Sales

6 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า

ความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจนั้นเป็นหนึ่งในข้อสำคัญที่สามารถเปลี่ยนผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการให้กลายเป็นลูกค้าของเราได้ ทุกธุรกิจจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ลูกค้าได้ไว้วางใจหากสร้างความน่าเชื่อถือได้ก็จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้า เพราะการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ขอเสนอ 6 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ 1.) มีประวัติความเป็นมาหรือความสำเร็จของบริษัท หนึ่งในข้อสงสัยของลูกค้าที่สนใจเกี่ยวกับบริษัทที่เขาสนใจก็คือประวัติความเป็นมาว่าจัดตั้งมาได้อย่างไร จัดตั้งโดยใคร มีวัตถุประสงค์อย่างไร และมีบริการอะไรบ้างรวมถึงความสำเร็จที่เคยได้รับ หากเรามีข้อมูลในส่วนนี้ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น “Creamy K” ตัวอย่างสินค้าที่เราวิจัยเองทั้งหมดเพื่อให้เหมาะกับตลาดที่อเมริกาและประสบความสำเร็จ โดย creamy k คือตัวเลือกสำหรับคนรักกาแฟแต่ไม่ดื่มนมวัวหรือมี lifestyle ที่เจและไม่บริโภคสินค้าที่มีส่วนผสมจากสัตว์ สินค้าตัวนี้เปิดตัวบน… Read More »6 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า

5 จุด Pain Points ของลูกค้าที่พบบ่อย

Pain point – customer pain point 5 จุดที่พบบ่อยในธุรกิจ

  • by

Pain Point หรือ “จุดเจ็บปวด” เป็นภาษาทางการตลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจของลูกค้า จุดเจ็บปวดที่ว่านั้นมักจะเป็นจุดอ่อนทางธุรกิจหรือปัญหาที่ลูกค้าพบเจออยู่ หนึ่งในวิธีการเริ่มต้นการขายที่ดีนั้นคือการทำให้ลูกค้าตระหนักถึง Pain Point ที่มี ว่าปัญหานั้นคืออะไรและใครจะช่วยแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นได้และจะทำอย่างไร จากประสบการณ์ของลูกค้าเทอเรสเทรียลพบเจอมากที่สุด โดยจะขอจัด 5 ข้อ Pain Point ที่พบบ่อยดังนี้ 1.) ด้านการบริหาร ไม่เข้าใจข้อกำหนดทางกฎหมายหรือด้านเอกสารในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบริษัทเราทำเกี่ยวกับการส่งออกไปอเมริกาแต่พบเจอกับลูกค้าที่ยังไม่มีความรู้มากพอ เช่น ต้องการส่งอาหารไปอเมริกาแต่ไม่ทราบว่าตามกฎหมายต้องมี… Read More »Pain point – customer pain point 5 จุดที่พบบ่อยในธุรกิจ

Customer Relationship Mapping : การทำแผนที่ลูกค้าสัมพันธ์คืออะไร?

Customer Relationship Mapping คือแผนที่ความสัมพันธ์เป็นกระบวนการระบุการมีส่วนร่วมและขยายเครือข่ายผู้ติดต่อของลูกค้าเป้าหมายด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับลูกค้ารวมถึงตำแหน่งหน้าที่ในหน่วยงานว่าควรจะติดต่อใครถึงจะตรงจุดได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น คุณกำลังคุยกับคนที่มีตำแหน่งเป็น “ฝ่ายจัดซื้อ” สำหรับบริษัทหนึ่งและอาจคิดว่าบุคคลนี้มีอำนาจทั้งหมดในการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ หลังจากที่พูดคุยรายละเอียดกันในช่วงเวลาหนึ่งจะพบว่าจริงๆแล้วมีเจ้านายของฝ่ายจัดซื้อที่เรากำลังพูดคุยอยู่นั้นเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อและเราไม่เคยพูดกับเขาเลย จากนั้นก็จะเข้าใจว่าอาจมีคนอื่นๆ ในบริษัทที่มีอิทธิพลต่อการซื้อครั้งนี้ซึ่งเราอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ ในช่วงต้นของการขายให้ฝ่ายขายจดบันทึกข้อมูลของบุคคลที่ติดต่ออยู่เสมอ เพื่อจดบันทึกความคืบหน้าของงานและความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างผู้ติดต่อกับผู้มีอิทธิพลอื่นๆในบริษัท ความสัมพันธ์แบบลำดับชั้นระหว่างบุคคลเหล่านี้ควรถูกค้นพบและจดบันทึกไว้หากการติดต่อไม่คืบหน้ากับคนติดต่อที่ 1 อาจจะมีช่องทางให้เราติดต่อลำดับที่ 2 3 ไล่ไปจนถึงผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจที่แท้จริงเพื่อปิดการขาย ซึ่งสามารถหาข้อมูลขององค์กรเหล่านี้ได้จาก linkedin , Website ขององค์กรที่มีเนื้อหาแนะนำบุคลากรและตำแหน่ง เป็นต้น จะเป็นการดีที่การทำแผนที่ความสัมพันธ์ควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนำมาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว หากเป็นเช่นนั้นหมายความว่าพนักงานฝ่ายขายสามารถทราบตำแหน่งของคนที่ต้องการติดต่อได้ก่อนที่จะโทรหาหรือนัดพบประชุมกัน… Read More »Customer Relationship Mapping : การทำแผนที่ลูกค้าสัมพันธ์คืออะไร?

Outbound Sales เลือกให้เหมาะกับธุรกิจคุณ

“Outbound Sales” หรือการขายขาออก คือการที่ผู้ขายซึ่งโดยทั่วไปเป็นตัวแทนฝ่ายขายเริ่มต้นการมีส่วนร่วมกับผู้ซื้อที่มีศักยภาพหรือลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งตรงข้ามกับ “Inbound Sales” หรือการขายขาเข้าซึ่งลูกค้าจะเริ่มการสนทนาก่อน ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Inbound Sales และ Outbound Sales คือ Inbound Sales จะเป็นรูปแบบการขายที่ลูกค้าเดินเข้ามาติดต่อจากความสนใจในตัวสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีความต้องการซื้ออยู่แล้ว พวกเขาอาจจะได้รับข้อมูลทางด้านการตลาดจากแหล่งต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์ ป้ายโฆษณา นิตยสาร เป็นต้น ก่อนที่จะเข้ามาพบคุณเพื่อทำการซื้อขาย… Read More »Outbound Sales เลือกให้เหมาะกับธุรกิจคุณ

Sales Quota สำคัญอย่างไร

Sales Quota หรือโควตาการขาย หมายถึงเป้าหมายของการขายที่มอบหมายให้กับหน่วยขายหรือพนักงานขายเป็นรายบุคคลให้บรรลุผลภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือตามช่วงเวลาที่กำหนด โควตาการขายสามารถกำหนดเป็นตัวเลข จำนวนสินค้าหรือบริการที่ขายได้ก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่จะใช้ชี้วัด การกำหนดโควตาการขายเป็นการตั้งมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพ ใช้ได้ทั้งเป็นแรงจูงใจในการทำงานและเป็นเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงาน โควตาการขาย (Sales Quota) มีความสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรที่เน้นการขายสินค้า เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานขายที่ต้องหาวิธีที่ทำให้บรรลุผลตามเป้าหมายให้ได้ โควตาไม่ใช่เครื่องชี้นำทางสถิติแต่เป็นเครื่องชี้นำที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับพฤติกรรมหน่วยงานขาย โดยโควต้าจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากประสบการณ์ ผลตอบสนอง ภาวะเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงด้านเทคโนโลยีด้วย ประเภทโควตา โดยทั่วไปแล้วแต่ละบริษัทหรือองค์กรจะมีความแตกต่างกันประเภทโควต้าจึงมีความหลากหลาย ดังนั้นจึงตั้งรูปแบบการชี้วัดที่สามารถตั้งขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรตนเอง แต่ประเภทโควตาที่พบโดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้… Read More »Sales Quota สำคัญอย่างไร

SALES : ทำความรู้จัก GROSS และ NET

. โดยทั่วไปแล้ว Gross และ Net เป็นคำกลางทั่วไปที่ใช้ขยายความเกี่ยวกับยอดขาย กำไร การเติบโต น้ำหนักสินค้า การผลิต เพื่อวัดดูประสิทธิภาพหรือตรวจสอบว่าสิ่งนั้นว่ามีมากแค่ไหน โดยส่วนใหญ่มักจะเจอกับเรื่องการขายหรือกำไรมากกว่า . Gross  เป็นคำที่ใช้สำหรับค่ารวมที่ได้จากผลของการคำนวณบางอย่าง เช่นรายได้ กำไร หรือยอดขายทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นส่วนลด โดยค่า Gross เป็นตัวเสนอภาพรวมที่ยังไม่มีการหักลบอะไร เช่น ค่าภาษี เป็นต้น Net… Read More »SALES : ทำความรู้จัก GROSS และ NET

KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

KPI สำคัญกับทุกองค์กรเพราะย่อมต้องมีการประเมินผลวัดผล ซึ่งได้กลายมาเป็นกระบวนการสำคัญหนึ่งที่แต่ละองค์กรนำมาใช้วัดความสำเร็จ และหนึ่งในกระบวนการที่มีมาตรฐานและเป็นที่นิยมในยุคนี้ก็คือการใช้ KPI หรือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ มาเป็นเครื่องมือในการประเมินวัดผล KPI เป็นตัวย่อมาจากคำว่า Key Performance Indicator ซึ่งก็แปลได้ว่า “ดัชนีชี้วัดควาสำเร็จ” เป็นตัววัดคุณค่าที่ประเมินผลออกมาเป็นตัวเลข จำนวน ปริมาณได้ชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าบริษัทหรือพนักงานมีศักยภาพหรือความก้าวหน้ามากแค่ไหน หรือประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ KPI วัดได้หลายมุมมอง ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงบวก เป็นเกณฑ์การประเมิลผลในแง่ดีที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ เช่น ยอดขาย, กำไร,จำนวนลูกค้าใหม่ต่อปี เป็นต้น ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงลบ เป็นเกณฑ์การประเมินผลโดยใช้ข้อบกพร่องหรือปัญหามาเป็นตัวชี้วัด เช่น เปอร์เซนต์ของการผลิตที่ไม่ตรงตามสเป็ค,จำนวนลูกค้าใหม่ลดลง… Read More »KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

ความสำคัญของรายงานการขาย (Sales Report)

ความสำคัญของรายงานการขาย (Sales Report)

รายงานการขาย (Sales report) เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุด โดยรายงานการขายจะแบ่งออกเป็นแผนงานสำหรับกิจกรรมที่ต้องทำในอนาคตและรายงานกิจกรรมที่ทำสำเร็จแล้ว สำหรับแผนงานของกิจกรรมที่ต้องทำในอนาคตจะอยู่ในรูปของแผนการทำงาน (Work plan) ซึ่งพนักงานขายจะส่งให้ผู้บริหารพิจารณาล่วงหน้าก่อนการทำงานจริงโดยอาจส่งล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แผนการทำงานนี้จะบอกถึงแผนในการเยี่ยมเยียนลูกค้าและเส้นทางในการเดินทาง โดยพนักงานขายจะวางแผนและจัดตารางการทำกิจกรรมของตน ดังนั้นพนักงานขายจะถูกประเมินผลโดยดูจากความสามารถในการวางแผนการทำงานและทำงานตามแผนที่วางไว้  ซึ่งผู้บริหารสามารถให้คำแนะนำในการปรับปรุงแผนการทำงานได้ การทำรายงานการขาย (Sales report) สำคัญอย่างไร 1. ความสำคัญสำหรับองค์กร ข้อมูลที่พนักงานขายที่บันทึกถือเป็น “ขุมทรัพย์ชั้นเลิศ” เช่นรายละเอียดของลูกค้าหรือรายละเอียดการพูดคุยแต่ละครั้ง ถ้านักขายไม่มีการบันทึกผลก็หมายความว่าบริษัทไม่มีทางเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวเลยและหากลองนึกคิดไปว่าถ้านักขายคนนั้นไม่ได้อยู่กับองค์กรเราแล้ว ทุกอย่างก็หายไปตามนักขายคนนั้นๆด้วย ซึ่งหากป้องกันเหตุการ์ณเช่นนี้ควรจะมีการจดบันทึกผลไว้อยู่เสมอ 2. ความสำคัญสำหรับผู้จัดการฝ่ายขาย หากเป็นผู้จัดการฝ่ายขายแต่ไม่ทราบว่านักขายในทีมของคุณหาลูกค้ากี่ราย… Read More »ความสำคัญของรายงานการขาย (Sales Report)