Frame Rate คืออะไร?
การชมวิดีโอหรือภาพยนต์ที่เราชมกันอยู่ทุกวันนี้จากสายตาเราอาจจะมองว่าการถ่ายเป็นการบันทึกครั้งเดียวยาวๆ แต่ความจริงแล้วนั้นการถ่ายวิดีโอหรือภาพยนต์มันคือการถ่ายภาพหลายๆครั้งที่ถูกเรียกว่า Frames ซึ่ง 1 วิดีโอเกิดขึ้นจากการถ่ายหลายๆเฟรมที่มีอัตราที่เร็วมากจนเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอย่างลื่นไหลนั่นเอง ซึ่งก็นำมาสู่คำว่า Frame Rate ก็คืออัตราการวัดความเร็วของเฟรมใน 1 วินาที และมีหน่วยในการนับเป็น FPS ที่คุณอาจเคยคุ้นหูกัน
ซึ่งการกำหนดอัตรา Frame rate นั้นต้องอยู่ในทุกๆกระบวนการสร้างวิดีโอหรือภาพยนต์ในเรื่องๆหนึ่ง หมายความว่าคุณจำเป็นต้องใช้กล้องถ่ายที่สามารถจับความเร็วเท่ากับที่คุณต้องการถ่ายทอดออกมาและขั้นตอนการตัดต่อก็ต้องใช้การ Render ออกมาในลักษณะที่มี Frame rate เท่ากัน
ในทางกลับกันคุณสามารถถ่ายในความเร็ว Frame rate ที่สูงแต่ตัดต่อให้เป็นภาพสโลว์โมชั่นใน Frame rate ที่ต่ำได้เพื่อให้ได้ภาพที่ช้าแต่ต่อเนื่องและเห็นรายละเอียดชัด
Frame Rate ทั่วไปอยู่ที่อัตราเท่าไหร่?
งานวิดีโอทั่วๆไปตาม Youtube, TV, Streaming, หรือตาม Story IG ทั่วๆไปที่ถ่ายจากสมาร์ทโฟนที่เราเห็นกันทุกวันนี้จะใช้ Frame Rate มาตรฐานอยู่ที่ 24 FPS ซึ่งความเร็วในอัตรานี้คุณมักจะเห็นภาพวัตถุที่เบลอเมื่อมีการเคลื่อนไหวไวๆเกิดขึ้น
ซึ่ง Frame Rate 24 FPS นั้นถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมงานวิดีโอแทน 16 FPS ในปี 1927 เนื่องจากมันสามารถสื่อภาพที่มีจำนวนน้อยที่สุดออกมาพร้อมกับเสียงได้ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นการทำหนังเงียบที่เราเคยเห็นกัน
Cutshot จากภาพยนต์เรื่อง Transformers ข้างต้นจะสามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพเปรียเทียบจากฉากเดียวกันระหว่าง 24 FPS ตามที่เราดูทั่วๆไปกับ 60 FPS ที่มีอัตราเฟรมต่อวินาทีที่สูงกว่า
ถ้าดูจากวิดีโอข้างต้นจะสามารถทำความเข้าใจกับความเร็วแต่ละ Frame rate ได้อย่างง่ายดาย คุณจะเห็นการเคลื่อนที่ของลูกบอลที่เหมือนกันแต่มีความเร็ว Frame rate ที่แตกต่างกัน ความต่อเนื่องของภาพและความชัดจึงออกมาแตกต่างกันเช่นเดียวกัน
Frame Rate แตกต่างกันต้องเลือกใช้อย่างไร?
