8 อันตรายที่ควรระวังในคลังสินค้า และการป้องกันมันไม่ให้เกิดขึ้น

  • by
การทำงานในคลังสินค้า นอกจากการที่เราต้องระมัดระวัง
ไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือ อันตรายต่อสินค้าแล้วนั้น
สิ่งที่สำคัญที่ไม่น้อยไปกว่ากันเลย ก็คือความปลอดภัยของพนักงาน
ภายในคลังสินค้า ที่อาจเสี่ยงอันตรายจากกิจกรรมภายในคลังได้ง่ายๆ
หากไม่มีการป้องกัน หรือระมัดระวัง
  • “รถยก FOLKLIFT”
    Untitled-1.png
    เจ้ารถเคลื่อนย้ายสินค้าที่ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการขนย้ายสินค้านี้ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือพนักงานได้ เนื่องจากความประมาทของผู้ขับ หรือพนักงานที่เดินไปมาอื่นๆ รวมถึงเกิดจากการใช้งานให้ง่ายและเร็วที่สุด จนหลงลืมกฎในการใช้รถโฟล์คลิฟต์
    วิธีป้องกัน
    – มีการฝึกทบทวนและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ทำงานมีความสามารถและได้รับการฝึกอบรมที่ผ่านการรับรองแล้ว
    – สอดส่องพนักงานที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดอันตรายในขณะใช้อุปกรณ์
    – ไม่บังคับการเสร็จงานตามเป้าหมายจนหลงลืมความปลอดภัยในการทำงาน
    – ผู้ขับควรทบทวนกฎการใช้รถโฟล์คลิฟต์เสมอ  และควรระวังในอุบัติเหตุอยู่ตลอดเวลา
    – พนักงานท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้ขับก็ควรระวังตนจากการเดินไปมา ซึ่งอาจไปขัดขวางเส้นทางรถโฟล์คลิฟต์ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้


  • “จุดโหลด LOADING DOCK”1.png
    หนึ่งในเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่คนงานอาจประสบเมื่อทำงานในคลังสินค้า ในขั้นตอนการ Loading คือหากไม่ระมัดระวัง หรือประมาท อาจจะมีอุบัติเหตุการตก หรือร่วงลงจากพื้นที่โหลดได้ ฝันร้ายที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือเกิดการถูกตรึงหรือบดระหว่างรถยกและแท่นบรรทุกสินค้า ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อรถยกออกจาก Loading Dock และไปชนกับคนระหว่างกลาง
    วิธีป้องกัน
    – ผู้ขับรถยกต้องใส่ใจ และขับช้าๆบนแท่นวางให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรขัดขวางบนจุดโหลด  และปลอดภัยในการรองรับแรง
    – ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่ามีสัญญาณเตือนและกลไกต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนเข้ามาใกล้จุดโหลด Dock


  • “สายพานลำเลียง (Conveyor)”
    af.png
    สายพานลำเลียง มักใช้ในคลังสินค้าเพื่อขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตามสายพานลำเลียงก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อคนงาน ได้ง่ายมากหากขาดความรอบคอบ ตามที่พบเห็นตามข่าวต่างๆ เช่น การที่ร่างกายติดในอุปกรณ์สายพานลำเลียง และการโดนวัตถุล้มใส่จากการตกหล่นจากสายพาน
    วิธีป้องกัน
    – ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมระหว่างสายพานลำเลียงกับคนงาน เพื่อป้องกันสิ่งกีดขวางเสื้อผ้าส่วนต่างๆของร่างกายและเส้นผม
    – ไม่ทำกิจกรรม หรือสิ่งใดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ปีน เดิน นั่ง ยืนบนสายพาน หรือวางสินค้าที่หนักเกินกำลังโหลดบนสายพาน
    – ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมสายพาน เช่น ตรวจสอบ ปุ่มกดหยุดสายพานฉุกเฉิน เป็นต้น


  • “การจัดเก็บสินค้า-วัสดุ”
    ปัญหาที่พบเจอจากการจัดเก็บสินค้าวัสดุ คือ
    Image result for mess warehouse stock

    – การวางของเกะกะ ที่อาจทำให้เกิดการสะดุดล้ม โดยเฉพาะของชิ้นเล็ก ส่วนของชิ้นใหญ่ แม้จะเห็นของวางขวางชัดเจน จนอาจจะไม่สะดุด แต่ก็เกิดปัญหาที่เราจะต้องเบี่ยงเลี่ยงทางเดินได้ ซึ่งอาจมีโอกาสเดินเซ หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ไม่สะดวก จนอาจส่งผลอันตรายสำหรับคนงานในบริเวณใกล้เคียง
    Image result for Materials Storage height hazardจัดเรียงสินค้าสูงเกินไปหรือไม่ได้ระดับพอดี เนื่องจากของในคลังมีเยอะ ไม่เหลือพื้นที่ให้เก็บ แต่จำเป็นต้องเก็บ ทำให้ต้องเรียงสินค้าในแนวดิ่งให้มากที่สุด แต่อันตรายเกิดขึ้นได้ทันทีหากจัดเรียงไม่เสมอกัน หรือวางไว้สูงเกินกว่าของชั้นล่างสุดจะรับน้ำหนักได้ อาจทำให้สินค้าล้ม และตกกระจาย ส่งผลอันตรายกับคนงานในบริเวณใกล้เคียงเช่นกันวิธีป้องกัน
    – ดูแล และเก็บกวาดทางเดินที่ชัดเจน และอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ให้มีสิ่งขัดขวาง หรือสิ่งที่คนงานสะดุดหรือล้ม
    – ควรวางโหลดสินค้าให้กระจายน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องเหมาะสม


