ศิลปะเขมร ศิลปะที่แฝงความเชื่อทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง

  • by

Cambodian art หรือ Khmer art หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ‘ศิลปะเขมร/ขอม’ ศิลปะอันทรงพลังที่ตั้งรากฐานอยู่ที่ประเทศกัมพูชา ประเทศที่เราต่างรู้จักกันดีศิลปะเขมรมีความเชื่อมโยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความเชื่อของชาว/ศาสนาฮินดูและพุทธซึ่งเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่เก้าถึงศตวรรษที่สิบห้า

ศิลปะเขมรเกือบทั้งหมดที่เราสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรจะอยู่ในรูปแบบของประติมากรรมหินที่เกี่ยวข้องกับวัด ส่วนงานศิลปะอื่น ๆ และงานฝีมือดั้งเดิมของกัมพูชา ได้แก่ สิ่งทอการทอผ้าที่ไม่ใช้ผ้า การทำเงินการแกะสลักหินเครื่องเขินเซรามิก ภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัด

– เรามาทำความรู้จักศิลปะแต่ละแบบของเขมรกันดีกว่า –

สมบัติทางสถาปัตยกรรม

งานแกะสลักหินที่มีชื่อเสียงที่สุดของกัมพูชา วิหารที่ถูกเรียกว่า อังกอร์วัด หรือถูกเรียกภายใต้ชื่อ นครวัด-นครธม (ตามการลงทะเบียนเป็นมรดกโลก) ซึ่งในนครวัดจะประกอบไปด้วยปราสาทต่าง ๆ มากมาย แรกเริ่มสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อย ๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

__________________________

นครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา อีกทั้งนครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก

  • งานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักการกวนเกษียรสมุทร และมีรูปแกะสลักนางอัปสรมากกว่า 1,796 นาง ที่ทั้งหมดมีเครื่องแต่งกายและทรงผมที่ไม่ซ้ำกัน

งานแกะสลัก

อีกหนึ่งสิ่งที่พบในสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชาคืองานแกะสลักรูปปั้นต่าง ๆ ที่แสดงถึงสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายบนท้งฟ้าและบนโลก มีตั้งแต่ เทพเจ้า เทพธิดา กษัตริย์ เจ้าชาย งู มังกร พญานาค สิงโต

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์ที่เจดีย์เงินของพนมเปญ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์ที่เจดีย์เงินของพนมเปญ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังก็จะมีความเกี่ยวข้องกับฝาผนังเช่นกัน ไม่ต่างกับศิลปะแบบอื่น ๆ แต่ในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยเนื่องจากส่วนหนึ่งถูกทำลายจากสงครามก่อนหน้านั้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยก่อนจึงไม่มีให้พบเห็นมากนัก

สิ่งทอ

การทอผ้าไหมเป็นงานฝีมือที่เก่าแก่ในกัมพูชาต้องใช้เวลาและความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก โดยลวดลายบนผ้าไหมจะแบ่งออกได้เป็นหลากหลายแบบ เช่น

Lboeuk หรือรูปทรงเพชร เป็นหนึ่งลวดลายดั้งเดิมที่มีชื่อเสียงที่สุด เพราะมีความประณีตและมีความซับซ้อน ส่วนใหญ่เราจะเห็นลวดลายนี้บนผาพันคอเสื้อผ้าที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งลายนนี้จะเป็นตัวแทนของประเพณี

เป็นรูปแบบที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เหมือนดอกมะลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี อีกทั้งรูปแบบนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณและความดั้งเดิมสำหรับชาวกัมพูชา เนื่องจากในสมัยก่อนผู้คนจะใช้ดอกมะลิเป็นเครื่องบูชาแด่พระพุทธเจ้า

Linga เป็นสัญลักษณ์ลึงค์ของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูพระศิวะและสามารถพบเห็นได้ในนครวัดหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักบนผนังและพื้นหรือยืนอยู่ในห้องเป็นรูปปั้น

Romduol เป็นดอกไม้กัมพูชาทั่วไป เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของสุขอนามัยและการรักษาสิ่งแวดล้อมในกัมพูชา

มักจะเห็น Ahlunh ในชุดของผู้หญิงที่มีอายุมาก ในพิธีทางศาสนาและงานพื้นบ้าน

ลวดลายของเนื้อผ้ามักจะมีความหมายแฝงในแต่ละลวดลายของมัน แต่มักจะใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปด้วย

นอกจากสถาปัตยกรรม งานแกะสลัก จิตรกรรมฝาผนัง สิ่งทอแล้ว ยังมีเครื่องเขิน งานเซรามิกอื่น ๆ ที่ขึ้นชื่อเช่นกัน

ชามกัมพูชารูปดอกบัว (โลหะผสมทองและเงิน)
หม้อรูปนกฮูก

หินเคลือบ

หากพูดถึงศิลปะเขมร สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคงไม่พ้นงาน สถาปัตยกรรม งานแกะสลัก ที่มีปรากฏให้เห็นจนถึงยุคปัจจุบัน ด้วยความเด่นชัดและมีรายละเอียดอย่างประณีตจึงทำให้เป็นที่จดจำ และแต่ละสถาปัตยกรรมหรือสิ่งอื่น ๆ มักจะสื่อถึงศาสดาฮินดูและพุทธ ถึงพิธี เรื่องราวเทพเจ้า และประเพณีต่าง ๆ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.