การทำแอนิเมชั่นของไหล ไม่ว่าจะน้ำ ลม ควัน หรือของเหลวต่าง ๆ สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกในการออกแบบให้เหมือนจริงทั้ง 2D และ 3D โดยการออกแบบแอนิเมชั่นเหล่านี้ต้องอาศัยการจำลองการเห็นทางกายภาพของสิ่งนั้นให้แม่นยำ และรูปแบบที่ออกมานั้นจะมีระดับความซับซ้อนที่ต่างกัน อย่างแอนิเมชั่นคุณภาพสูงก็จะใช้เวลานานในการสร้าง ส่วนแอนิเมชั่นง่าย ๆ อย่างในเกมส์ก็ใช้เวลาไม่นาน
Water Animation (การแอนิเมชั่นน้ำ)
การศึกษาการทำแอนิเมชั่นของน้ำนั้น อาจจะเป็นคลื่นน้ำบนทะเล หรือน้ำกระเด็น หรือน้ำกระทบฝั่ง เราควรเข้าใจลักษณะการเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นเสียก่อน โดยการสร้างแอนิเมชั่นนั้นต้องมีการวางแผนเป็นช็อตของการคเลื่อนไหวน้ำ ยกตัวอย่างการทำการน้ำกระฉอกหรือน้ำกระเพื่อม
การออกแบบช็อตการเคลื่อนไหวของน้ำนั้นควรมีความสัมพันธ์กันและต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง Water Splash Animation
จะสังเกตได้ว่าเมื่อมีของตกลงในน้ำ จะมีการเคลื่อนไหวอยู่ 2 แบบ คือ 1. น้ำในส่วนที่สัมผัสกับวัตถุจะกระฉอกขึ้น และน้ำในส่วนใกล้เคียงจะกระเพื่อม

หรือการเริ่มต้นสำหรับมือใหม่นั้นคือการมองภาพแบบ 2 มิติและเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ อย่างตัวอย่างการทำแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวนี้
นอกจาก 2 มิติแล้วยังมีรูปแบบ 3 มิติที่ใกล้เคียงกับภาพจริงมากขึ้น
โดยส่วนใหญ่แล้วการสร้างแอนิเมชั่นน้ำ จะเลือกใช้โปรแกรมอยู่ 2 โปรแกรม ซึ่งได้แก่ Cinema 4D และ After effect
นอกจากการเคลื่อนไหวของน้ำในทะเล หรือการเคลื่อนไหวเมื่อมีวัตถุตก ยังมีการเคลื่อนไหวในแบบอื่น อาทิ การไหลจากบนลงล่าง การกระทบลงหิน หรือการเทลงแก้วน้ำ โดยหลักการเพียงหนึ่งเดียวที่ต้องเข้าใจในการทำแอนิเมชั่นของเหลวนั้นคือการเข้าใจหลักการเคลื่อนไหวทางกายภาพที่สมจริงและแม่นยำ
Fluid Animation (การเคลื่อนไหวของเหลว)
การเคลื่อนไหวของเหลว (Fluid Animation) ถือเป็นสไตล์ที่ได้รับความสนใจเพราะสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน Animation และ Motion ได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างได้โดยใช้ After Effect
โดยการเคลื่อนไหวเหล่านี้จะแตกต่างจากการเคลื่อนไหวของน้ำ เนื่องจากจะใช้จินตนาการในการสร้างมันออกมา แต่ต้องอาศัยเทคนิคมากกว่า ทั้งการเชื่อมภาพ การเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้น
“หากเป็นการเคลื่อนไหวแบบง่ายสามารถสร้างสรรค์ได้ในโปรแกรม After Effects”
เริ่มแรกการใช้สีขาวในการสร้างเป็นระดับ Basic เพื่อให้เข้าใจกับการเคลื่อนไหว แต่หากมีการแต่งเติมสีเข้าไปด้วยจะเสริมความน่าสนใจได้มากขึ้น
วิธีการสร้าง Fluid Animation
โดยการสร้าง Fluid Animation อย่าง 2 รูปตัวอย่างข้างบนจะประกอบไปด้วยการทำงาน 2 ส่วน
- การทำ Fluid หรือ Liquid แยกออกมาด้วย After Affect (นาทีที่ 0.46)
- การนำ Fluid หรือ Liquid ที่สร้างมารวมกับวิดีโอที่เตรียมไว้ (นาทีที่ 4.12)
Wind Animation (การเคลื่อนไหวของลม)
ลม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า แต่สามารถแสดงออกมาได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ 1.การวาดด้วยเส้น เพื่อแสดงทิศทางของลม 2. การทำให้วัตถุที่โดนลมเคลื่อนไหว
สิ่งที่ควรทำความเข้าใจก่อนคือ ทิศทางของลม และวัตถุที่ถูกลมต้องเคลื่อนไหวแบบไหน อย่างเช่น ลมมาจากทางซ้าย วัตถุต้องเอียงไปทางขวา และโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบคือ After Effects
ยกตัวอย่าง การออกแบบผมที่ปลิวตามสายลม ซึ่งลมแรงและลมโชย ลักษณะของผมที่ปลิวจะต่างกัน ฉะนั้นการเริ่มทำต้องจินตนาการลูกบอลฝั่งตรงข้ามผลักกันไปมา

ในปัจจุบันมีโปรแกรมสร้างแอนิเมชั่นจำนวนมากไม่ว่าจะ Adobe Animate ,Cinema 4D , Adobe after effects, Blender หรืออื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการทำแอนิเมชั่นด้วยเทคนิคการวาดและนำมาต่อกันก็ยังได้รับความนิยม ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยในการสร้างแอนิเมชั่นให้ง่าย และอำนวยความสะดวก ทั้งนี้การสร้างแอนิเมชั่นจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตและจดจำลักษณะการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ เพื่อที่นำมาลงมือวาดลงในโปรแกรมให้ได้ภาพที่สมจริง