ใยกล้วย (ฺBanana fiber) VS ใยสับปะรด (Pineapple fiber)

  • by

เทรนด์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มีความโดดเด่นมากขึ้น และมีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมากขึ้น โดยใช้เส้นใยจากธรรมชาติ จนถูกแปรรูปออกจนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า และส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน

ใยกล้วย (Banana Fibers)

ใยกล้วยคือเส้นใยที่แยกออกจากกาบกล้วย ด้วยวิธีการแยกแบบหัตถกรรม
(โดยการลอกผิวของกาบแข็งด้านนอก จากนั้นแยกเส้นใยจากเยื่อกล้วยด้วยมือ)

“เส้นใยกล้วย” มีสมบัติพิเศษคือ เป็น เส้นที่มีความมันเงาสวยงาม แข็งแรง เหนียว ทนทาน สามารถนำไปปั่นผสมกับเส้นใยอื่นๆ
เช่นใยฝ้าย ที่มีความคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องการระบายอากาศและอ่อนนุ่ม

เส้นใยกล้วยในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมการแยกเส้นใยด้วยมือ เพื่อใช้เป็นสิ่งทอมีมาไม่นานนัก มีทั้งการแยกเส้นใยจากกล้วยน้ำว้า กล้วยป่า และกล้วยหอม

ตัวอย่างสินค้าที่ได้จากใยกล้วย

  • กระดาษใยกล้วย

คือ ต้นกล้วย + วิธีทำกระดาษสา = กระดาษใยกล้วย

คนที่วิจัยในเรื่องการรรูปมาเป็นกระดาษใยกล้วยยังได้คิดอีกว่า ใยกล้วยสามารถทำได้มากกว่าสมุด เขาคิดไปถึง ฝ้าเพดาน ผนังเบา วัสดุกันกระแทก หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะมาทดแทนการใช้พลาสติกได้

  • ฟองน้ำจากใยกล้วย

ฟองน้ำใยกล้วยเป็นสินค้าที่จดสิทธิบัตรไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ตรายี่ห้อว่า Centella (เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของใบบัวบก) 

  • เสื้อผ้าใยกล้วย

เนื้อผ้าที่ผลิตจากใยกล้วย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เส้นยืนเป็นไหม ค่อนข้างแข็งกระด้าง แต่มีความมันสวยงาม ส่วนผืนผ้าจากใยกล้วยผสม จะมีความอ่อนนุ่ม แต่มีความมันน้อยกว่า(ภาพ 6)

  • กระเป๋า
  • ตะกร้าใส่ของ เสื้อผ้า หรือ ถังขยะ
  • เสื่อจากใยกล้วย

เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ

เบาะนั่งจากใยกล้วย ด้านในอาจใช้ใยฝ้าย หรือ โครงเหล็กขึ้นทรงข้างใน และด้านนอกสานจากใยกล้วย

_____________________________________________________________________

เส้นใยสับปะรด (Pineapple fibers)

ใบสับปะรดที่นำมาใช้ในการผลิตเส้นใยเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ควรมีอายุ 1-1.5 ปี
ถ้าอ่อนไปเส้นใยที่ได้ก็จะไม่แข็งแรง และสั้น
ส่วนใบที่แก่เกินไปก็จะหยาบและแข็ง การเก็บเกี่ยวจะตัดจากต้นที่ตัดผลไปแล้ว
และจะต้องทำการขูดให้เสร็จหลังจากการตัด 24 ชั่วโมง

การขูดเพื่อนำใยออกมาจากใบสับปะรดมี 3 วิธี

1. การแยกเส้นใยด้วยมือ(Scraping) 

2. การแยกโดยวิธีการแช่ฟอก(Water retting) 

3. การแยกโดยเครื่องจักรกล (Decorticating machine) 

โดยจะแบ่งเกรดของเส้นใยออกเป็น 3 แบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน คือ แบบละเอียดมาก ละเอียด หยาบ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบละเอียด ในการประดิษฐ์ของต่าง ๆ โดยลักษณะของเส้นใยจะมีขนาดเล็กและนุ่ม มีความมันและเงางามคล้ายไหม มีความเหนียวและทนต่อการหักพับมาก

ตัวอย่างสินค้าที่ได้จากใยสับปะรด

  • เสื้อผ้าใยสับปะรด

คุณสมบัติของใยสับปะรดสามารถทอเป็นผ้าบางเนื้อละเอียดที่มีความนุ่มนวล แต่มีความคงรูปในเนื้อผ้า จับโค้งได้และรูปทรงดี

นอกจากนี้การย้อมสีหรือเติมสารตกแต่งผ้าทำได้ง่ายและหลากหลาย รวมทั้งมีการรักษาง่ายอีกด้วย ใช้ประโยชน์ในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เส้นด้าย ทอเป็นผ้าพันคอ ชุดแต่งงาน ชุดราตรี

  • กระเป๋าใยสับปะรด

ใยสับปะรดสามารถทอเป็นผืนใหญ่ และนำมาเย็บต่อกับเป็นกระเป๋าได้ อีกทั้งยังสามารถย้อมสีด้าย เพื่อให้ได้กระเป๋าสีอื่น ๆ

  • ผ้าคลุมไหล่ใยสับปะรด
  • รองเท้าจากใยสับปะรด
  • กระดาษใยสับปะรด

ใยสับปะรด + วิธีทำกระดาษสา= กระดาษใยสับปะรด

  • ที่พันหูฟัง

ยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย มีรูปแบบการใช้งานที่ตอบโจทย์ Lifestyle ของคนยุคดิจิตอล

จากการสืบค้นข้อมูลจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเส้นใยสับปะรดจะถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว ไม่ว่าจะเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เนื่องด้วยเส้นใยที่ออกมาเป็นเส้นบาง เหนียว และเงา การนำมาถักขึ้นรูปง่ายและเหมาะสม

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.