Brutalist Architecture สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย

  • by
สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย
Photo : widewalls.ch

” Brutalist Architecture ” เป็นสถาปัตยกรรมคอนกรีตในแถบตะวันตกที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1950 หรือในช่วงปลาย ๆ ของยุคโมเดิร์นปลายๆ โดยแนวคิดนี้จะใช้คอนกรีตเป็นวัสดุในการสร้างตัวอาคาร งานสไตล์นี้ส่วนใหญ่เน้นที่รูปทรงเรขาคณิต สเกลใหญ่ๆ มีรายละเอียดที่ซ้ำๆ โชว์พื้นผิวธรรมชาติของวัสดุ อย่างอาคารคอนกรีตก็จะโชว์คอนกรีตเปลือย อาคารกระจกก็จะมีแต่กระจกไปเลย ไม่มีการแต่งเติมด้วยสิ่งอื่น รูปหลักจะมีความแข็งกระด้าง ทื่อตรง เหลี่ยม ไม่มีความโค้งมน

การออกแบบในลักษณะนี้จะเน้นการใช้งาน โดยทุกส่วนที่ถูกออกแบบหรือสร้างขึ้นมาจะต้องมีประโยชน์ สามารถใช้สอยได้

แม้อิทธิพลนี้จะได้รับความนิยมในช่วงแรก ก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงในยุค 70 และเริ่มมีการปรับปรุงสถาปัตยกรรมให้เข้ากับยุคสมัย ทำให้มีความอ่อนโยนขึ้นโดยการเพิ่มความโค้งมนมากขึ้น

สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย
Galaxy SOHO กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

 Brutal มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า brut แปลว่า ดิบ หยาบ กระด้าง หมายถึงคอนกรีตดิบๆ ไม่ฉาบผิวหน้า (Raw Concrete) คอนกรีตที่ไม่ได้มีการทาสี ปิดผิวหน้า เพื่อโชว์พื้นผิว และมีลักษณะเด่นอยู่ที่ความหนักแน่น คอนกรีตจะช่วยสร้างความหนักแน่นให้อาคาร โชว์โครงสร้างตัวอาคาร แล้วก็มีการเล่นจังหวะที่ซ้ำๆกันของแพทเทิร์นต่างๆ  Brutalist จะเป็นช่วงหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น เป็นช่วงปลายๆยุคโมเดิร์น

ในประเทศไทย ก็มีการนำ Brutalist Architecture มาใช้ในการตกแต่งทั้งอาคาร และสถานที่ต่าง ๆ

1. อาคาร Siri Apartment (ค.ศ.1970) ออกแบบโดยแดน วงศ์ประศาธน์ ที่โดดเด่นในเรื่องแท่งกระบอกวงกลม 12 แท่ง และแต่ละแท่งจะมีหน้าที่ต่างกัน เป็นปล่องลิฟต์ ปล่องบันได ห้องครัว ห้องน้ำ เป็นต้น

อาคารนี้จะเน้นสร้างรูปทรงแบบเรขาคณิต และคอนกรีตสีทึบ และให้แสงสว่างเข้าผ่านกระจกวงกลมที่ล้อมตัวอาคาร

2. ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย (ค.ศ.1971) ออกแบบโดยไพจิตร พงษ์พรรฤก ที่มีโครงสร้างคอนกรีตแผ่เป็นหลังคามีแพทเทิร์นซ้ำกัน เหมือนกับดอกไม้บานต่อกัน 6 ดอกและมีเสารับน้ำหนักคล้ายกับก้านดอกไม้ โดยคอนกรีตเหล่านั้นไม่มีการแต่งเติมสี สีจึงมีความเข้มหรือโทรมลงตามกาลเวลา

3. ตึกฟักทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่  โครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กม้วนตัวจากก้นอาคารขึ้นมาตามแนวโค้งของแต่ละกลีบ แล้วย้อนกลับมาบรรจบกันที่ปลายขั้วฟักทอง 

4. ตึกภาควิชาชีวะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตึกภาควิชาชีวะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Photo : kooper.co

5. อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Photo : kooper.co

6. อาคารคอนกรีตเปลือยของตึกฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาคารคอนกรีตเปลือยของตึกฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Photo : kooper.co

7. อาคารศรีเฟื่องฟุ้ง ตึกฟิสิกส์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป แต่การนำ Brutalist Architecture มาใช้ในการสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างที่กล่าวมายังคงมีต่อไป และที่เพิ่มมาคือ ร้านอาหาร และโรงแรมที่นำมาประยุกต์ใช้ จนน่าโดดเด่นและตราตรึงใจ ตัวอย่างร้านแนว Brutalist ที่ถูกปรับให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน

1.โรงแรม mo rooms จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งการตกแต่งภายนอกและภายของโรงแรมนี้จะเน้นไปทางการโชว์สีจริง สีเปลือยของคอนกรีต และยังมีร่องรอยของสีที่ไม่สม่ำเสมอ และนำวัสดุธรรมมาชาติมาตกแต่งรอบ ๆ หรือภายในห้อง เป็นตวประกอบ เพื่อไม่ให้ภายในห้องดูดิบจนเกินไป

2.โรงแรม Sunyata Hotel

ผนังอาคารบางส่วนจะมีการเลือกใช้คือคอนกรีตเปลือยผิว และทิ้งร่องรอยของไม้แบบไม่ฉาบทับ เพื่อสร้างแพทเทิร์น ซึ่งจะทำให้ผนังมีมิติมากขึ้น และหลังคาจะมีการเลือกใช้แบบดั้งเดิมถึง 80%

3. River Wine Restaurant  ร้านอาหารปูนเปลือย

ร้านอาหารนี้จะโชว์ความดิบของวัสดุที่นำมาสร้างได้อย่างดี แต่ก็มีการกลบความดิบนั้นด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่ มาจัดเรียงกันเพื่อช่วยเบรกความดิบของปูนเปลือยที่ไร้การปรุงแต่ง

River Wine Restaurant   ร้านอาหารปูนเปลือย

จากการสังเกตทั้งร้านอาหาร โรงแรม อาคารต่าง ๆ สิ่งที่นำมาปรับใช้เพื่อตกแต่งส่วนมากจะโชว์ความเปลือยของวัสดุเป็นหลัก และยังคงความคิด แข็งกร้าวอยู่บางส่วน และยังมีการนำสไตล์อื่น ๆ และวัสดุธรรมมาชาติมาประกอบด้วย เพื่อลดความแข็งกร้าวเหล่านั้น

Tags:

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.