การจะเริ่มต้นสร้างภาพยนต์สักหนึ่งเรื่องนั้นมันมีการทำงานและะการดำเนินการที่เกิดขึ้นหลายๆขั้นตอนเช่นเดียวกันกับการทำงานในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเราในฐานะผู้ชมจะสามารถรับรู้ได้ถึงการดำเนินงานสร้างที่ยิ่งใหญ่ได้จากจำนวนตัวเลขงบประมาณและยอดขายของภาพยนต์เรื่องนั้นๆที่เกิดขึ้น รวมถึงเมื่อได้ชมภาพยนต์เรื่องนั้นๆจบไปแล้ว
รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานทั้งหมดนั้นมักประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นของกระบวนการเริ่มต้นแนวคิดของภาพยนต์ หาทุน ว่าจ้างนักแสดงและตำแหน่งอื่นๆ ไปจนถึงการถ่ายทำและจัดจำหน่ายในภายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการสร้างภาพยนต์จะอยู่ในขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.DEVELOPMENT
ขั้นตอนในการพัฒนา โดยขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการวางแผน และวางแนวคิดหลักของภาพยนต์เป็นส่วนใหญ่ ภาพยนต์บางเรื่องอาจถูกพัฒนามาเป็นรูปแบบของบทหนัง สคริปต์ หรือจากหนังสือ หรืออาจมีภาพยนต์บางประเภทที่เกิดจากเรื่องจริงซึ่งการทำงานในขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของภาพยนต์เรื่องนั้นๆ
เป็นขั้นตอนที่เหมือนกับวางแผนไอเดียให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ผลิตหนัง และนำเสนอ Storyboard ในการถ่ายทำ หากได้รับการอนุมัติหลังจากนั้นผู้กำกับจะเริ่มทำงานร่วมกับผู้เขียนบทเพื่อสร้างโครงร่างของภาพยนต์ทีละขั้นตอน
2.PRE-PRODUCTION
ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือการจำกัดตัวเลือกที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านงบประมาณ นักแสดง ทีมงานการถ่ายทำ หรืออื่นๆ จะเป็นช่วงที่เริ่มมองหาการจ้างงานโดยผู้จัดการฝ่ายผลิต และเป็นขั้นตอนที่เริ่มทำงบประมาณสำหรับภาพยนต์ก่อนการผลิตและรวมถึงการเริ่มหาสถานที่ในการถ่ายทำ

ลักษณะการทำงานในขั้นตอนนี้จะดำเนินงานเตรียมสำหรับการถ่ายทำหากเป็นการถ่ายทำนอกสถานที่อาจต้องมีการสร้างกองถ่ายทำภาพยนต์ขึ้นมารวมถึงการสร้างสำนักงานการผลิตหรือโรงงานการผลิตด้วยเช่นเดียวกัน
ในส่วนของการแสดงเป็นขั้นตอนของการคัดเลือกนักแสดงให้ตรงกับบทบาทที่มี และเริ่มเข้าไปสำรวจสถานที่ถ่ายทำ เป็นการดำเนินงานร่วมกันในหลายๆฝ่ายทั้ง ฝ่ายผลิต ผู้ออกแบบฉาก ผู้กำกับ ผู้กำกับภาพ และเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้กำกับจะเริ่มถ่ายทอดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับภาพยนต์ให้กับฝ่ายอื่นๆ
3.PRODUCTION
เป็นหนึ่งขั้นตอนที่การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน ช่วงเวลาในการถ่ายทำจะเป็นช่วงที่เกิดกับปัญหาเฉพาะหน้ามากที่สุด และต้องมีการวางแผนรวมถึงงบประมาณให้ครอบคลุม เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานหลักๆคือตารางงานและตารางการถ่ายทำโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสร้างหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์(AD)

Production จะทำการดูแลและควบคุมเกี่ยวกับการผลิต การจัดเลี้ยงกองถ่าย การจัดเช่าอุปกรณ์ เตรียมการเดินทางและคอยสนับสนุนกระบวนการผลิตที่จะเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทำ ซึ่งเรื่องของงบประมาณนั้นมักจะเป็นปัญหาในขั้นตอนนี้มากที่สุด
4.POST-PRODUCTION
ทันทีที่เริ่มการถ่ายทำฉากแรกขั้นตอนการทำงาน Post Production จะเริ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาที่กำลังเกิดการถ่ายทำอยู่ Editor สามารถเข้ามาเลือกเทคที่ดีที่สุดในการถ่ายทำได้ระหว่างการถ่ายทำ และเริ่มการเรียบเรียงเนื้อหาคร่าวๆ
และกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการผลิตคือการตัดต่อภาพยนต์ เพิ่มจังหวะและตัดต่อ จับเรียงฟุตเทจเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่ถ่ายมา ประกอบกับการใช้เสียงเพลง เสียงเอฟเฟคและเอฟเฟคพิเศษต่างๆ เช่น โมชั่นกราฟฟิก, Computer generated & Computer graphic (CG) เป็นต้น
ในหนังภาพยนต์บางเรื่องในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้นักแสดงหรือนักพากษ์เสียงเพื่อเข้ามาเพิ่มเสียงเข้าไปในซีนนั้นๆ หรืออาจเป็นบทสนทนาที่บรรยายฟุตเทจที่ถ่ายทำมานั้น
5.DISTRIBUTION
ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตภาพยนต์คือการนำเสนอให้กับผู้ชม เป็นขั้นตอนของการทำงานตลาด การจัดจำหน่ายให้กับโรงภาพยนต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ผลิตและโรงภาพยนต์ที่แล้วแต่เงื่อนไขทางธุรกิจ
ขั้นตอนของการทำการตลาดนั้นอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงระหว่างการถ่ายทำแล้ว แต่ช่วงท้ายสุดจะเป็นการทำงานหลักของฝ่ายการตลาด การนำเสนอตัวอย่างภาพยนต์ การปล่อยภาพโปสเตอร์โปรโมท หรือเครื่องมือทางการตลาดอื่นๆ
จุดประสงค์ของการทำงานในขั้นตอนนี้หลักๆมักจะยึดที่การสร้างความดึงดูดให้กับผู้ชมให้ได้มากที่สุด และทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนคร่าวในการดำเนินงานสร้างภาพยนต์สักหนึ่งเรื่อง หากเจาะเข้าไปดูรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนจะมีการทำงานร่วมกันของหลายๆฝ่ายที่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการทำงานในลักษณะของการสร้างภาพยนต์นั้นต้องให้ความใส่ใจกับการสื่อสารและการทำงานร่วมกับฝ่ายอื่นเป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดผลงานและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดบนจอภาพยนต์