เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ใครๆ ก็ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

  • by
เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ใครๆ ก็ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

จากบทความ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงาน และวิธีป้องกันโดยเฉพาะในคลังสินค้า ที่เราได้เรียนรู้ไปแล้วนั้น รู้หรือไม่ ว่านอกจากการปรับพฤติกรรมให้รอบคอบ และมีความระมัดระวังมากขึ้นแล้วนั้น ยังมี อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เพียงแค่สวมใส่ปกคลุมส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ป้องกันอันตราย และลดความเสียหาย หรือการกระทบกระเทือนต่อร่างกายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฎิบัติงานได้ เรียกว่า “ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล” หรือ “Personal Protection Equipments (PPE)”

Picture credit : http://bit.ly/2Oe9epi

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  • อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันศีรษะจากการถูกกระแทก หรือวัตถุจากที่สูงตกลงมากระแทก และป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว
    Image result for Head Protection                                          Picture Credit : https://amzn.to/2ETj8xz
  • อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) ใช้ป้องกันดวงตาจากการกระแทกกับของแข็ง สารเคมีหรือวัตถุกระเด็นเข้าตาจนได้รับอันตรายในขณะปฎิบัติงาน จะมีแผงใสโค้งครอบป้องกันใบหน้าจากการกระเด็น กระแทกของของแข็ง หรือสารเคมีและวัสดุที่มีความร้อน จึงเหมาะสำหรับที่จะใช้งานเจียร สกัด และงานท่ีเก่ียวข้องกับสารเคมีImage result for Safety Glasses
    Picture Credit http://bit.ly/2AA6m2P
  • อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) ในการทำงานบางครั้ง บางสถานที่ อาจจะมีการใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องมือ หรือขั้นตอนการทำงานที่มีเสียงดังเกินกว่าที่หูคนเราสามารถรับได้ (คือสูงกว่า 85 เดซิเบล (เอ) หากระดับเสียงในขณะทำงานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล (เอ) ถือว่าเป็นตรายต่อการได้ยินของหู)  ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ประเภทนี้เพื่อช่วยป้องกันเสียงนั่นเอง

Related image
ปลั๊กลดเสียง (Ear Plug)

วัสดุทำจากยาง พลาสติกอ่อน ที่มีขนาดพอดีกับรูหู ลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล (เอ)

Image result for Ear Muffsครอบหูลดเสียง (Ear Muffs)

เป็นแบบครอบหู โดยมีก้านโค้งครอบศรีษะและใช้วัสดุที่มีความนุ่มหุ้มทับ ลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)

  • อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน นั้นมีความเสี่ยงอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตายร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมือชนิดต่างๆ ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้

Image result for ถุงมือยางกันไฟฟ้าถุงมือยางกันไฟฟ้า:
ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด

Image result for ถุงมือกันความร้อนถุงมือกันความร้อน:
อาจเป็นถุงมือหนังหรือถุงมือผ้า จะต้องมีความหนาและทนทานเมื่อใช้สัมผัสกับวัตถุหรืออุปกรณ์ที่มีความร้อนจะต้องไม่ฉีกขาด

Image result for ถุงมือยาง ชนิดไวนิลถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน
ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้

Image result for ถุงมือถุงมือประเภทอื่นๆ
ป้องกันความสกปรกทั่วไป หรือป้องกันการโดนบาด

  • อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฎิบัติงาน โดยรองเท้าแบ่งออกตามลักษณะของงาน ดังนี้

Image result for รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า:
ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า สวมใส่เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์

Image result for รองเท้านิรภัยรองเท้านิรภัย
ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตถุหนักที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ 50 ปอนด์

Image result for รองเท้าป้องกันสารเคมีรองเท้าป้องกันสารเคมี
ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ ไวนิล นีโอพรีน หรือยางสังเคราะห์

  • อุปกรณ์ป้องกันลำตัว และขา (Body and Leg Protection) ใช้สำหรับป้องกันลำตัวในการสัมผัสกับสาระเคมี หรือความร้อนจากการทำงาน เช่น ผ้าเอี๊ยม ใช้สำหรับกันเปื้อนจากการปฏิบัติงาน ฝุ่น สิ่งสกปรก และป้องกันร่างกายสัมผัสกับสารเคมี

