อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้า ในเรื่องความสำคัญของเสียง ว่ามีความสำคัญและสามารถแบ่งตามแหล่งที่มาได้ทั้งหมด 3 แบบ
ไม่ว่าจะภาพยนตร์หรือวิดีโอหรือแอนิเมชั่นของคุณจะน่าดูและสวย หากคนที่ดูไม่เข้าใจอารมณ์หรือคำพูดที่สื่อออกมานั้นก็ไม่มีความหมาย นอกจากนี้ยังหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อเสียงสำหรับใช้ในแอนิเมชั่น เสียงลม เสียงคุณภาพไม่ดี หรือเครื่องบันทึกที่มีคุณภาพต่ำ
บทความเกี่ยวกับแอนิเมชั่น :
โดยทริคการบันทึกเสียงนี้สามารถใช้ได้สำหรับเสียงบรรยาย หรือ เสียงประเภท Foley (โฟลีย์)
1.การเลือกสถานที่ – ห้อง


ก่อนที่จะเริ่มบันทึกเสียงนั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือห้องบันทึกเสียง ห้องที่กล่าวถึงนั้นอาจเป็นห้องเฉพาะทาง หรือห้องที่ปรับแต่งเพียงเล็กน้อย
คำแนะนำ :
- ห้องควรเงียบ และห่างไกลเสียงผู้คน
- ปิดประตูและหน้าต่าง
- ควรหลีกเลี่ยงห้องพื้นไม้ เพราะจะสะท้อนเสียงได้มาก
- หากเป็นพื้นปูพรม จะเหหมาะมาก เนื่องจากสามารถดูดซับเสียงได้
2.เตรียมห้องให้พร้อม

คุณสามารถลดเสียงสะท้อนที่อาจสร้างปัญหาให้กับเสียงที่คุณบันทึกได้ ด้วยการย้ายตัวผู้บันทึกมาอยู่กลางห้อง ลดการชิดผนัง และสามารถใช้ถุงนอน ผ้านวม วางกั้น ด้านหลัง ด้านข้างเพื่อลดเสียงแทรกและสะท้อนคุณสามารถลดเสียงสะท้อนที่อาจสร้างปัญหาให้กับเสียงที่คุณบันทึกได้
หัวข้อสำคัญ (โปรดจดจำสิ่งนี้ก่อนเริ่มบันทึก)
- พื้นไม้เนื้อแข็งและผนังคอนกรีต สามาถสะท้อนเสียง และสร้างเสียงรบกวนดังมาก
- หากห้องบันทึกเสียงเป็นพื้นไม้ คุณสามารถวางผ้าเช็ดตัวหรือพรมไว้ที่พื้นเพื่อลดการสะท้อนของเสียง
- หากมีหน้าต่าง การเพิ่มผ้าม่านจะช่วยลดเสียงสะท้อนได้
- นอกจากนี้หากมีเสียงแทรกจากประตู สามารถใช้ทิชชู่อุดได้
3. เครื่องมืออุปกรณ์
อุปกรณ์การอัดเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดทั้ง โปรแกรมที่ใช้ในการอัดและไมโครโฟน
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการบันทึกเสียง ฉะนั้นการเลือกใช้และเลือกซื้ออุปกรณืที่ดีก็สำคัญเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะแนะนำไมโครโฟนที่มาพร้อมกับตัวป้องกันเสียงรบกวน เนื่องจากขณะอัด แม้มีเสียงรบกวนเกิดขึ้นเพียงเล็ก ก็สามารถขจัดออกได้ เราไม่แนะนำให้ใช้ไมโครโฟนที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากไม่ได้มีคุณภาพเพื่อการตัดต่อ และคุณภาพเสียงไม่ดี

ในบางกรณีการอัดเสียงบรรยายในคลิปวิดีโอหรือแอนิเมชั่นของ Terrestrial ก็เลือกใช้ BOYA Microphone BY-MM1 ซึ่งเป็นไมค์ติดกล้องที่สามารถแยกออกมาอัดได้ นอกจากนี้ยังมีตัวที่ป้องกันลมและเสียงรบกวนได้ระดับหนึ่ง
**แต่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% ต้องมีอุปกรณ์เสริมอย่าง Reflection กันเสียงสะท้อน กันเสียงก้อง
ส่วนโปรแกรมนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้งานสะดวก แต่มีโปรแกรมที่ใช้สำหรับการบันทึกเสียงที่นิยมอยู่ ได้แก่ Audacity
4. การบันทึกเสียงจริง

ในการบันทึกเสียงจริงนั้น แน่นอนว่าคุณต้องมีกระดาษสคริปต์เพื่อใช้สำหรับการอ่าน และมักมีเหตุการณ์ที่เสียงขยับกระดาษจะเข้ามาแทรก ฉะนั้นในข้อนี้จะมาบอกทริคการเอาตัวรอดจากเสียงรบกวนต่าง ๆ
- จัดตำแหน่งของกระดาษสคริปต์ให้คงที่ และอยู่ในระดับสายตาหลังไมค์
- จัดตำแหน่งไมค์ให้อยู่ในระดับ 45 องศาของใบหน้า และตั้งให้ห่างจากช่องลม แหล่งสัญญาณอื่น ๆ
- วางให้ห่างไกลจากลำโพงคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันเสียงรบกวน
- วางไมโครโฟนบนพื้นผิวที่ไม่สั่น เพื่อป้องกันเสียงที่อาจแทรกเข้ามาในตอนบันทึกเสียง
5. Portable Voice-over Booth

เราขอแนะนำสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า กล่องอัดเสียงพกพา โดนกล่องเล็ก ๆ นี้สะดวกสำหรับเหตุการณ์ที่ต้องการอัดเสียงนอกสถานที่ โดยคุณสมบัติพิเศษการป้องกันเสียงจากจากข้างนอก ลดเสียงแทรกขณะอัดเสียง แต่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้นอกสถานที่เสมอไปเนื่องจากการอัดภายในอาคารอาจมีเสียงแทรก ก็สามารถใช้กล่องอัดเสียงตัวนี้ในการช่วยลดเสียงแทกเหล่านั้น
หลังจากที่เรามีไฟล์เสียงก็พร้อมสำหรับการนำมาประกอบร่างกับคลิปแล้ว โดยนามสกุลไฟล์ส่วนใหญ่ MP3 MOV ที่สามารถดึงนำเข้ามาต่อกับโปรแกรมตัดต่อวิดีโออย่าง Adobe Premiere Pro ได้
ขั้นตอนแรกคือปรับปรับปรุงเสียง
บางทีเสียงที่เราบันทึกมานั้นอาจจะไม่ได้มีความชัดเจน อาจมีเพยงรบกวน เสียงลมเพียงเล็กน้ิย หรือที่เราเรียกมันว่า noise ซึ่งเราสามารถกำจัดมันได้ผ่าน ตัวเลืกภายใน Adobe Premiere Pro

ขั้นตอนที่สอง การปรับเสียงให้ตรงกับภาพ
ในขั้นตอนนี้อาจต้องอาศัพเทคนิคการใช้งานโปรแกรมการตัดต่อของแต่ละคน อย่าง Adobe Premiere Pro คุณสามารถตัดช่วงเล่นที่ไม่ต้องการออก และปรับเสียงให้ตรงกับภาพได้อย่างง่ายดาย
