หัวใจหลักของการทำ SEO นั้นคือการเลือกใช้คีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งการเลือกคีย์เวิร์ดที่ดีนั้นจะนำไปสู่การเข้าถึงภายในเว็บไซต์และมีโอกาสเปลี่ยนจากผู้เข้าชมเป็นลูกค้าได้ ฉะนั้นภายในบทความนี้จะพูดถึงการใช้เครื่องมือ Moz keyword ที่จะเป็นตัวช่วยในการเลือกคีย์เวิร์ดต่าง ๆ
Moz
Moz Keyword เป็น SEO Tool ที่ช่วยในเรื่องการค้นหา Keyword การมองเจาะเข้าไปในแต่ละหน้าของเว็บ แสดงสถิติ ลิงค์ต่าง ๆ และยังเป็นที่รู้จักในวงการสาย SEO เพราะมีหลายธุรกิจตั้งแต่เล็กอย่าง KWFinder, Zillow, Trivago, Alaska, 99Designs, razorfish และอีก 500,000 ธุรกิจในงาน Moz อยู่ โดย Moz ถูกก่อตั้งตั้งแต่ปี 2004 และเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน

**เป็นโปรแกรมที่มีการเสียเงิน
โดยคุณสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรีเพียง 30 วัน ซึ่งหลังจากนั้นหากต้องการใช้งานต้องชำระค่าบริการ โดยแบ่งราคาตามนี้:

หน้าตาเว็บไซต์
ความสามารถของ Moz

เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น SEO Tool ก็จะตามมาด้วย Option ที่เต็มและพร้อมสำหรับการวิเคราห์เว็บไซต์ของคุณ เราขอแนะนำเครื่องมือเบื้องต้นของเว็บนี้กัน :
- Keyword Research : ตัวช่วยในการมองหาคีย์เวิร์ดที่สามารถเข้าคู่กับเว็บไซต์ได้ มีทั้งการจัดอันดับคำสำคัญ และกำจัดคำที่ไม่มีประโยชน์ออก ด้วยการสร้างรายการคีย์เวิร์ด จัดหมวดหมู่ และลำดับความสำคัญเปรียบเทียบคำหลักและเนื้อหา เพื่อให้สามารถนำไปประยุกค์กับบทความของคุณได้
- Rank Tracking : ตัวช่วยในการวัดผล SEO ของคุณ โดยติดตามประสิทธิภาพการจัดอันดับคำหลักของเว็บไซต์ และการมองเห็นโดยรวม เพื่อดูว่าสิ่งไหนใช้ได้ผลและใช้ไม่ได้ผล
- Site Crawl : รวบรวมและตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณ ค้นหาและแก้ไขในจุดที่ส่งผลต่อการทำงานเว็บไซต์ของคุณ เช่น Page ที่ไม่ทำงาน
- On-Page Optimization : การเพิ่มประสิทธิภาพใน Page หลักใจหลักคือการปรับหน้า Page ให้ตรงกับสิ่งที่ผู้อ่านต้องการ และตรงประเด็น โดยจะมีคำแนะนำ Step by Step ให้สำหรับการปรับปรุง
- Link Research : วิเคราะห์ลิงค์ที่จะช่วยให้การเข้าถึงเว็บไซต์มากขึ้น ช่วยเพิ่มจำนวนลิงค์ที่มีคุณภาพและลดลิงค์เป็นสแปม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
- Custom Reports : รายงานผลจากการปรับปรุงเว็บไซต์
Keyword Research

การค้นหา Keyword นั้นคือการพิมพ์เข้าไปที่ช่อง และเลือกภาษา และประเทศของคำคีย์เวิร์สนั้น หลังกจากนั้นหน้าจอก็จะทำการประมวลผลและปรากฏผลลัพธ์ออกมา ทั้ง Difficulty Keyword (ความยากง่ายของคีย์เวิร์ด),Priority(ลำดับความสำคัญ) ,Keyword Suggestion และ SERP(Search Engine Results Page) Analysis

PA(Page Authority) คือ การให้คะแนนความนิยมสำหรับหน้าเพจเว็บไซต์แต่ละหน้า แต่ละหน้าจะมีการให้คะแนน PA ที่ไม่เท่ากัน
DA(Domain Authority ) คือ การให้คะแนนความนิยมสำหรับเว็บไซต์ ซึ่งยิ่งคะแนนเยอะ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อการติดอันดับบน Google
หากเปรียบเทียบระหว่างเครื่องมืออื่น ๆ เช่น KWFinder หรือ UberSuggest นั้น Moz เป็นเครื่องมือที่รองรับภาษาไทยได้น้อยที่สุด หากให้อธิบายคือ เมื่อต้องการหา Keyword ภาษาไทย ผลลัพท์ที่ออกมาจะมีไม่มาก และมีการผสมผสานระหว่างภาษาไทยและอังกฤษ ดังนั้น Moz จึงเหมาะกับคำค้นหาภาษาอังฤษมากกว่า

แต่หากเลือกค้นหา Keyword เป็นภาษาอังกฤษแล้วนั้น ก็จะปรากฏสถิติต่าง ๆ มากกว่ากาค้นหาภาษาไทย


จะสังเกตได้ว่าผลลัพธ์ที่ Moz แสดงออกมานั้นจะต่างกัน ทั้ง Keyword Suggestion ที่ฝั่งของประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลมามากเท่าไหร่นัก จึงไม่เพียงพอต่อการแสดง หากแต่ใครต้องการมองหา Keyword เพื่อนำไปประยุกต์กับบทความตัวเอง ในฝั่งประเทศไทยนั้นเราแนะนำเป็น UberSuggest และ Keyword tool