ราคาขายปลีก – ส่งของสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายและอาหารคิดกำไรต่างกันอย่างไร?

“ ราคาขายปลีก - ส่ง สินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย และอาหาร คิดกำไรต่างกันอย่างไร? ”

หากเรามองย้อน Supply Chain ของระบบธุรกิจหรือระบบอุตสาหกรรมทั่วๆไป การกำหนดราคาขายสินค้าจำเป็นต้องบวกเพิ่มส่วนต่างราคาทุนของสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นที่โรงงานผลิตมาต่อที่ผู้กระจายสินค้าและมาจนถึงร้านค้าปลีกเป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งการบวกกำไรในแต่ละอุตสาหกรรมหรือประเภทสินค้า ซึ่งการกำหนดราคาของสินค้าถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งทางการตลาดที่สามารถเป็นส่วนกำหนดของความสำเร็จบริษัทหรือธุรกิจได้เลยเช่นเดียวกัน ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงการบวกกำไรของสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายเปรียบเทียบกับประเภทอาหารเพื่อจะสามารถดูความแตกต่างของทั้งสองได้

โดยปกติทั่วไปแล้วการกำหนดกำไรจะต้องพิจารณาเรื่องของต้นทุนสินค้าทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เรื่องของต้นทุนสินค้า ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค เงินเดือนหนักงาน ค่าขนส่ง การตลาด การโฆษณา และภาษี ฯลฯ

สินค้าประเภทเสื้อผ้า นั่นส่วนหนึ่งจะคำนวนส่วนต่างของกำไรในราคาขายปลีกตั้งแต่ 4-13 เปอร์เซ็นต์ มันขึ้นอยู่กับประเภทของเสื้อและกลุ่มเป้าหมายของสินค้านั้นๆ แต่จะมีสินค้าเครื่องแต่งกายอีกประเภทหนึ่ง ที่ติดเทรนด์หรือกระแส มักจะคิดอัตรากำไรที่สูงเป็นพิเศษมากถึง 55%-62% ได้เช่นเดียวกันในร้านค้าปลีกเช่น อาจรับจากโรงงานมาในราคาตัวละ 50 ดอลลาร์และถูกอัพราคาไปถึง 110 – 130 ดอลลาร์ได้ ซึ่งสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายนั่นเป็นสินค้าที่ค่อนข้างอ้างอิงกับแฟชั่นกระแสนิยมของโลก ราคาอาจถูกปรับขึ้นลงตามความต้องการของลูกค้าได้มากซึ่งมีสินค้าบางชิ้นที่อาจขายได้ถึง 300% จากราคาทุนได้เช่นเดียวกันที่คุณอาจจะเคยพบเห็นตามตลาดแฟชั่นทั่วๆไป

สูตรการหา Markup เพื่อตั้งราคาขายประเภทเครื่องแต่งกายนั้นมักจะใช้สูตร Markup on Selling Price : ราคาขาย = [(ต้นทุนสินค้า) ÷ (100-จำนวนเปอร์เซนต์ Markup)] x 100

แต่ในทางกลับกัน สินค้าประเภทอาหาร จะถูกคิดอัตรากำไรจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในช่วงราคาที่พวกเขายินดีจะจ่ายและมักจะเกิดการเปรียบเทียบกับสินค้าคู่แข่ง สินค้าในร้านค้าซุปเปอร์มาเก็ตมักจะถูกจัดวางไว้ในช่วงราคาและประเภทสินค้าที่เหมือนๆกัน ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปแล้วจะมีสินค้าจากบางโรงงานที่ไม่สามารถควบคุมต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นๆได้และทำให้อัตราต้นทุนสูงกว่าสินค้าคู่แข่ง จำเป็นต้องกำหนดราคาที่ครอบคลุมกับต้นทุนที่สูงเช่นเดียวกัน สินค้ากลุ่มนี้มักจะหา Value เพิ่มเติมเพื่อให้สามารถขายในราคานั้นๆได้

หากมองย้อนตาม Supply Chain อัตราการ Markup ของสินค้าประเภทอาหารนั้นมักจะมีการคิดตามรายละเอียดด้านล่างนี้ ซึ่งราคาจะถูกบวกเพิ่มแล้วทบมาตามลำดับขั้น

  • Broker                                5-15 percent
  • Distributor                        25-30 percent    
  • Wholesaler                       10-20 percent
  • Retailer                             30-50 percent

ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากสินค้าแฟชั่น และเครื่องแต่งกายคือการคิดกำไรเป็นทอดๆที่ค่อนข้างเสถียรไม่มีปัจจัยอื่นๆมาส่งผลกระทบให้ราคาเปลี่ยนไป สินค้าประเภทอาหารนั่นมักจะไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือหากมีการปรับเปลี่ยนตัวสินค้าอย่างมากก็เป็นเพียงการทำผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆมาเท่านั้น ซึ่งราคาก็จะอิงกับราคาของคู่แข่งและความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง

เสื้อผ้านั้นไม่มีวันหมดอายุจึงไม่จำเป็นต้องเร่งขายเท่ากับผลิตภัณฑ์อาหารที่จะมีค่าเสียโอกาสหากสินค้าขายไม่ได้และเกิดต้นทุนจม ดังนั้นคุณอาจเห็นเรทราคาพิเศษจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่ตกรุ่นแล้วมากกว่าการคิดอัตรากำไรก็จะเปลี่ยนเป็นอีกหนึ่งเรทหรืออาจจะเพียงแค่ขายราคาทุนเพื่อไม่ให้ขายทุน ซึ่งสถานการณ์นี้มักจะพบเห็นในร้านค้าปลีกมากกว่าร้านค้าส่ง

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.