    Image result for เอี๊ยมผ้า PPE

    Picture Credit : http://bit.ly/2EO2MGs , http://bit.ly/2Rqvizj

  • เสื้อสะท้อนแสง (Reflective Clothing) เป็นเสื้อเพื่อความปลอดภัยในการจราจร และเพิ่มสวัสดิภาพให้แก่ผู้สวมใส่ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานตามถนน หรืออาคารสถานที่ต่างๆ เช่น ซ่อมบำรุง ก่อสร้างทาง กรมทางหลวง ตำรวจ รปภ. ตามลานจอดรถ ฯลฯ โดยเสื้อสะท้อนแสงสามารถสะท้อนให้เห็นเด่นชัด ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน
  • หน้ากากนิรภัย (Respiratory protection devices) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับป้องกันอันตรายที่อาจกระทบระบบทางเดินหายใจของผู้ทำงานในภาวะการทำงานที่มีมลพิษ ฝุ่นละออง ฟูมโลหะ ไอระเหยของแก๊ส สารเคมี แพร่กระจายอยู่ หรือเป็นสถานที่ที่อับอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นควัน สารเคมี เข้าสู่ร่างกาย หรือสามารถจ่ายอากาศบริสุทธ์ิให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาการทำงาน                                       
  • เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt)  เป็นอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะงานที่ทำงานบนที่สูง ทำงานต่างระดับ ที่มีความเสี่ยงในการตกจากที่สูง
    Image result for Safety Belt                                            Picture Credit : http://bit.ly/2Jt6TGA

    เข็มขัดรัดป้องกันหลัง (Back Support Belt) ใช้สำหรับป้องกันกระดูกสันหลัง หรือช่วงหลัง บั้นเอวเคลื่อน จนเกิดความบาดเจ็บ นิยมใช้ในการทำงานที่มีการยกของหนัก

                                             นอกเหนือจากอุปกรณ์สวมใส่ส่วนบุคคลที่จะใช้ป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุไม่คาดคิดแล้ว​ การมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ติดตั้งภายในพื้นที่ทำงานเอง ก็สามารถช่วยลดความเสียหายจากอันตรายที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน  

    Fire extinguishers
    ถังดับเพลิง
    โดยควรเลือกใช้ให้ถูกประเภท เนื่องจากสาเหตุของอัคคีภัยมีหลากหลาย ดังรูปด้านข้าง
    ถังดับเพลิงก็มีประสิทธิภาพใช้ดับไฟที่ต่างกันด้วย  และถังดับเพลิงก็มีหลายแบบ อาทิ ชนิดผงเคมีแห้ง ที่เห็นกันทั่วไป, ชนิดน้ำยาโฟม ชนิดก๊าซ CO2 หรือ ชนิดน้ำ ที่มีหลักการใช้ในกรณีที่แตกต่างกันไป
    ทางออกฉุกเฉิน และป้ายบอกทาง
    เพื่อให้มีการอพยพเคลื่อนย้ายของคนได้รวดเร็ว และปลอดภัย จึงควรมีป้ายบอกทางไปทางออกฉุกเฉิน และต้องมีขนาดความกว้าง ความสูง และจำนวนของทางออกฉุกเฉิน รวมไปถึงระยะห่างของทางออกฉุกเฉินแต่ละจุดตามที่กฏหมายระบุไว้ ในแต่ละกรณีของพื้นที่การใช้งานในอาคาร

    Image result for assemply areaจุดรวมพล และป้ายบอกทาง
    ต้องเป็นสถานที่ปลอดภัยจากอันตรายที่เกิดจากเพลิงไหม้หรือภัยประเภทอื่น ๆ เช่น การถล่มของอาคาร หรือเศษกระจกหรือวัสดุที่อาจตกหล่นจากอาคาร เป็นต้น หรือห่างจากอาคารไม่น้อยกว่าความสูงของอาคาร และไม่น้อยกว่า 20 เมตร
    จุดรวมพลต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในอาคาร หรือโถงภายในอาคาร รวมทั้งถนน หรือผิวถนนโดยรอบ และต้องมีขนาดพื้นที่เพียงพอกับจำนวนคนทั้งหมด

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
http://bit.ly/2PsEBkQ
http://bit.ly/2Q6Gpgs
http://bit.ly/2zgiDHy

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.