ทำไมไม้สักถึงไม่นิยมส่งออกและหากต้องการส่งออกไปต่างประเทศยากจังนะ? เรามีคำตอบ .. .
ไม้สักจากประเทศไทย จัดได้ว่า เป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี ในหมู่ประเทศตะวันตก และเป็นที่ยอมรับกันว่า ไม้สักจากประเทศไทย มีคุณภาพ สีสัน และลวดลายงดงามมาก ทั้งยังมีลักษณะพิเศษคือ มีความต้านทานต่อปลวกและเชื้อเห็ดราหลายชนิด บ้านเรือนที่ปลูกด้วยไม้สัก จึงอยู่ในสภาพดี และคงทนเป็นเวลานานมาก
เพราะไม้สักเป็นไม้ควบคุม เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพื่อประโยชน์ของรัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จำเป็นที่จะต้องไปขออนุญาตจากกรมป่าไม้เพื่อทำการส่งออกเพื่อความถูกต้อง
การควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ (Supply Chain Control)
การควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้เป็นกระบวนการเพื่อยืนยันว่าไม้นั้นผลิตและสามารถติดตามตรวจสอบไม้ไปยังแหล่งกำเนิดที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ไม้ที่ผิดกฎหมายเข้ามาปะปนกับไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกลไกการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือแหล่งที่มาของไม้ การควบคุม การนำเคลื่อนที่ไม้ในด้านอุตสาหกรรมไม้เพื่อการส่งออกและการส่งออก
◇ แหล่งที่มาของไม้
ต้องมีเอกสารแสดงถึงการรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของการปลูกต้นไม้บนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ รวมไปถึงการขออนุญาตในการทำไม้อย่างถูกต้อง และการนำเคลื่อนที่ไม้จากแหล่งที่มาของไม้ก่อนเข้าสู่กระบวนการด้านอุตสาหกรรมไม้เพื่อการส่งออกต่อไป
⊹ ไม้จากที่ดินของรัฐ
การรับรองความถูกต้องของไม้ที่ได้จากที่ดินของรัฐตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิหรือได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวต้องมีหนังสือแสดงสิทธิ์หรือใบอนุญาตแสดงการใช้สิทธิในที่ดิน ดังนี้
-
กรณีที่ดินของรัฐ (ป่าสงวนแห่งชาติ)
– หนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์หรือใช้ที่ดิน เช่น ป.ส.31, ส.ท.ก., ป.ส.23, ส.ท.ก.1ก, ส.ท.ก.2ก, ส.ท.ก.1ข
-
กรณีที่ดินของรัฐที่นอกเหนือจากป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์
– ส.ป.ก. หรือหนังสืออนุญาตให้เช่าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง (กรณีที่ดินของรัฐที่นอกเหนือจากป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์)
⊹ ไม้จากที่ดินเอกชน
การขออนุญาตทำไม้ ในกรณีทำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามจะพิจารณาจากหลักฐานที่ดินเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการทำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามในที่ดินของรัฐ กล่าวคือหากที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง การตัดฟันหรือโค่นไม้ สามารถกระทำได้โดยเสรีไม่ต้องขออนุญาตหรือมีหนังสือรับรองใดๆ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการดังนี้
-
ผู้ประกอบการบนที่ดินเอกชนต้องมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ (น.ส. 3, น.ส. 3ก, น.ส.3ข, น.ส.2) ซึ่งออกโดยกรมที่ดิน หรือ สัญญาเช่าซึ่งออกโดยผู้ให้เช่า โดยเอกสารดังกล่าวเป็น
การรับรองถึงสิทธิในการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเอกสารรับรองจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี หรือเอกสารที่มาของไม้ กรณีไม้ชนิดเดียวกับไม้หวงห้าม
-
ในกรณีผู้ประกอบการรับซื้อไม้จากเจ้าของที่ดินเอกชน ผู้ประกอบการต้องดำเนินการรับรองไม้โดยวิธีการรับรองตนเอง (Due Diligence System) โดยใช้สำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน เพื่อเป็นการรับรองไม้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แทนใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
◇ การนำเคลื่อนที่ไม้
-