จากที่ได้กล่าวข้างต้นว่าตามงานวิดีโอส่วนใหญ่ใช้ Frame rate มาตรฐานอยู่ที่ 24 FPS แต่การเลือกใช้อัตราที่สูงหรือต่ำกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่าในงานของคุณต้องการเอฟเฟคหรือมีวัตถุภายในภาพที่ขยับมากน้อบเพียงใด ซึ่งตามปกติทั่วไปนั้นจะมีอัตรา Frame rate ที่เป็นที่นิยมดังนี้
- 24fps : ภาพยนต์ทั่วไป, Streaming Video, Video Content (จากตัวอย่างด้านล่างจะเห็นได้ว่าถึงแม้ใช้ความละเอียดภาพที่ 4K แต่ Frame rate แค่ 24fps นั้นคุณอาจจะได้ภาพที่ชัดจริงแต่หากมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้ตัววัตถุเบลอได้)
- 30fps : การถ่ายทอดสดทางทีวี(ประเภทกีฬาและข่าว) ซึ่งการถ่ายทอดสดกีฬาจำเป็นต้องใช้ความเร็วนี้ให้ภาพชัดและต่อเนื่องมากขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของนักกีฬาแบบเรียลไทม์, รายการทีวีส่วนใหญ่ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพ
- 60fps : อัตรา Frame rate นี้มักใช้คู่กับความละเอียดภาพ 4K เนื่องจากจะทำให้ภาพชัดมากยิ่งขึ้นแล้วความละเอียดระดับ 4K จะช่วยให้ Frame rate ที่ดีขึ้น มีความชัดมากยิ่งขึ้น ให้ความรู้สึกสมจริงมากยิ่งขึ้น จากวิดีโอบางตัวที่ไม่ได้เห็นถึงขั้นรูขุมขนความละเอียดและ Frame rate ระดับนี้ช่วยให้เห็นได้ (จากตัวอย่างวิดีโอด้านบนที่ความชัดระดับ 1080P และด้านล่างที่มีความชัดระดับ 4K หรือ (3840 x 2160) คุณจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนใน Frame rate ระดับเดียวกัน) ความละเอียดระดับนี้มักใช้ในภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ ที่มีฉากแอคชั่นเยอะๆ CGเยอะๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ชม
นอกไปจากนั้นระดับ Frame rate นี้ยังถูกใช้ในการ Render Video Game ด้วยเช่นเดียวกัน มันจะช่วยรีดประสิทธิภาพของกราฟฟิกให้ได้มากที่สุด
- 120fps ขึ้นไป : ความเร็วระดับนี้เกิดจากการถ่ายทำจากกล้องที่มีความเร็วสูงมาก และไม่เป็นที่นิยมในการถ่ายภาพยนต์มากเท่าใดเนื่องจากมันมักมีต้นทุนสูงเกินไปและต้องใช้ทรัพยากรในการสร้างภาพยนต์ที่มากตาม มักถูกใช้ในงานวิดีโอประเภทวิดีโอสโลว์โมชั่น งาน Video Game เป็นต้น
- 300fps ขึ้นไป : ความเร็ว Frame rate ระดับนี้ จะถูกใช้ในงานวิดีโอสโลว์โมชั่น หรืองานวิดีโอที่ถ่ายทอดสดการเล่นเกมส์เนื่องจากอุปกรณ์เล่นเกมส์ในปัจจุบันสามารถเรียก Frame rate ที่สูงระดับนี้ได้ในขณะเล่น
Streaming Video Game เทียบความแตกต่างตั้งแต่ 1fps – 300fps
การเลือกใช้ Frame rate ระดับต่างๆนั้นต้องขึ้นอยู่กับประเภทงานวิดีโอที่คุณจะทำ ลักษณะงานและลักษณะภาพที่จะถ่ายทอดให้กับผู้ชม แต่ละ Frame rate นั้นมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ยิ่งคุณใช้ Frame rate ระดับสูงอุปกรณ์ที่ใช้จะจำเป็นต้องสูงเช่นเดียวกัน ในมุมกลับกันคุณก็สามารถใช้ Frame rate ต่ำๆเพื่อให้ภาพยนต์หรือวิดีโอของคุณถ่ายทอดออกมาให้เป็นบรรยากาศย้อนยุคได้ด้วยเหมือนกัน