ศิลปะในศรีลังกาเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังถ้ำที่พบใน สิกิริยา (Sigiriya) ปราสาทหินโบราณ หรือพระราชวังลอยฟ้า ในประเทศศรีลังกา เป็นสถานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เป็นวังที่ยิ่งใหญ่อลังการถูกสร้างอยู่บนหินที่สูงเฉียดฟ้า มีบันไดเดินขึ้นสู่ยอดเขา 2200 ขั้น ฐานบันไดเป็นสถาปัตยกรรมลักษณะเป็นอุ้งตีนสิงโตที่เป็นที่รู้จักกันในนาม Lion rock แท่นศิลาราชสีห์ ด้านบนสุดเป็นป้อมปราการเก่า ซากปรักหักพังของพระราชวังในอดีต

ปีพ.ศ. 1853 อดัมส์และเบเลย์ พร้อมด้วยชาวพื้นเมือง 2 คน ได้ไปสำรวจพื้นที่แห่งนี้และได้พบกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเจอชุดภาพสิงโตเป็นชุดแรกและพบภาพชนิดเดียวกันภายหลังในปี พ.ศ.1875 ทางด้านตะวันตกหลังจากนั้นกรมศิลป์ฯแห่งชาติ ได้เข้าไปอนุรักษ์ไว้



ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการวาดภาพหรือจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งมีจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลากหลายคนและมีสไตล์การสร้างสรรค์ผลงานออกมาในลักษณะที่โดดเด่นต่างกัน จึงทำให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีงานศิลปะที่หลากหลายตามไปด้วยเป็นประเทศที่มีความรู้ด้านศิลปะที่ดี ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างจิตรกรเหล่านั้นพร้อมทั้งตัวอย่างงานศิลปะที่พวกเขาได้สร้างสรรค์มันออกมาเพื่อให้สามารถมองและเรียนรู้วัฒนธรรมศรีลังกาได้ผ่านจากงานเหล่านี้
Senaka Senanayake – เป็นชื่อแรกๆที่ต้องนึกถึงเมื่อพูดถึงงานศิลปะจากจิตรกรในศรีลังกา เขาเป็นจิตรกรร่วมสมัย ผลงานส่วนใหญ่ที่เป็นที่รู้จักคือการวาดภาพพรรณนาธรรมชาติที่มีสีสันสวยงาม และงานศิลปะของเขาถูกนำไปแสดงในงานนิทรรศการทั่วโลก ยกตัวอย่างผลงานของเขามีชื่อว่า Bathers เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงผู้หญิงที่อยู่ท่ามกลางพิธีกรรมการอาบน้ำ และภาพ Butterflies , Women in a lush landscape ตามตัวอย่างด้านล่าง

