ในยุคก่อนอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 300 ขึ้นไป จนถึงสมัยอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ 1893-2310 ซึ่งศิลปะในช่วงดังกล่าวจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติและได้พัฒนาผสมกับความเชื่อท้องถิ่งจนกลายเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ในรูปแบบของตัวเอง กล่าวคือ พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย แสดงให้เห็นอิทธิพลที่มีต่อศิลปะไทยในยุคหลังทั้งด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม และช่างไทยก็สร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า มีการประดิษฐ์ลวยลายไทยออกมา

“ลักษณะศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะ และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่การดำรงชีวิตไว้ในงานเหล่านั้น “
ศิลปกรรมที่เรามักพบเห็นกันปล่อยคงไม่พ้น ศิลปกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา และโน้มน้าวจิตใจคนให้เลื่อมใส โดยจะมาในรูปแบบการเล่าเรื่องที่ประกอบไปด้วองค์ประกอบ 6 ส่วน
เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา , เขียนตัวพระ-นาง , เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา , เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ , เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย(ใช้สีทองเป็นส่วนมาก)

แต่ในบทความนี้จะมาเจาะถึงหัวข้อ ลายไทย ซึ่งเป็นลวยลายที่มีเอกลักษณ์และมองได้ทันทีว่าคือรูปแบบศิลปะไทย
ลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจ และดัดแปลงให้เป็นลวยลายใหม่ เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ โดยลายไทยที่สำคัญจะประกอบไปด้วย

1.ลาย “กระหนก” หมายถึงลวดลาย หรือ “กนก” ที่หมายถึงทอง กนกปิดทอง
ซึ่งลายกระหนก หรือ กนก ที่ว่านั้นในภาษาสันสกฤตจะแปลว่า หนาม สำหรับช่างเขียน กนก คือ ดงป่าดงไม้ มีแบบฟอร์มคือเปลวไฟเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยลายกนกจะมีหลากหลายแบบ ลายกระหนกที่สำคัญ ได้แก่ กระหนกสามตัว กระหนกเปลว กระหนกใบเทศ จากนั้นก็เป็นกระหนกผักกูด กระหนกกอ
ในบทความนี้ขอยกแม่ลายมาเพียง 1 จาก 4 คือลายกระหนกสามตัว ถือเป็นแม่แบบของกระหนกทั้งหลาย ซึ่งรูปทรงหากอธิบายง่าย ๆ จะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า หรือรูปทรงดอกบัวครึ่งซีก และการเขียนจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน
- ตัวเหงา – ลายที่อยู่ตอนล่าง
- กาบ – ตัวประกบหลัง เขียนประกบข้างหลังตัวเหงา
- ตัวยอด – เปลวยอดสุด เขียนสะบัดคล้ายเปลวไฟ
และลวยลายกนกอื่น ๆ

ได้รับความบันดาลใจและประดิษฐ์ขึ้นมาจากยอดสะบัด
ของเปลวเพลิง
ประดิษฐ์มาจากใบฝ้ายและเถาไม้
นำมาเขียนผูกเป็นลาย
ประดิษฐ์ลายมาจากรูปทรงพู่หางสิงโต
2.ลายกระจัง
อยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า มีลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัวหรือตาอ้อย ด้านข้างจะแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก
3.ลายประจำยาม
ลวดลายนี้จะอยู่ในสี่เหลี่ยมจัตุรัสตะแคง มีลักษณะคล้ายดอกไม้ โดยดัดแปลงมาจากดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ดอกสี่ทิศ”
4.ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ลักษณะของทรงพุ่มเข้าตามรูปทรงของข้าวบิณฑบาต หรือทรงดอกบัวตูม ตามภาพข้างบน ส่วนใหญ่เรามักพบเห็นได้ตามสถาปัตยกรรมไทย เช่น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยสุโขทัย
5. ลายกาบ

ลักษณะคล้ายกับอ้อย ไผ่ ใช้ตกแต่งหรือห่อหุ้มตกแต่งตามโคนเสา หรือ มุมเหลี่ยมต่าง ๆ
ตัวอย่างงานศิลปะ สถาปัตยกรรม สิ่งทอ
ลวยลายที่กล่าวมาข้างบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถูกใช้บ่อยและยังมีมาถึงปัจจุบัน โดยลวดลายต่าง ๆ มักจะมารวมกับความเชื่อทางศาสนา ทำให้ลายไทยเข้าไปมีส่วนร่วมตามสถาบันพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมักจะพบเห็นตกแต่งตามอาคาร สถานที่ สถาปัตยกรรม เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับ และเครื่องใช้ต่าง ๆ
สถูปเจดีย์ – วัดพระธาตุหริภุญชัย
อายุสมัยคือล้านนา (พ.ศ. 1804 – 2101) เป็นฉัตร 5 ชั้น ทำจากไม้ บุด้วยทองเหลืองประดับด้วยลายกระจังตาอ้อยฐาน

งานเซรามิค

แต่ในงานเซรามิคในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้เพื่อใส่อาหารและน้ำ ลวดลายที่พบเห็นบนจาน โถใส่ข้าวและอื่น ๆ มักจะเป็นธรรมชาติและรูปสัตว์เป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 (พ.ศ. 1001-1300)
ประติมากรรม
หากสังเกตที่ฐานของรูปปั้น จะเห็นได้ว่าลวดลายจะประกอบไปด้วยลายไทยวางเรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงดอกบัว ประติมากรรมของไทยส่วนใหญ่จะเป็นรูปพระพุทธเจ้า
_______________________________________________________________________
ศิลปะไทยได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ และมีหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สามารถทำให้คนจดจำได้ทันทีว่านี่คือลวดลายแบบไทยคือ ลายไทย อาทิ ลายกระหนก และลวดลายอื่น ๆ เนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์และไม่ซ้ำแบบใคร