Jidoka (TPS)

Jidoka หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation” หมายความว่า การควบคุม ตัวเองโดยอัตโนมัติ ในความหมายของ TOYOTA คือ การใช้เครื่องมือหรือเคร่ืองจักรในการป้องกันความ ผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้น หรือในทุก ๆ กระบวนการ หากเกิดการผิดพลาดขึ้น

จะมีระบบอัตโนมัติเพื่อหยุดยั้งการสองสินค้าที่มีความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไปยังกระบวนการต่อไป ซึ่งอาจจะสองผลให้เกิดการผลิตสินค้าสําเร็จรูปที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐานสองไปยังถึงมือลูกค้าได้ หรือ อาจกล่าวอย่างสั้น ๆ ได้ว่า ระบบ Jidokaคือกระบวนการควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่อองจักร

ในทางปฎิบัติของ Toyota ระบบ Jidoka จะเริ่มจากการติดตั้งสัญญาณไฟฟ้า Andon ที่จะบอก ชื่อรถ รุ่น และข้อมูลต่าง ๆ ที่จะทําให้พนักงานทราบว่าจะต้องประกอบชิ้นส่วนใดบ้าง อะไหล่ใดบ้าง หากพบ ข้อผิดพลาดที่ไม่จําเป็นต้องมีการหยุดสายการผลิต เช่น พนักงานใส่หรือประกอบชิ้นส่วนผิดพลาดจากที่ กําหนดไว้ สัญญาณเตือนจะดังขึ้นทันที แต่หากว่ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น บริษัทได้มีระบบที่เรียกว่า การ กําหนดจุดหยุด (Fixed Position Stop System) ไว้ โดยพนักงานสามารถดึงสัญญาณนี้เพื่อเป็นการเรียกให้ หัวหน้างานได้สามารถเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขได้ทันทวงที นอกจากนั้น ณ ขั้นตอนสุดท้ายของระบบนั้นยังมี ระบบที่เรียกว่าPOKAYOKE หรือเครื่องมือที่ป้องกันสถานการณ์อันผิดปกติอันอาจเป็นเหตุให้เกิดปัญหาได้ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังระบบอื่น

ข้อดีของระบบJidoka 

ช่วยให้ไม่มีสินค้าเสียหายหรือไม่ได้มาตรฐานเกิดขึ้นเท่าน้ัน แต่จะช่วยให้การไหลของวัสดุในระบบ JIT ทําได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งจะช่วยลดเวลาการทํางาน และ ป้องกันการเกิดของเสีย (Waste) ในระบบ เช่น การเสียเวลาตรวจสอบสินค้า การรอคอย การขนส่ง และสินค้า เสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหลักการ 3 ประการท่ีสําคัญของ Jidoka คือ การแยกการทํางานของ พนักงานกับการทํางานของเครื่องจักรออกจากกัน การพัฒนาอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันการทําให้สินค้า เสียหายหรือไม่ได้คุณภาพ และการประยุกต์ใชื Jidoka กับกระบวนการประกอบช้ินส่วนต่าง ๆ

นอกจากนี้ TOYOTA ยังได้ระบุด้วยว่า สาเหตุสําคัญท่ีทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงน้ัน มี 3 สาเหตุ ด้วยกัน คือ

• MUDAคือการเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า

 • MURIคือการรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์

• MURAคือแผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ

Just-In-Time ความหมาย

  ในความหมายที่ตรงตัวหมายถึงทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดีเวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี สําหรับระบบการผลิตแบบ Just  In  Time   หรือระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีของ TOYOTA  นั้น หมายถึงการผลิตหรือส่งมอบสิ่งที่ต้องการในเวลาที่ต้องการด้วยจํานวนที่ต้องการโดยใช้ความ ต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกําหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบและใช้ Pull System    ในการควบคุม วัสดุคงคลังและการผลิตทําให้ไม่เกิดของเหลือหรือของส่วนเกินทั้งในส่วนของวัตถุดิบงานระหว่างทําและสินค้าสําเร็จรูป ระบบการผลิตแบบ Just  In  Time จะเริ่มต้นจากขั้นตอนของปรับให้สายการผลิตมีความราบเรียบ สม่ำเสมอในทุกขั้นตอนหรือที่เรียกว่าการทํางานแบบ Heijunka    หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Leveled Production  ในขั้นตอนนี้ระยะเวลาการผลิตในแต่ละกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยระบบ Takt  Time   เพราะ ปัจจุบันนี้กระบวนการผลิตรถยนต์ในแต่ละสาย (Line)การผลิตได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากโดยสายการผลิต แต่ละสายอาจประกอบด้วยการผลิตรถยนต์หลายๆรุ่นในเวลาเดียวกันซึ่งปัจจุบัน TOYOTA  Thailand สามารถผลิตรถยนต์มากสุดถึง 5  รุ่นในสายการผลิตสายหนึ่งดังนั้นจะเห็นได้ว่าความต่อเนื่องของการผลิต (Continuous Flow Processing) ในแต่ละขั้นตอนมีส่วนสําคัญอย่างยิ่งการทําให้ระบบ Just In Time  ประสบ ความสําเร็จ 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.