โดยปกติวัดจะเป็นแหล่งรวบรวมศิลปะไว้ หากเราสังเกตบริเวณผนังด้านใน เนื่องจากคนสมัยก่อนต่างนิยมสร้างศิลปะเพื่ออุทิศให้ศาสนา ทำให้สถานที่ทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้มีความพิเศษ นั่นคือเหตุผลที่มีงานศิลปะโบราณมากมายในวัดของประเทศไทย แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เมื่อวัฒนธรรมและศิลปะตะวันตกเริ่มเข้ามา ศิลปินได้รับอิทธิพลและรับเข้ามาปรับใช้กับศิลปะไทย ศิลปะของไทยจึงถูกนำมาผสมผสานกลมกลืนกับศิลปะแนวใหม่ ๆ จนกลายเป็นศิลปะไทยร่วมสมัย
แต่ทั้งหมดทั้งมวลสิ่งที่เราพบเห็นในศิลปะเหล่านั้น มีลักษณะออกไทย ๆ มีสีแดง สีทอง มีภาพเทวดา ลายกนก แทรกอยู่ หรือจะออกแขวกแนวไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือจะเป็นแนวนามธรรม ป้ายสีไปมา แต่จะมีความอ่อนช้อย หรือเส้นสีที่สื่อถึงความเป็นไทยอยู่

ความแตกต่างระหว่างศิลปะไทยแบบดั้งเดิมกับศิลปะไทยสมัยใหม่
ศิลปะไทยแบบดั้งเดิม
เน้นแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา
ภาพมีลักษณะแบนๆ ไม่มีความลึกแบบเส้นนำสายตา
เน้นการเล่าเรื่อง อ่านได้ต่อเรื่อย ๆ
ศิลปะไทยสมัยใหม่
เกิดขึ้นหลังหลังอาณานิคมในทศวรรษที่ 1990 (แลกเปลี่ยนความคิด) – การวาดให้ถูกลักษณะกายภาพ
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สัญลักษณ์ชาติ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม
ของชาติ เชื้อชาติ อารมณ์ ความรู้สึก
ภาพมีมิติ ไม่แบน
มีการนำเสนอออกมาหลาหลายแบบไม่ว่าจะวาดภาพหรือการจัดวาง มีอิสระ
ตัวอย่างงานศิลปะแนวไทยร่วมสมัย



ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถมองหาศิลปะไทยร่วมสมัยได้ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ซึ่งถูกสร้างโดยคุณบุญชัย เบญจรงคกุล เขาได้รวบรวมศิลปะไทยร่วมสมัยมาไว้ในอาคาร จัดแสดงโชว์ ซึ่งภายในอาคารจะถูกแบ่งเป็นหลายหมวดมีทั้งจากศิลปินไทยและต่างชาติ
นอกจากนี้รูปแบบของการนำเสนอจะไม่มีการซ้ำแบบซึ่งจะถูกสร้างโดยแต่ละตัวศิลปินเอง แต่หากเรามองหาศิลปะแบบเดิมหรือลวดลายของไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ปัจจุบัน ถูกปรับเปลี่ยนให้ดูมีความทันสมัย และดูเข้าถึงง่ายมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่าง…
ลายกนกที่เป็นสัญลักษณ์หลักของศิลปะไทย ถูกปรับเปลี่ยนด้วยการเติมสีเพื่อให้ดูเข้าถึงง่ายและมีความทันสมัยมากขึ้น






รูป : Thai-Contemporary Motif Design
ตัวอย่างการปรับใช้ลายไทยกับผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ยกระดับลายไทยให้ดูทันสมัยมากขึ้น
ตัวอย่างจากนักศึกษาศิลปากรที่ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ โทนสีแบบไทยๆ



