การขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนั้นในประเทศมีทั้ง JD Lazada Shopee และอื่น ๆ โดยแต่แต่เว็บไซต์หรือแอปนั้นจะเก็บค่าคอมมิชชั่นที่ต่างกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหากคิดขายของบน Shopee Lazada และ JD และหากเราต้องการขายสินค้าได้หรือต้องการให้มีจำนวนคนดูสินค้าหรือหน้าร้านจำนวนมากบางทีก็ต้องหันมาพึ่งการโฆษณาในเว็บไซต์เหล่านั้น ซึ่งแต่แบบอันจะมีรายละเอียดและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยในบทความนี้ได้รวบรวมได้รวบค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไว้ให้ทุกคน เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ลักษณะของโฆษณาที่ปรากฏ
หากสินค้าตัวไหนมีการเพิ่มโฆษณา จะมีไอคอนหรือสัญลักษณ์คำว่าโฆษณาขึ้นที่มุมใดมุนหนึ่ง และสินค้าเหล่านั้นจะขึ้นในอันดับต้น ๆ เพื่อให้ลูกค้าเห็นและมีโอกาสในการกดเข้าไปดูรายละเอียดและนำไปสู่การซื้อได้

Shopee
ร้านค้าสามารถซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าของตนให้ลูกค้าเห็นมากขึ้นได้ โดยสินค้าที่ใช้โฆษณาจะปรากฏอยู่อันดัยต้น ๆ ของการค้นหา
โดยโฆษณาของ Shopee นั้นจะมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นดังนี้ สามารถหาข้อมูลได้ที่ myads.shopee.co.th
โฆษณาของ Shopee จะมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ Product Search Ads , Discovery Ads , Shop Search Ads

ยกตัวอย่าง Product Search Ads ค่าใช้จ่ายที่เสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Keyword ที่เลือกประมูล และจะถูกเรียกเก็บเงินก็ต่อเมื่อผู้ซื้อคลิกโฆษณานั้น อ่านเพิ่มเติมที่ การเริ่มต้นทำโฆษณา Product Search Ads
ยกตัวอย่าง Discovery Ads จะขึ้น 2 ตำแหน่งคือ
- สินค้าแนะนำประจำวัน บนหน้า Homepage
2. หน้าสินค้าที่คล้ายกัน และคุณอาจจะชอบสิ่งนี้ บนหน้ารายละเอียดสินค้า
โดยค่าใช้จ่ายค่าโฆษณาจะถูกคิดเมื่อมีผู้ซื้อคลิกโฆษณา ค่าโฆษณาจะถูกหักจากเครดิตโฆษณาของร้านค้า และการมองเห็นสินค้านั้นจะถูกกำหนดด้วย ราคาต่อคลิก (Cost-per-click) คือ ราคาสูงสุดที่ร้านค้ายินดีที่จะจ่ายเมื่อผู้ซื้อคลิกที่สินค้าเมื่อค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนั้น
ยกตัวอย่าง Shop Ads ค่าใช้จ่ายที่เสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Cost-per-click bid price คือ ราคาเสนอต่อหนึ่งคลิกหมายถึงราคาสูงสุดที่คุณยินดีจ่ายเมื่อนักช้อปคลิกที่โฆษณา
ตัวอย่างการสร้างโฆษณาและราคาเบื้องต้น

สำหรับ Product Search Ads นั้นคุณสามารถโฆษณาสินค้าได้ด้วยการเลือกคีย์เวิร์ดันีที่ตรงกับสินค้านั้น และเลือกราคาที่ยอมจ่ายในแต่คลิก โดยยิ่งราคาสูงกว่าคู่แข่ง เปอร์เซ็นการโชว์อันดับแรกก็จะมีมาก

การทำโฆษณาคุณสามารถที่จะเลือกงบประมาณที่จะใช้ต่อวันหรือ หรือทั้งหมดได้ โดยการเติมเครดิตโฆษณาร้านค้าจะเป็น 100 บาท 200 บาท หรือมากกว่านั้น จากนั้นให้ทำการเลือกสินค้าภายในร้าน ผู้ขายจำเป็นต้องเลือกสินค้าก่อนจะเลือกคีย์เวิร์ด การเพิ่มคีย์เวิร์ด สามารถให้ระบบกำหนดอัติโนมัติ หรือ สามารถเลือกเองได้

