การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้ตามมาตรฐานเเละไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งเเวดล้อม น้ำเสียจากแหล่งต่างๆจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการ ก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย ได้ดังนี้
1.กระบวนการทางกายภาพ (Physical Process)
2.กระบวนการทางชีววิทยา (Biological Process)
3.กระบวนการทางเคมี (Chemical Process)

1.กระบวนการทางกายภาพ (Physical Process)
เป็นการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของเเข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันเเละน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการแยกสิ่งเจือปน คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันเเละน้ำมัน เเละถังตกตะกอน ซึ่งเป็นการลดปริมาณของเเข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก
————————————————————————————————–
2.กระบวนการทางชีววิทยา (Biological Process)
เป็นกระบวนการบำบัดที่อาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายทางชีวภาพได้ โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารเเละสารตั้งต้นในการดำรงชีวิต การเจริญเติบโต เเละการสังเคราะห์เซลล์ใหม่
ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
แบ่งได้ 2 ประเภท ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการย่อยสลายสารอินทรีย์
การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ บำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ต้องอาศัยออกซิเจนละลายน้ำ
การบำบัดน้ำเเบบไม่ใช้อากาศ บำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน แต่อาศัยตัวประกอบอื่นในการรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจนละลายน้ำ
ข้อแตกต่างระหว่างการบำบัดเเบบใช้อากาศเเละไม่ใช้อากาศ
การบำบัดแบบใช้อากาศจะได้น้ำทิ้งที่มีคุณภาพดีกว่า แต่เศษตะกอนส่วนเกินจะเยอะกว่าการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ
—————————————————————————————————
3.กระบวนการทางเคมี (Chemical Process)
เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยการเเยกสารต่างๆ หรือสิ่งปนเปื้อในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก สารพิษ สภาพความเป็นกรด-ด่างสูงๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ด้วยการเติมสารต่างเคมีต่างๆ ลงไปเพื่อให้เข้าไปทำปฏิกิริยา ซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกสาร ซึ่งกระบวนการบำบัดทางเคมีบางประเภทที่นิยมใช้กัน
ได้เเก่
– การตกตะกอน
– การแลกประจุ
– การดูดซับด้วยผงถ่าน
วิธีการบำบัดทางเคมีมีข้อเสียคือ
– เมื่อเติมสารเคมีลงในน้ำเสียเเล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม
– ค่าใช้จ่ายสูงสำหรับสารเคมี
กระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อน้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือชีวภาพ
การบำบัดน้ำเสีย แบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.การบำบัดขั้นต้น Primary Treatment เป็นการแยกทราย กรวด เเละของเเข็งขนาดใหญ่ ออกจากน้ำเสีย โดยการใช้ตะแกรงหยาบ-ละเอียด ถังดักกรวดทราย ถังดักตะกอนเบื้อต้น จะเรียกอีกชื่อว่า “การบำบัดทางกายภาพ”
2.การบำบัดขั้นที่สอง Secondary Treatment เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมาเเล้ว แต่ยังเหลือของเเข็งแขวนลอยขนาดเล็ก ในน้ำเสียเหลือค้างอยู่ โดยทั่วไปการบำบัดขั้นที่สอง จะเรียกอีกชื่อว่า “การบำบัดทางชีวภาพ” จะอาศัยหลักการเดียวกัน คือเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้การควบคุม เพื่อใช้ในการแยกตะกอนออกจากน้ำเสีย ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น
3.การบำบัดขึ้นสูง Advance Treatment เป็นกระบวนการกำจัดสาร สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก ซึ่งหลงเหลือจากการบำบัดขั้นที่สอง เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นเพียงพอที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เเละป้องกันการเติบโตที่ผิดปกติของสาหร่ายที่เป็นตัวทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งขั้นตอนนี้ จะเรียกอีกชื่อว่า “การบำบัดทางเคมี”