชิ้นงานในเนื้อดินไม่หมดทำให้มีตกค้างมาจนถึงตอนเคลือบงาน เมือนำมาเผาเคลือบซากพืชซากสัตว์จะถูกเผาหมดอีกครั้งแต่จะสร้างตำหนิไว้บนตัวชิ้นงานเป็นรูเข้ม เคลือบไม่เต็มแทน
“การขัดชิ้นงาน”
การขัดชิ้นงานมากจนเกินไปหลังจากเผาบีสก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุของการสร้างตำหนิ เนื่องจากการขัดชิ้นงานให้มีผิวเรียบจนเกินไปมีข้อดีคือผิวของชิ้นงานเรียบไม่เป็นคลื่นจับแล้วเรียบเนียนโดยเฉพาะเคลือบด้านที่มองเห้นตำหนิผิวจานได้ง่าย แต่ข้อเสียก็มีเช่นกันคือ ทำให้เกิดฟองหรือรูขนาดเล็กจากการเผาซากพืชซากสัตว์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็น เปิดหน้าผิวจานขึ้นมา พวกนนี้จะทำให้เกิดหลุ่มขนาดเล็ก เวลาเคลือบจะทำให้เคลือบมีรูจุดหรือที่เรียกว่ารูปเข็ม รูพรุ่น นั้นเอง และการขัดหน้าจานเรียบจนเกินไปจะทำให้เกิดฝุ่นที่ติดบนผิวชิ้นงานถ้าเช็ดออกไม่สะอาดจะทำให้ ชิ้นงานเคลือบงานไม่เต็มเป็นรอย เรียกว่ารูระเบิด

“การทำความสะอาดก่อนเคลือบชิ้นงาน “
ก่อนที่เราจะสามารถน้ำชิ้นมามาผ่านกระบวนการเคลือบได้นั้น ชิ้นงาาจะต้องผ่านวิธีทำความสะอาดก่อน เช่น เป่าฝุ่นที่เกาะบนผิวชิ้นงาน ล้างน้ำ ใช้ฟองน้ำเช็ดก่อนนำไปเคลือบต่อไป หากไม่ทำความสะอาดจะสร้างตำหนิของชิ้นงานอย่างที่เห็นได้มากเช่น รอยเคลือบไม่เต็ม

“กระบวนการ เคลือบชิ้นงาน”
เป็นอีกส่วนที่สำคัญมากเพราะต่อให้เรามีดินที่ดี เผาได้สมบูณร์ มีการทำความสะอาดชิ้นงาน ถ้าเราชุบเคลือบแบบไม่ระวังหรือผิดวิธี ชิ้นงานก็จะเกิดตำหนิขึ้นได้ โดยตำหนิที่ขึ้นส่วนมาก ถ้าเป้นเคลือบสีด้าน เคลือบที่ไหลตัวได้น้อยจะเปิดจากการ เก็บรายละเอียดและวิธีการเคลือบ ส่วนเคลือบเงาเคลือบที่ไหลตัวได้ดี จะเกิดจากเคลือบไม่เต็มเคลือบวิ่งเพราะ มีฝุ่นหรือ พาราฟินจับนั้นเอง รวมทั้งเศษโลหะจากตัวอุปกรณ์ในการเคลือบงาน ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงได้ยาก ความข้นของเคลือบและส่วนประกอบ เคลือบที่ม่ีความข้นมากเช่นเคลือบขี้เถ้า เคลือบด้าน จะมีการไหลตัวตำ่ ฟองอากาศที่อยุ่ในเคลือบ จะออกจากเคลือบไม่หมดเวลาตกแต่งช้นงานจึ้งต้องระวัง

“การเผาเคลือบ”
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำเซรามิคถ้าไม่นับเรื่องการตรวจสอบ QC ตำหนิของงานที่เกิดจากการเผาเคลือบส่วนมากจะเกิดจากการ ที่เคลือบเผาเกินอุณหภูมิหรือเผาเกินจุดหลอมของเคลือบชนิดนนั้นๆเช่นเคลือบที่เผา1250 เผา1300 หรือเศษ แผ่นเชลตกลงบนชิ้นงาน โดยเฉพาะชิ้นงานที่มีพื้นที่สัมผัสขนาดใหญ่ เพราะภายในเตาความร้อยจะหมุนวนรอบเตา ให้ชิ้นงาน มีความร้อนที่ใกล้เคียงกันบ้างครั้งการโหลดชิ้นงานขึ้นบนเตาอาจจะทำให้เศษ เชลตกลงในชิ้นงานได้


