เคยสงสัยมั้ยว่าราคาสินค้าตั้งแต่โรงงานผ่านผู้ขายส่งจนมาถึงผู้ขายปลีกนั้นถูกเพิ่มราคาเป็นกี่เท่าจากราคาเดิม? เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจสงสัยและมีความอยากรู้เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้โดยเฉพาะผู้ขายสินค้าประเภทต่าง ๆ เพราะว่าจะมีประโยชน์ต่อการตั้งราคาสินค้าต่อไป โดยในบทความนี้จะพูดถึงภาพรวมของสินค้า และการเพิ่มราคาที่เป็นที่นิยม เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการกำหนดที่ต่างกันเล็กน้อย
โดยปกติแล้วหากมีการออกตัวสินค้าขึ้นมา ก็ต้องคิดถึงเรื่องการตั้งราคาที่เหมาะสมและสามารถไปบวกเพิ่มกำไรได้

โดยปกติแล้วก่อนจะเป็นราคาที่ขายให้ลูกค้าคนสุดท้ายนั้นจะมีกำหนดการการกำหนดราคาอยู่หลายขั้นตอนนั้น
ตั้งแต่ราคาจากโรงงาน ราคาจากร้านขายส่ง ราคาที่ขายปลีกรับมา แล้วบวกกำไรส่วนต่างเพิ่มสำหรับการขายให้ลูกค้าคนสุดท้าย

Suppliers/manufacturer (โรงงาน)
ในส่วนของโรงงานก็จะมีต้นทุนที่เรียกว่า ต้นทุนของสินค้าที่ผลิต (COGM: Cost of Goods Manufactured) ซึ่งคือ ต้นทุนรวมในการผลิตสินค้า รวมถึงวัสดุ แรงงาน และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่จำเป็นในการนำสินค้าเข้าคลังสินค้าและขายสินค้า
ต้นทุนวัสดุทั้งหมด + ต้นทุนแรงงานทั้งหมด + ต้นทุนเพิ่มเติมและค่าโสหุ้ย = ต้นทุนของสินค้าที่ผลิต
สำหรับผู้ผลิตนั้น การมาร์กอัปมักจะถูกกำหนดโดยรายการวัสดุ (BOM) หรือราคาเท่าไรในการผลิตผลิตภัณฑ์ ปกติแล้วผู็ผลิตสามารถกำหนดผลกำไรตามที่ต้องการ แต่โดยทั่วไปจะถูกกำหนดที่ 15-20%
Wholesalers/Distributors (ผู้ขายส่ง)
เมื่อทางร้านขายส่งรับราคาที่ถูกเสนอโดยโรงงานแล้ว ผู้ขายส่งก็ต้องตั้งราคาใหม่อีกครั้งเพื่อขายให้ผู้ขายปลีกรายย่อย โดยการตั้งราคานั้นผู้ขายต้องคำนึงถึงราคาที่ได้รับมา และต้นทุนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพื่อนำมาคิดเป็นราคาใหม่
สำหรับผู้ขายส่งหรือผู้จัดจำหน่ายนั้น การกำหนด อัตรากำไรขั้นต้น จะอยู่ที่ 20% หรืออาจมีสูงถึง 40%
Retail (ผู้ขายปลีก)
สำหรับผู้ขายปลกซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายนั้น การกำหนดราคานั้นจึงต้องขึ้นกับการกำหนดการของโรงงานและผู้ขายส่งด้วย
การกำหนดราคาขายปลีกนั้นมีสูตรการคิดที่แนะนำคือ นำราคาขายส่งคูณด้วย 2หรือ2.5 เพื่อให้ได้ราคาขาย
การบวกอัตรากำไรจากตัวต้นทุนนั้นจะอยู่ที่ 20-50% เท่านั้น เนื่องจากการเพิ่มกำไรมากเกินไปอาจส่งผลต่อการขายผลิตภัณฑ์ในปลายทาง อาจส่งผลให้ผู้ค้าปลีกขายสินค้าไม่ออก และเกิดปัญหาในภายหลัง