David Paynter – ลูกครึ่งอินเดียอังกฤษ เขาและครอบครัวย้ายไปอยู่ในศรีลังกาปี ค.ศ.1904 เพื่อเปิดเผยศาสนาคริสต์ เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการวาดภาพบุคคลโดยมีลูกค้าเป็นชนชั้นสูงของอาณาจักร Ceylon อาณาจักรที่มีอิทธิพลในสมัยนั้น นอกจากนั้นเขาได้ทำงานในโบสถ์ Trinity College จึงทำให้เขาวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพพระคริสต์ผิวสีเข้ม นอกจากนั้นผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ The Crucifixion
George Keyt – จิตรกรสมัยใหม่ที่โดดเด่นที่สุดในประเทศ เขามีรูปแบบการวาดภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูป Cubism แบบเดียวกับจิตรกรฝรั่งเศส Henri Matisse ผสมผสานลายเส้นรูปแบบประติมากรรมโบราณสร้างเป็นความเอกลักษณ์
Jagath Weerasinghe – หนึ่งในศิลปินร่วมสมัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศรีลังกา เป็นที่รู้จักจากอิทธิลในการเคลื่อนไหวยุค 90 เป็นบุคคลสำคัญ ผลงานของเขาส่วนใหญ่แสดงเกี่ยวกับชีวิตของเขาในช่วงสงครามกลางเมืองของประเทศ ผลงานที่เป็นที่รู้จักชื่อว่า Judiciary และ Ruthless Waves
Chandraguptha Thenuwara – งานศิลปะของเขาได้รับการจัดแสดงในงานระดับนานาชาติในศรีลังกาจนถึงออสเตรเลียและยุโรป ผลงานของเข้าค่อนข้างมีเอกลักษณ์ ชิ้นที่มีชื่อเสียงเลยคือ Camouflage และ Protest
Priyantha Udagedara – ภาพวาดของเขาออกมาในแนว Tropical ในช่วงแรกและเปลี่ยนเป็นสไตล์ภาพตัดปะรูปของสัตว์ ส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ ผสมผสานกับการสาดสีน้ำ แสดงให้เห็นถึงความสวยงามและสื่อถึงความเจ็บปวดผ่านลวดลาย รายละเอียดออกมาได้
นอกไปจากศิลปะพวกภาพวาด ศรีลังกายังมีงานฝีมืออื่นๆที่เป็นที่รู้จัก งานหัตถกรรมที่ได้รับความนิยมได้แก่ ชุดเครื่องประดับทองและเงินพร้อมอัญมณี หน้ากากไม้ลายลูกไม้ และงานเคลือบเซรามิก
หน้ากาก ได้รับอิทธิพลจากตำนวนพื้นบ้านของศรีลังกาใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ พิธีที่เป็นที่รู้จักกันชื่อ พิธีเต้นรำของปีศาจ และพิธีอื่นๆที่เป็นการแสดงละครรำบอกเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อน หน้ากากที่มีชื่อเสียงคือ Maha Kola Sanni หน้ากากสิบแปดชิ้นที่แกะสลักที่แสดงถึงความทรมาน


ลายลูกไม้ Beeralu – การทำลูกไม้ถูกพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา การทำลายลูกไม้เหล่านี้มักพบเห็นในผ้าม่าน ผ้าคลุมโต๊ะ เสื้อผ้า ปลอกหมอน เบาะรองนั่งและเก้าอี้


Jewellery การทำอัญมณี – เครื่องประดับเป็นเหมือนของคู่กันกับศรีลังกามาตั้งแต่อดีต สมัยโบราณมีการทำกำไล สร้อยคอ และแหวนที่ประดับด้วยเงินทอง อัญมณี เป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ เครื่องประดับในศรีลังกาทั้งแบบดั้งเดิมหรือสมัยใหม่ ได้มาตรฐานสากลเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของทั่วโลก

งานเคลือบ (Laksha) – งานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของที่ใส่ของเพ้นลวดลาย เครื่องเคลือบแบบดั้งเดิมใชขี้ผึ้งที่ได้จากแมลงชนิดหนึ่งนำเข้าจากอินเดีย

เครื่องปั้นดินเผา – ส่วนใหญ่ทำจากดินเหนียว มีลักษณะผิวเรียบ ดูรูปลักษณ์เรียบง่าย

ไม้แกะสลัก – เกิดขึ้นในศรีลังกามานานหลายศตวรรษ ถูกสลักเป็นเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เคลือบกล่องและของเล่น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน

ผ้าบาติก – ได้รับอิทธิพลมาจากการสร้างสรรค์ผ้าของอินโดนีเซีย การออกแบบที่น่าสนใจและการผสมผสานเฉดสี ความงดงามของพรรณไม้ ขั้นตอนการผลิตผ้าบาติกของแต่ละขั้นตอนทำด้วยมือและทำจากผ้าฝ้ายแท้หรือผ้าไหม ส่วนใหญ่จะใช้เป็นผ้าปูที่นอน ภาพวาดแขวนผนัง และของตกแต่ง นอกจากนี้ผ้าบาติกยังได้เข้าอุตสาหกรรมแฟชั่นอีกด้วย
