New Typography รูปแบบการพิมพ์ใหม่ สั่นสะท้านทั้งวงการ

  • by
New Typography

ในปีค.ศ. 1920 และปี ค.ศ. 1930 เกิดการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า New Typography (รูปแบบการพิมพ์ใหม่) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักและมีอิทธิพลต่อการออกแบบกราฟิกและศิลปะที่แปลกแหวกแนวในยุโรปกลาง

“มันเริ่มจากการปฏิเสธการจัดเรียงแบบดั้งเดิมในคอลัมน์ที่มีความสมมาตร โดยนักออกแบบสมัยใหม่ได้ออกแบบหน้ากระดาษ การเรียงบล็อก ภาพประกอบ ให้ไม่สมดุลและไม่มีความสมมาตร แต่กลมกลืนกันอย่างยอดเยี่ยม ด้วยการเน้นที่ความเรียบง่าย ซึ่ง New Typography เป็นการพิมพ์แบบใหม่ที่ให้นักออกแบบหลุดพ้นจากขอบเขตแบบเดิม

องค์ประกอบของ New Typography
ตัวอักษร รูปภาพ จะถูกเรียงกันแบบไม่มีแบบแผน เช่น การวางเอียง โค้งวงกลม ใส่ตัวหนังสือไม่เท่ากัน แต่จะมีการจัดเรียงแบบมีลำดับ และจะมีการใช้พื้นที่สีขาวปล่อยโล่ง

ศิลปินใน New Typography ได้แก่… Jan Tschichold, Max Burchartz, Ladislav Sutnar, Kurt Shwitters Piet Zwart และ อื่น ๆ

    Jan Tschichold
Max Burchartz
Max Burchartz
Design Works, Ladislav Sutnar Archive | Objects | Collection of Cooper  Hewitt, Smithsonian Design Museum
Ladislav Sutnar
Kurt Schwitters - 39 artworks - painting
Kurt Shwitters
Frans-Willem Korsten | Piet Zwart Institute
Piet Zwart

โดยศิลปินแต่ละคนก็สร้างรูปแบบของผลงานมาแตกต่างกัน และในคนละค.ศ. ฉะนั้นในบทความนี้จะขอยกเฉพาะศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังและผลิตผลงานที่เป็นที่รู้จัก

_________________________________

Jan Tschichold (แจน)

เขาเป็นศิลปินภาพพิมพ์และมีตัวพิมพ์ชาวเยอรมันที่โดดเด่นและมีอิทธิพลมากในการพัฒนาออกแบบกราฟิกในศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้เขายังออกแบบอักษร Sabon ที่เป็นที่ชื่นชมอย่างมาก

โดยเขาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการออกแบบสมัยใหม่ในปี 1923 หลังเยี่ยมชมนิทรรศการ Weimar Bauhaus ครั้งแรก

พูดได้ว่าการไปเยี่ยมนิทรรศการดังกล่าวทำให้เขาริเริ่มการสร้าง New Typography

หนังสือเล่มแรกของเขาที่ออกมาและสร้างความโกลาหลในโลกแห่งการออกแบบ – เนื้อหาบอกถึงการออกแบบ การวาง Layout ในรูปแบบแปลกใหม่

และยังมีผลงานอีกมากมายที่ Jan Tschichold สร้างสรรค์ออกมา

จากการสร้างผลงานออกมาทั้งหมด Jan ได้กล่าวว่า “แก่นแท้ของตัวพิมพ์ใหม่คือความชัดเจน งานพิมพ์ทุกชิ้นเป็นการส่งข้อความในลักษณะที่สั้นที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด” ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากตัวอย่างข้างบนอยู่แล้ว ว่าใจความหลักที่เขาต้องสื่อจะถูกทำเป็นตัวใหญ่และอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นได้เพียงแค่มองครั้งแรก

จากตัวอย่างก่อนหน้านี้จะได้ว่าจะเห็นว่ามีเพียงสองถึงสามประโยคเท่านั้นที่ถูกวางอยู่บนแผ่นกระดาษ แต่ New Typography ยังเป็นการวาง Lay out ที่แปลกใหม่ได้ด้วย Layout ในบทความจะถูกวางแบบแปลกๆ ไม่มีความสมมาตรตามตัวอย่างข้างบน แต่จะมีการปรับขนาดฟอนต์ให้สามารถรู้ได้ว่าอะไรคือหัวข้อ

______________________________________

Max Burchartz

( เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน )

Poster for a Dance Festival, 1928

การพิมพ์ในรูปแบบใหม่มักถูกนำมาใช้ในการแข่งขันของโฆษณาต่าง ๆ โดยโปสเตอร์นี้เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Max ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ไว่ว่าจะเป็นการโพสท่าของผู้หญิง การขยายตัวหนังสือเป็นจังหวะ การขยายส่วนต่าง ๆ ตามทรงของวงกลม

3

____________________________________________

Piet Zwart 

( เป็นช่างภาพชาวดัตช์ และนักออกแบบอุตสาหกรรม/ตัวพิมพ์ )

เขาสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองของคนอ่านให้ดูมีความตื่นเต้นและความสนุกสนานมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิ่งหรือรูปทรงและสีแบบซ้ำ ๆ การใช้ภาพตัดต่อ หรือการแสดงข้อความในแนวต่าง ๆ ในช่องว่างสีขาว

Advertisement for Vickers House, The Hague, 1923

n

_____________________________

จากที่บทความทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสรุป New Typography ได้ว่า วัตถุประสงค์หลักคือการพัฒนารูปแบบให้มองเห็นผ่านฟังก์ชันของข้อความ แสดงออกมาอย่างตรงตัว สามารถเข้าใจได้อย่างทันที และมีลำดับของเนื้อหา อีกทั้งเนื้อหายังถูกเรียงด้วย Layout ที่แปลกและไม่มีความสมมาตร นอกจากจากนี้ยังนำการใช้รูปทรงเรขาคณิตและรูปภาพมาเข้าร่วมด้วย

ในส่วนของข้อความ : ทุกส่วนของข้อความจะเกี่ยวข้องกับส่วนอื่น ๆ และแต่ละข้อความจะถูกให้ความสำคัญผ่านขนาดและน้ำหนักของตัวอักษร การจัดเรียงของเส้นและการเลือกใช้สี

ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีตัวอย่างของ New Typography และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจแบบแหวกแนว > ลิงค์เว็บไซต์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.