Depth of Frame

Depth of Frame

คุณเคยดูภาพยนต์เรื่องไหนมาแล้วมีความรู้สึกว่ามันสามารถดึงคุณเข้าไปอยู่ในโลกภาพยนต์ได้หรือไม่ ภาพยนต์บางเรื่องที่บางฉากไม่ได้มีส่วนประกอบหรือเอฟเฟคที่ดูสวยงามแต่ทำให้คุณอินกำลังตัวละครที่กำลังรู้สึกบางอย่างได้ หรือบางฉากที่ถ่ายในพื้นที่จำกัดกลับทำให้ภาพที่ออกมาดูกว้างหรือดูแคบไปตามความต้องการของผู้กำกับ ทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวกับ Depth of Frame

Depth of frame เป็นทฤษฎีทางภาพยนต์ที่ให้แนวคิดว่าการถ่ายทำฉากภาพยนต์ส่วนใหญ่สักฉากหนึ่งนั้นคุณควรต้องมี Foreground, Middle ground และ Background แต่บางฉากก็ไม่จำเป็นต้องมีระยะเหล่านี้ในการถ่ายทำเช่น ฉากที่มีการ Close-up ซูมระยะใกล้ๆ ที่ต้องการเพ่งความสนใจไปที่วัตถุหรือบุคคลหลัก

ทฤษฎีนี้มักใช้การสร้างเส้นเพื่อลากให้เห็นชัดว่าสิ่งของหรือวัตถุหรือฉากใดๆอยู่ในระยะลึกตื้นอย่างไร เหมือนกับหลักการวาดภาพสามมิติลงบนกระดาษที่คุณต้องใส่เส้นเพื่อให้เห็นเป็นภาพสามมิติชัดขึ้น มีความลึกเกิดขึ้นภายในภาพนั่นเอง

คุณเห็นความแตกต่างของสองฉากจากภาพประกอบด้านบนหรือไม่ คุณจะได้ความรู้สึกเข้าถึงฉากนั้นๆที่แตกต่างกัน จากภาพแรกที่คุณสามารถเห็นความลึกของฉากได้อย่างเต็มที่เสมือนว่าคุณถูกดึงเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่ภาพที่สองที่มีบุคคลอยู่ด้านหน้าผนังถ้ำที่คุณมองไม่เห็นว่ามันมีความลึกหรือต่างระดับของฉากอยู่เท่าไหร่

หรือสองฉากต่อมาที่มีมุมมองคล้ายๆกันแต่มีการจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างกันทำให้คุณเห็นความลึกของฉากได้ไม่เหมือนกันคุณสามารถรู้ได้เลยในภาพด้านบนที่มีบาร์เหล้าคอยนำสายตาให้คุณเห็นความลึกของภาพ และลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าภาพด้านล่างที่คุณแยกไม่ออกระหว่างม้าหมุนกับบุคคลที่ยืนอยู่คนไม่สามารถรู้ได้เลยจากการมองเพียง 1 ครั้งว่าบุคคลยืนอยู่ในระดับความลึกเท่าไหร่

ซึ่งการถ่ายทำภาพยนต์แบบนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่ผิดหากไม่ตรงตามทฤษฎีแต่ทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงสถานการณ์นั้นๆได้ดีกว่า เข้าใจความรู้สึกหรืออินกับฉากนั้นๆได้มากยิ่งกว่า

การจัดองค์ประกอบและมุมกล้องลักษณะนี้สามารถใช้ได้กับฉากที่แคบหรือฉากที่กว้างได้เช่นเดียวกันแต่หากมีฉากกว้างหรือฉากที่เป็นที่โล่งคุณอาจต้องใช้มุมกล้องในการสร้างความลึกของภาพและใช้แสงเข้าช่วย เช่น ฉากสนามรบในเวียดนาม