  • “การขนย้าย หรือ ยกสินค้าด้วยคน”
    Image result for Manual Lifting/ Handlingสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการบาดเจ็บทางร่างกายในคลังสินค้าและสถานที่จัดเก็บ คือการยกสินค้าที่หนักเกินกำลัง แทนที่จะใช้อุปกรณ์ช่วย และการยกสินค้าผิดท่า ทำให้เกิดอันตรายกับร่างกาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    วิธีป้องกัน
    – กำหนดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายให้ชัดเจน จากการเขียนป้ายระบุที่กล่องหรือช่องเก็บสินค้า
    – หากเป็นสินค้าที่ยกโดยคนได้ ต้องใช้ท่ายกที่เหมาะสม และต้องมั่นใจว่าน้ำหนักไม่มากเกินแรงรับไหว หากหนักเกินไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือให้ดีที่สุด คือใช้อุปกรณ์ช่วยทุนแรง


  • “อันตรายจากสารเคมีImage result for Hazardous Chemicalsในการจัดการกับสารเคมีอันตรายในคลังสินค้าควรมีการแจ้งข้อมูลสื่อสารกันให้ทราบถึงความเป็นอันตรายของสารเคมี และควรครอบคลุมถึงการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพในการระบุถึงอันตรายทางเคมี การจัดการที่เหมาะสม การจัดเก็บ และการกำจัดสารเคมีที่เหมาะสม เพื่อให้ทีมงานมีความรู้และทราบถึงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุจากสารเคมีนั่นเอง

  •  “สถานีชาร์จ”
    Image result for Charging Stations dangerสถานีชาร์จในอาคารคลังสินค้า ใช้การเติมเชื้อเพลิง หรือเติมพลังงานให้อุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังทั้งหมดเพื่อให้สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจใช้พลังงานจากน้ำมันเบนซินก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หรือแบตเตอรี่ และนั่นก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสมไฟไหม้และการระเบิดอาจเกิดขึ้นได้วิธีป้องกัน
    – สถานีชาร์จ ควรอยู่ห่างจากเปลวไฟ และต้องเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่
    – ควรมีเครื่องดับเพลิงและมีสภาพการทำงานที่ดีในกรณีเกิดเพลิงไหม้
    – ต้องติดตั้งระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เพื่อแยกก๊าซที่เป็นอันตราย
    – ควรมีพื้นที่ทำความสะอาดตา และฝักบัวอาบน้ำ อยู่ในบริเวณที่มีกรดและสารเคมี เพื่อให้พนักงานสามารถล้างสารเคมีหรือกรดได้ทันที


     

  • “พื้นลื่น”

    ส่วนมากจะเกิดจากฝุ่น หากเป็นหน้าฝน ก็อาจมีความชื้นที่ทำให้เกิดการลื่นล้มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลังสินค้าที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา หยิบให้เร็ว เก็บให้ไว ทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ง่าย


    วิธีป้องกัน
    ทำความสะอาดเช้า กลางวัน เย็น เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดในช่วงหน้าฝน หรือมีลมพายุ


    จากอันตรายสำหรับผู้คนที่อาจเกิดขึ้นได้ในคลังสินค้า ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
    สังเกตได้ว่าวิธีป้องกันในทุกอุบัติเหตุ หลักๆ คือต้องเริ่มจากการฝึกวินัยพนักงานก่อน
    ซึ่งมี หลักการป้องกันอุบัติเหตุที่เรียกว่า 5 ส  ซึ่งเป็นหลักสากลทั่วโลก คือ

    Image result for 5 สImage result for 5 ส.

    1. สะสาง – การคัดแยกสิ่งของที่จำเป็นต้องมีและกำหนด ไว้ให้ชัดเจน  และจำหน่ายสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป
    2. สะดวก – การจัดระบบงาน สถานที่และสิ่งของให้อยู่ในที่ซึ่งเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้สะดวกในการทำงานและทำให้เกิดความปลอดภัย
    3. สะอาด – การจัดการ ดูแลรักษาสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรและอุปกรณ์ให้มีความสะอาดและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
    4. สุขลักษณะ  –  สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทำ 3 ส. แรกอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรฐานที่ดี โดยคำนึงถึงการจัดสถานที่ทำงานให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี และปลอดภัย
    5. สร้างจิตสำนึก และนิสัย – การปฎิบัติตามระเบียบและมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปลูกฝังนิสัย ให้มีระเบียบวินัย และคำนึงถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและผลร้ายที่กระทบต่อเนื่อง

8 อันตรายหลักๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ก็ป้องกันได้ง่ายๆ เช่นกัน
ขอแค่ทีมงานในคลังสินค้า ร่วมมือกันทำตามหลัก “5 ส.” เพียงเท่านี้
ก็ลดความเสี่ยงจากอันตรายภายในคลังสินค้า หรือที่ทำงานในทุกๆ ที่
ไม่ต้องให้เกิดเหตุน่าเศร้า น่ากลัว หรือน่าอันตรายได้แล้ว
การกระทำดีๆ เพียงเล็กน้อย ส่งผลดีที่ยิ่งใหญ่แบบนี้
อย่าลืมนำไปใช้กันด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของทีมงานที่เรารักและห่วงใย 🙂
ข้อมูลอ้างอิง
เกี่ยวกับ 8 Warehouse Safety Hazards and What To Do
เกี่ยวกับ 5 อันตรายในคลังสินค้าที่มักถูกมองข้าม
เกี่ยวกับ นโยบาย 5 ส.

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.