ผู้ยื่นคำขอใบเบิกทางจะต้องยื่นคำขอตามแบบท้ายกฎกระทรวงพร้อมเอกสารประกอบต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ด่านป่าไม้) ประกอบบัญชีรายการไม้หรือของป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 38 และ 39
-
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารประกอบคำขอให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วจึงออกใบเบิกทางให้แก่ผู้ยื่นคำขอ เพื่อประกอบการนำเคลื่อนที่ไม้
◇ การส่งออก
ในส่วนนี้แสดงถึงขั้นตอนการควบคุมการส่งออกสินค้าประเภทต่างๆ (ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และสิ่งประดิษฐ์ไม้ ให้ถูกต้อง ตามกฎหมายและมีเอกสารรับรองการส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศปลายทางอย่างถูกต้อง
การส่งออกสินค้าไม้
-
ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกไม้แปรรูปจะต้องยื่นเอกสารดังนี้ต่อเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เพื่อขอหนังสือรับรองสินค้าไม้เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
-
หลักฐานที่ใช้ยื่นกรณีส่งออกไม้ท่อนหรือไม้แปรรูป ใบเบิกทางนำไม้ท่อนหรือไม้แปรรูปเคลื่อนที่ หรือ หนังสือกำกับไม้แปรรูป
-
-
เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ตรวจสอบเอกสารทั้งหมดและตรวจสภาพของสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าไม้ท่อน/ไม้แปรรูปที่ต้องการส่งออกนั้นได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
-
หากเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง จะดำเนินการออกหนังสือรับรองไม้และไม้แปรรูป เพื่อการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการ
-
ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกไม้ท่อน/ไม้แปรรูป จะต้องนำใบกำกับสินค้า (Invoice) พร้อมหนังสือรับรองเพื่อการส่งออกจากกรมป่าไม้ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศเพื่อขออนุญาตในการส่งออกและยื่นขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า[11]
-
เมื่อตรวจสอบแล้วถูกต้อง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศหรือบุคคลที่อธิบดีมอบหมายดำเนินการออกใบอนุญาตส่งออกไม้ท่อนหรือไม้แปรรูป และใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ
-
ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกไม้ท่อน/ไม้แปรรูปยื่นใบอนุญาตส่งออกต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเพื่อทำพิธีการทางศุลกากร
-
ผู้ประกอบการส่งออกชำระภาษีส่งออกไม้ท่อน/ไม้แปรรูปตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติศุลกากรและพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
-
เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรออกใบเสร็จรับเงินค่าภาษีให้แก่ผู้ประกอบการ
-
ผู้ประกอบการส่งออกยื่นเอกสารหลักฐานคือ บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และ บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เพื่อขอใบขนสินค้าขาออก หรือ ใบกำกับการขนย้ายสินค้า ก่อนการส่งออก
หมายเหตุ กรณีไม้ท่อนและไม้แปรรูปที่ได้จากการนำเข้าไม่สามารถส่งออกได้ในปัจจุบัน ยกเว้นการส่งออกไม้ท่อนและไม้แปรรูปดังกล่าวในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ฯ
การส่งออกไม้ท่อน ไม้แปรรูปหรือสิ่งประดิษฐ์ฯที่ได้จากการทำสวนป่า
-
กรณีที่การส่งออกไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าจะต้องมีใบสำคัญรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนจากกรมป่าไม้ตามความต้องการของประเทศปลายทาง[12] โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเป็นเอกสารแสดงการรับรองสำหรับสวนป่าที่ได้รับการตรวจประเมินแล้วว่า
มีการจัดการตามมาตรฐานที่กรมป่าไม้ประกาศกำหนด และสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
หากท่านใดสนใจอยากจะส่งออกไม้สักต้องศึกษาให้ดีและรอบคอบ เพราะการส่งออกไม้สักจากประเทศไทยมีรายละเอียดมากกว่านี้ และการส่งออกไม้สักไม่ได้ยากอย่างที่ึคิด สามารถทำได้หากมีเอกสารที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการส่งออกแบบผิดกฎหมายในอนาคต