ฉากสู้รบที่มีบรรยากาศการรบที่สมบูรณ์ทั้งด้านหน้าที่เป็นระยะชัดตื้นหรือ Foreground ในฉากที่ใช้ทหารที่อยู่ในกรอบที่แดงและ Middle ground เป็นกรอบสีเหลืองและเขียว และ Background เป็นกรอบสีม่วง คุณจะสามารถรับรู้ถึงความลึกของฉากได้อย่างเต็มที่

หรือแม้แต่ฉาก Close-up ก็สามารถสร้างความลึกตื้นได้ เพื่อช่วยดึงดูดให้ผู้ชมเข้าสู่อารมณ์ในฉากได้อย่างเต็มที่ เช่น ฉากที่ตัวเอกติดอยู่ในกรงและทำมุมกล้องให้ผู้ชมมองผ่านกรงที่ถูกบดบังเช่นเดียวกัน

SHALLOW FOCUS & RACKING FOCUS

อีกหนึ่งเทคนิคสำคัญในการสร้างภาพ Depth of Frame ที่นิยมใช้กันคือการใช้กล้องโฟกัส Shallow Focus การโฟกัสที่ตัวบุคคลหรือวัตถุที่อยู่ด้านหน้าสุดหรือ Foreground เพียงอย่างเดียว

Racking Focus คือการสลับโฟกัสให้ปรับตาสายตาที่อยากให้มองหรือขยับจุดสนใจที่อยากจะโฟกัส เทคนิคนี้มักใช้ในการเล่าเรื่องได้ดี ทำให้เกิดความ Flow ในฉากที่ถูกตัดเพื่อให้ไปในฉากต่อไปที่มีความเกี่ยวข้องกันได้ดี

Video : collegefilmandmediastudies

ZOOM SHOT

Zoom shot อีกหนึ่งเทคนิคในการสร้างความลึกตื้นของเฟรมได้ แต่เทคนิคต้องใช้เลนส์ที่มีคุณภาพสูงที่สามารถปรับโฟกัสแบบ Manual ได้

Video : collegefilmandmediastudies

FOLLOWING SHOT / REFRAMING

การถ่ายช็อตแบบแพนตามตัวละครที่ต้องการให้โฟกัส ฉากที่ยกตัวอย่างได้เห็นภาพที่สุดคือฉากจากหนังเรื่อง The Godfather ในงานปาร์ตี้ที่มีการแพนกล้องตามตัวละครแล้วถ่ายออกมาได้อย่างน่าสนใจ

Image : collegefilmandmediastudies

นอกไปจากนั้นการใช้ CG เข้าประกอบฉากภาพยนต์จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากความสมจริงที่จะเกิดขึ้นในฉากนั้นๆมักขึ้นอยู่กับการจัดวางความลึกความตื้นของวัตถุหรือบุคคล ฉากในหนังเรื่อง GodZilla สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้

หรือฉากจากหนังระดับตำนวนอย่างเรื่อง Batman The Dark Knight ฉากนี้ที่เกิดจากการถ่ายทำโดยไม่ใช้ CG และเป็นการเซ็ตฉากถ่ายกันใต้อุโมงและที่ยากคือต้องรักษาองค์ประกอบภาพในขณะที่เคลื่อนที่ถ่ายทำไปด้วย

ส่วนใหญ่การถ่ายทำลักษณะของ Long Take จะต้องอิงทฤษฎี Depth of Frame ในการถ่ายทำค่อนข้างมาก เพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกเข้าถึงสถานการณ์นั้นจริงๆ ยกตัวอย่างภาพยนต์เรื่อง Extraction

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างการถ่ายทำภาพยนต์ที่มีการใช้เทคนิค Depth of Frame เท่านั้น มีภาพยนต์อีกหลายๆเรื่องที่ใช้เทคนิคนี้ในการถ่ายทำและเช่นเดียวกันว่ามีอีกหลายๆเรื่องที่ไม่ได้ใช้เทคนิคนี้ในการถ่ายบางฉากแต่ฉากนั้นๆก็ออกมาเป็นที่น่าจดจำได้ เกิดจากองค์ประกอบอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพยนต์ ในครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องอะไรอีกโปรดติดตามได้ที่นี่

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.