“วิธีซ่อมแซมชิ้นงาน ที่มีตำหนิต่างๆ”
ชิ้นงานที่มีตำหนิมักเกิดขึ้นขึ้นกับเซรามิคเสมอขึ้นอยุ่ว่าจะมากน้อย หรือที่เราสังเหตเห็นได้หรือปล่าว บ้างตำหนิชิ้นงานถูกซ่อมอยู่ใต้เคลือบบ้างตำหนิชิ้นงานสามารถมองเห็นได้จากตาปล่าว แล้วการซ่อมแซ่มเราจะทำอย่างไร?
การซ่อมแซ่มชิ้นงาน มักเกิดขึ้นน้อยมากถ้าเทียบกับกระบวนการทำงาน เพราะการซ่อมชิ้นงานโอกาศที่ชิ้นงานจะกลับมาสมบูรณ์โดยเฉลี่ยอยู่ที่50% เนื่องจากเป็นการเผารอบที่3ตัวชิ้นงานมีการสุกตัวเต็มที่ โอกาศที่ชิ้นงานจะแตก บิดเบี่ยว เสียรูปทรงเกิดขึ้นได้ง่าย หากควบคุมความไม่ดี ขึ้นความร้อนเร้วจนเกินไป หรือเผาไม่ถึงจุดหลอม ตัวของเคลือบที่ทำการซ่อม
จากที่ได้สืบค้นข้อมูลจากหลายๆที่และข้อมูลลการแก้ไขปัญหา มีวิธีแก้ไข่ปัญหาตาม ปัญหาดังต่อไปนี้
1.วิธีอย่างง่ายและนิยมใช้ ในงานอุตสหกรรมขนาดเล็ก เช่น สตูดิโอ โรงงานขนาดเล็ก การใช้ การแก้ไข้ชิ้นงาน มักเกิดกับชิ้นงานที่มีตำหนิเพียงไม่กี่จุด ประเภทของตำหนิที่สามารถ ซ่อมแซมได้ เช่น
” รูเข็ม เคลือบไม่เต็ม รูระเบิด เศษวัสดุหล่นบนชิ้นงาน”
วิธีแก้ไขคือ เปิดพื้นที่สัมผัสของตัวชิ้นงานให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ลงไปถึง ฐานของรู เพราะถ้าเราไม่เปิดออกจนหมด เมื่อเราซ่อมแซ่ม ก็จะไม่หายตำหนิ เมื่อเรียบร้อยใช้เคลือบที่มีความข้ม มากหรือใกล้เคียงกับเคลือบเดิม ส่วนนี้จะค่อนข้างยากเพราะเป็นงานที่
ต้องกะคว่มเข้มข้นของเคลือบให้พอดี ถ้าน้อยจะทำให้การซ่อมงานมีรอยตำหนิอยุ่ถ้ามาก รอยที่ซอ่มจะนูนออกมาชัดเจน
ทาเคลือบและปล่อยให้เคลือบแห้งจนสนิทใช้นิ้วลูบให้เคลือบมีเนียนไปกับตัวชิ้นงานเดิม

2.วิธีที่โรงงานเซรามิคที่เกี่ยวข้องกับสุขภัณฑ์ใช้ เป็นการใช้เคลือบชนิดพิเศษที่ไม่ผ่านการเผา ซ่อม มักเกิดขึ้นกับตำหนิไม่กี่จุด เพราะชิ้นงานมีขนาดใหญ่และมีราคาแพง สารที่ใช้ในการซ่อมไม่มีข้อมุลจดบึนทึกที่แน่นอนขึ้นอยุ่กับความลับของโรงงงาน ใช้ได้เพราะไม่ได้ใช้ร่วมกับการบริโภค
วิธีการแก้ไขจะคล้ายคลึ่งกับการซ่อมงานแบบง่ายใช้เครื่องมือในการเปิดพื้นที่ผิวสัมผัสและ ใช้สารอุดรอที่มีตำหนิ เกลี่ยให้เนี่ยก่อนแห้ง งานประเภทนี้มักมีแต่สารที่ให้ความมันเงาเพราะซ่อมแซ่มได้ง่าย
“จะเห็นได้ว่า ตำหนิของงานเซรามิคจะเกิดขึ้นได้เกือบทุกขั้นตอนเนื่องจากเป้นงานที่ต้องใช้ความละเอียด ยิ่งชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่การเกิดตำหนิยิ่งมีได้มาก วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การใส่ใจทุกขั้นตอน ให้เวลากับทุกขั้นตอน การทดลอง และประสบการณ์มักจะถูกนำมาใช้กับงานเซรามิค การตรวจสอบกระบวนการเมื่อเกิดปัญหา และเข้าไปแก้ไข การจดบันทึก กระบวนการผลิต ย้อนรอยปัญญา เหล่านี้คือวิธีที่ดีที่สุดในการซ่อมแซ่มงาน”