ระบบจะปรากฏหน้าตาของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าออกมา พร้อมกับจำนวนการค้นหา ราคาอ้างอิง คุณสามารถประมูลตามราคาอ้างอิงได้มากกว่านั้นก็ได้ แต่อย่าลืมว่าหากยิ่งราคาประมูลสูงกว่าคู่แข่ง คุณก็จะได้ขึ้นอันดับแรก ๆ ของการค้นหา
ตัวอย่าง เลือก กระเป๋าสะพายข้าง ที่มีการค้นหา 1,485,735 ครั้งใน 30 วันที่ผ่านมา และประมูลราคา 1.9 บาท (ซึ่งมากกว่าราคาอ้างอิง 0.2 บาท) และว่าเงินงบประมาณ 500 บาท ฉะนั้นคุณจะได้จำนวนคลิกเข้าสินค้าคุณจำนวน 263 ครั้ง (จะเสียเงินเมือมีคนคลิกเข้าดูสินค้า)
Lazada
โฆษณาของ LAZADA จะมีทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่

- Sponsor Discovery Ads : การโปรโมทภาพ Lazada โดยตรง ปกติแล้วจะช่วยในการเพิ่มยอดการเข้าชม เพื่อให้ส่งผลดีต่อสินค้าในอนาคต ซึ่งการโฆษณาแบบนี้จะอยู่ในรูปแบบ แคมเปญ
คุณสามารถกำหนดงบประมาณรายวันได้ตั้งแต่ 30 บาท ถึง 1 ล้านบาท แต่โดยปกติจะมีการแนะนำให้เลือกระหว่าง 100 – 200 บาท และในส่วนต่อไปคือการตั้งราคาประมาณต่อคลิก (สามารถเลือกเองหรือให้ลาซาด้าคำนวณให้เอง)
ทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นตอนทั้งการเลือกงบประมาณ การเลือกสินค้าที่ต้องทำโฆษณา และต่อไปคือการประมูลคีย์เวิร์ด และจะถูกคิดเงินก็ต่อเมื่อมีลูกค้าคลิกเข้าดูสินค้าตัวนั้น
การประมูลคีย์เวิร์ด ก็จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กับทาง Shopee คือการปรากฏคีย์เวิร์ด ราคาอ้างอิง และเราสามารถเลือกราคาประมูลได้
เนื่องจากตอนนี้ระบบ Lazada ยังอยู่ในขั้นตอนปรับปรุงสาามารถติดตามข่าวสารการทำโฆษณาได้ที่ >sellercenter.lazada.co.th
- Affiliate Partner : การโปรโมทผ่าน Partner (แบรนด์ที่มีชื่อเสียง) เช่นเว็บ Shopback โดยรูปแบบที่ปรากฏนั้น Partner จะดึงสินค้าภายในร้านไปโชว์ที่หน้าร้านของเขา หรือปรากฏแบนเนอร์ของร้านเรา เพื่อเพิ่มการมองเห็น และจะถูกคิดเงินก็ต่อเมื่อมีลูกค้าคลิกเข้าไป
โดยรูปแบบโฆษณาจะอยู่ในรูปของแบนเนอร์ และมีการสร้าค่าคอมมิชชั่น ซึ่งจะถูกเรียกเก็บขั้นต่ำ 4% หากมีการซื้อขายเกิดขึ้น
การแสดงผล

การโปรโมทผ่าน Lazada จะมี 2 รูปแบบคือ โปรโมทผ่านการค้นหาสินค้า (สินค้าจะถูกโชว์ขึ้นแทรกในอันดับต้น ๆ )หรือสินค้าปอนเซอร์ (จะขึ้นในสินค้าแนะนำ)
JD Central
ในส่วนของการโฆษณาสินค้านั้น JD Central จะอยู่ในรูปแบบแคมเปญและการ Flash Sale ซึ่งผู้ขายสามารถเข้าร่วมแต่ละแคมเปญที่ทาง JD จัดขึ้นมาในช่วงเวลาต่าง ๆ
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ที่ >university.jd.co.th
แคมเปญ จะเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทาง JD สร้างขึ้นมาเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น 11.11 7.7 เป็นต้น โดยผู้ขายสามารถสมัครเข้าร่วมเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าและเพิ่มยอดขาย แต่ไม่สามารถเข้าร่วมแคมเปญ เนื่องจากแต่ละแคมเปญจะกำหนดคุณสมบัติของผู้ขายเอาไว้

Flash Sale ก็เป็นหนึ่งในแคมเปญที่จะมีการจัดทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย ซึ่งหากเข้าร่วมทาง JD จะเป็นผู้เลือกช่วงโฆษณาให้
