ศิลปะแนว INDIAN สีสันโดดเด่นสื่อถึงศาสนาและความลึกลับ

  • by
ศิลปะแนว INDIAN สีสันโดดเด่นสื่อถึงศาสนาและความลึกลับ

ศิลปะอินเดียมีขึ้นก่อนประวัติศาสตร์ใน 3 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราชและได้รับขนานนามว่าเป็นดินแดนที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ศิลปะแบบดั้งเดิมและงานฝีมือแบบดั้งเดิม ซึ่งแต่ละรัฐจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันและมีความเป็นของตัวเอง หรือเรียกได้ว่าศิลปะพื้นบ้าน

.

ศิลปะพื้นบ้านและเก่าแก่

ภาพวาดพื้นบ้านในชนบทของอินเดียมีการออกแบบที่มีสีสันโดดเด่น ซึ่งลวดลายที่ถูกสร้างสรรค์มามักจะเกี่ยวกับศาสนาและมีความลึกลับ ตัวอย่างภาพวาดพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ ภาพวาด Madhubani (มธุบานี) ของแคว้นมคธ ภาพวาด Patachitra จากรัฐ Odisha ภาพวาด Nirmal ของรัฐอานธรประเทศ

ภาพวาด Madhubani (มธุบานี) ของแคว้นมคธ

ภาพวาดมธุบานีมาจากภูมิภาคมิถิลาของชมพูทวีปมักจะถูกวาดบนผนังโคลนและพื้นกระท่อมที่ฉาบปูนสดใหม่ หรือผ้า โดยใช้เครื่องหลายประเภท ทั้งมือ กิ่งไม้ พู่กัน ปลายปากกาและไม้ขีด อีกทั้งใช้สีย้อมและสีธรรมชาติ

สีที่ใช้มาจากดินเหลืองน้ำตาล ถ่าน และสีแดง ความนิยม : น้ำตาล แดงและดำตามลำดับ

.

เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมสำหรับโอกาสเฉพาะเช่นการเกิดหรือการแต่งงานและเทศกาลต่างๆ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และพืชทางศาสนา จุดเด่น คือภาพวาดมักไม่เหลือที่ว่างไว้ ส่วนไหนที่มีที่ว่างก็จะแต่งเติมด้วยดอกไม้ นก สัตว์เข้าไป

ภาพวาด Patachitra (ภัททาจิตรา) จากรัฐ Odisha

ภาพวาดภัททาจิตรา เป็นภาพวาดบนม้วนผ้าหรือม้วนกระดาษ ซึ่งจะพบแถวรัฐโอดิชาทางตะวันออกของอินเดีย และเบงกอลตะวันตก โดยรูปแบบของภาพศิลปะนี้จะเกี่ยวข้องกับตำนานและนิทานพื้นบ้าน

โดยสีที่ใช้วาดจะเป็นสีธรรมชาติ สีของผักสีของแร่ โดยสีจะถูกจำกัดไว้ที่ สีแดง สีเหลือง สีคราม สีดำ สีขาว และภาพวาดจะถูกทำด้วยวิธีดั้งเดิมโดยจิตกรโอดิชา

สีบนผืนผ้ามักจะมีสีสันสดใสลวดลายมากมาย และรูปแบบการสื่อออกมาจะมีความเรียบง่าย ง่ายต่อการเข้าใจ และองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระเจ้า พื้นบ้าน โดยจะไม่มีรายละเอียดมาก ท่วงท่าซ้ำเดิม ไม่มีทิวทัศน์ระยะไกล

ภาพวาด Nirmal ของรัฐอานธรประเทศ

ภาพวาด Nirmal เป็นภาพวาดที่ได้รับความนิยมในรัฐเตลังคานา โดยเริ่มขึ้นในปีในปี 1950 ที่เริ่มด้วยช่างมากฝีมือนามว่า Naqash ได้รวมตัวกันเพื่อพัฒนาภาพวาดออกมา โดยสีของภาพวาดเหล่านี้สกัดจากแร่ธาตุสมุนไพรและพืชอื่น ๆ

รูปแบบของภาพวาดเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจาก Ajanta (ภาพวาดในถ้ำ) และศิลปะอื่น ๆ ของ Mughul(โมกุล) อีกทั้งภาพวาดเหล่านี้จะถูกจัดวางโดยมีฉากหลังเป็นสีดำ

หากเรามองหาลวดลายของศิลปะอินเดีย มองหาความงดงามของมัน และทำให้เรารู้ทันทีว่าศิลปะแนวอินเดียเป็นแบบไหน เราต้องมองไปที่ลวดลายของเสื้อผ้า สิ่งทอของพวกเขา

เสื้อผ้า

ในอดีตผู้คนจะสวมใส่เพียงผ้าขาวม้าเพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้น เนื้อผ้าที่ใช้คือผ้าส่าหรี และจะเรียกเครื่องแต่งกายว่า Kimkhwāb โดยปกติผ้าอินเดียที่ทอด้วยไหมและด้ายสีทองหรือสีเงิน เราจึงจะสังเกตได้ว่าไม่ว่าจะผืนผ้าไหน มักจะมีสีทองที่เป็นลวดลาย และยังมีความหมายแฝงว่า “a little dream ” อีกทั้งการเลือกใช้สีผ้ามักจะมีที่สันที่โดดเด่น เนื่องด้วยพื้นที่หลายรัฐของประเทศอินเดียเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ มีความแห้งแล้งสูง ผู้หญิงจึงเปรียบเสมือนความงดงาม และดอกไม้ที่สวยงาม ที่มีอยู่ท่ามกลางทะเลทราย

Kimkhwāb ยังสามารถแปลได้อีกความหมายคือ “woven flower” ซึ่งมาคือลวดลายที่เรามักเห็นบนเสื้อผ้าต่าง ๆ ของอินเดีย และลายดอกไม้เหล่านั้นมักถูกทอด้วยสีทองหรือเงิน

(ลายละเอียดของผ้าทอลายดอกไม้ในศตวรรษที่ 19)

รูปแบบที่นิยมใช้สำหรับผ้าคือดอกไม้ที่คดเคี้ยวไปมา ดอกกุหลาบ ลูกของต้นสน (pinecones) และ arabesques และพืชบางอย่างเช่น poppy

อีกหนึ่งรูปแบบที่มีความสำคัญของอินเดียคือลายเพสลีย์ (Paisley) เป็นแพทเทิร์นที่ใช้บนสิ่งทอที่มีลวดลายรูปหยดน้ำที่มีปลายบนโค้ง โดยลายนี้เป็นที่นิยมมากว่าในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19

ตัวอย่างอาคารสิ่งปลูกสร้าง

วัดชอร์ของมามัลลาปุรามสร้างขึ้นโดย Pallavas เป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมฮินดูในยุคแรกโดยมีรูปสลักหินนูนและรูปปั้นของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู หากมองไปที่ลักษณะการแกะสลักจะเห็นถึงความใส่ใจในรายละเอียด อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกขององค์การยูเนสโกอีกด้วย

ศิลปะในอินเดียมีหลายยุคสมัยและแตกต่างกันไป แต่ที่ยกมาคือศิลปะที่มีความโดดเด่น และรูปแบบการสร้างสรรค์มันออกมา เพื่อโชว์ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญและสามารถมองอย่างเข้าใจว่านี่คือศิลปะแนวอินเดีย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.