พาส่องสื่อกราฟิกดีไซน์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (1940s)

  • by

Graphic Design หรือการออกแบบกราฟิก มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือการสื่อสาร การออกแบบที่ดีนั้น นอกจากจะทำให้ภาพดูสวยงามแล้ว ต้องมีข้อความที่สามารถส่งไปให้ผู้รับด้วย ซึ่งภายในบทความนี้เราจะพาทุกไปมองย้อนประวัติศาสตร์ของการออกแบบกราฟฟิคในปี 1940 โดยกราฟิกในแต่ละยุคโดยเฉพาะโฆษณา คุณจะสามารถสังเกตได้ว่าการออกแบบส่วนใหญ่จะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้นด้วย

รูปแบบการออกแบบจะมีความต่างกันในแต่ละยุคเพราะความต้องการของผู้ชมแตกต่างกัน

1940s

อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าหากต้องการรู้สไตล์การออกแบบของยุคไหนให้เริ่มต้นดูที่สื่อโฆษณาของยุคนั้น อีกทั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 การออกแบบต่าง ๆ จะเน้นไปทางเชิงพาณิชย์เสียมากกว่า

ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของการออกแบบบกราฟิกในยุค 40 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม

  • การออกแบบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 : โดยเฉพาะโปสเตอร์โฆษณา ชวนเชื่อ และการโฆษณาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามสงคราม
  • การออกแบบทั่วไป : ในช่วงเวลานั้นจะเน้นการภาพที่มีความฉูดฉาด ตรงไปตรงมา ทั้งในแง่ไอคอน ข้อความ และโฆษณาจะเน้นการใช้คำขวัญขนาดใหญ่

โดยการออกแบบที่น่าสนใจช่วงปี 1940 นี้ จะเป็นของศิลปินโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียต ที่ได้รับแรงบัลดาลใจจาก Art Deco และ Constructivism (คอนสตรัคติวิสต์ – การเคลื่อนไหวทางศิลปะของรัสเซียซึ่งเน้นศิลปะว่ามีจุดประสงค์ทางสังคม ) ได้พัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และมีความตรงไปตรงมา ในเฉดสีแดงดำและเทา

Original Design Art Deco Bauhaus A3 A2 A1 Poster Print Vintage | Etsy | Art  deco posters, Art deco poster, Art deco fashion

Art Deco

เน้นรูปทรงเรขาคณิตและลวดลาย มีความหรู

Constructivist Art

Constructivism

เป็นแนวภาพที่สผมผสานทั้งภาพตัวหนังสือเข้าด้วยกัน

forties advert psd
ชุดโฆษณาย้อนยุคในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940

โปสเตอร์ส่วนใหญ่ที่เราจะพบเห็นในยุคที่ก็มีทั้งแนวปลุกใจ ขายของ ชวนเชื่อ

โปสเตอร์ในช่วงสงครามโลก&โปสเตอร์ชวนเชื่อ

ในยุคที่การพิมพ์ภาพยังไม่พัฒนานั้น เราจะสังเกตได้ว่าองค์ประกอบของภาพจะไม่มีมากนัก อีกทั้งยังมีสีที่จำกัด นอกจากนี้ยังเลือกคำ/ข้อความที่สั้น กระชับ และสามารถสื่อความหมายออกไปได้อย่างชัดเจน

“We Can Do It!”

เป็นโปสเตอร์สงครามอเมริกันสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดย J. Howard Miller ในปี 1943 เพื่อเป็นภาพสร้างแรงบันดาลใจในการกระตุ้นขวัญกำลังใจของคนงานหญิง

โดยโปสเตอร์ส่วนใหญ่ที่พบเห็นจะเกี่ยวข้องกับการเชื้อเชิญ ทั้งการซื้อขายพันธบัตรสงครามและเข้าทำงานในโรงงานเพื่อรองรับความต้องการด้านการผลิตของกองทัพต่าง ๆ ในยุคนี้เราจึงจะเห็นถึงการใช้คำมากกว่า

สื่อโฆษณาสำหรับผลิตภัณฑ์

ในสื่อโฆษณาจะมีทั้งการเลือกใช้สีเพียง 1 สี และมีการใช้สีมากกว่านั้น แต่เราสามารถสังเกตได้ตรงกันคือ ทุกภาพสื่อจะไม่มีลวดลายของพื้นหลัง ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้จะทำให้เห็นสิ่ง/ภาพ/คน/สิ่งของได้อยากชัดเจน

แต่ก็ยังมีเว่อร์ชั่นสี ภาพส่วนใหญ่ในยุคนั้นจะเป็นภาพวาดเสียมากกว่า และจะเน้นใช้คำในการโฆณา/ชื่อที่ตัวใหญ่ เพื่อดึงดูดคนให้เห็น

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.