Sound editing vs Sound mixing

Sound editing vs Sound mixing

การที่ภาพยนต์สักหนึ่งเรื่องจะเล่าเรื่องและบรรยายเนื้อเรื่องออกมานั้น อาจจะต้องเริ่มต้นด้วยแนวคิดของหนังและตามด้วยบางสคริปต์ หลังจากนั้นใช้ความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนต์ทั้งผู้กำกับ นักแสดงและอื่นๆ แต่อีกเครื่องมือในหนังภาพยนต์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของหนังที่ขาดไม่ได้เลยคือเสียง ที่จะช่วยเล่าเรื่องราวให้ดีมากยิ่งขึ้น

เสียงในที่นี้คือเสียงที่เป็นทั้งเสียงบทสนทนาระหว่างตัวละคร เสียงเอฟเฟค เสียงเพลงประกอบ และเสียงอื่นๆอีกมากมาย การทำงานกับเสียงประกอบภาพยนต์นั้นจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่สูง มันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้อินกับหนังมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลเรื่องเสียงส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ Sound Editing และ Sound Mixing ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงกันว่าสองหน้าที่นี้แตกต่างและมีลักษณะในการทำงานกันอย่างไร

การทำเสียงสำหรับผลิตภาพยนต์โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นการเพิ่มเสียงภายหลังจากที่ถ่ายทำเกือบทั้งหมด โดยจะแบ่งหน้าที่ออกเป็นสองแบบคือการรวบรวมและสร้างเสียงเหล่านั้นคือ Sound Editing และหน้าที่ในการผสมเสียงคือ Sound Mixing นั้นเอง

Sound Editing

หน้าที่หลักๆคือการแก้ไขเสียง สร้างเสียง หรือการบันทึกเสียงซ้ำ เช่นเสียงฝีเท้า เสียงกระจกแตก ประตูกระแทกหรือเสียงเปิดประตูเป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ไม่มีอยู่บนโลกจริงๆคือเสียง Foley ลองดูตัวอย่างการทำงานของ Sound Editing ในหนังภาพยนต์เรื่อง A Quiet Place ซึ่งในหนังเรื่องนี้นั้นใช้เอฟเฟคสร้างเสียงขึ้นมาในหลายๆเสียงทั้งเสียงเท้ากำลังเดิน เสียงเอฟเฟคปีศาจ ฯลฯ หนังเรื่องนี้หากคุณเคยดูจะเป็นหนังที่มีเนื้อเรื่องเล่นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเสียง ดังนั้นเสียงที่สอดแทรกเข้ามานั้นจำเป็นต้องถูกออกแบบและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ความยากของการทำงาน Sound Editing นั้นคือจินตนาการเสียงที่ต้องการและไม่มีบนโลกและทำให้เสียงนั้นเกิดขึ้น เนื่องจากบางครั้งการทำภาพยนต์อาจมีฉากที่ต้องใช้เสียงประกอบที่อาจจะไม่ใช่เสียงที่เกิดขึ้นจริงๆเช่นเสียงซอมบี้ เสียงกระดูกหัก เสียงเคี้ยวที่ได้ยินเฉพาะผู้ที่กำลังกินอยู่เท่านั้น การสื่อสารเสียงเหล่านี้ออกมายังหน้าจอภาพยนต์จึงจำเป็นต้องใช้จินตนาการที่สูง

บทสนทนาในภาพยนต์หลายๆเรื่องก็ถูกบันทึกใหม่หลังถ่ายทำ เนื่องจากเสียงที่ถูกอัดขณะถ่ายทำอาจโดนเสียงอื่นรบกวนหรือมีคุณภาพไม่เพียงพอจะเป็นเสียงประกอบภาพยนต์ จึงจำเป็นต้องเพิ่มเสียงพากษ์เข้าไปในภายหลัง และถูกเรียกว่าเสียง ADR ซึ่งย่อมาจาก Automated Dialogue Replacement นอกไปจากนั้นจะมีเสียงประกอบอีกประเภทที่ถูกเรียกว่า ADR เช่นเดียวกันคือเสียงประกอบของตัวละคร ลองไปดูตัวอย่างการพากษ์เสียง Logan ของ Hugh Jackman ในวิดีโอด้านล่าง

Ambient Sound – เสียงสิ่งแวดล้อมรอบๆ เสียงบรรยากาศ เป็นเสียงที่มีอยู่ในฉากหรือซีนนั้นๆที่จำเป็นต้องมี จะเป็นเสียงฝน เสียงทะเล เสียงฝูงชน เสียงบนท้องถนน เป็นต้น ซึ่งการทำงานกับเสียงพวกนี้อาจเพิ่มเสียงพวกรายละเอียดเล็กน้อยๆเพิ่มเข้าไป มันมีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนภาพเช่นเดียวกับเสียงประเภทอื่นๆ ช่วยให้มีความรู้สึกร่วมกับภาพยนต์มากยิ่งขึ้น มีเทคนิคหนึ่งที่นักตัดต่อมักใช้ในการทำเสียงลักษณะนี้คือใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดฉากหรือเริ่มเข้าสู่ฉากใหม่อย่างไม่ให้รู้สึกขัดใจ โดยการใช้เสียง Ambient เล่นก่อนที่จะเปลี่ยนฉากเพื่อความต่อเนื่องของผู้ชม

Sound Effect – เป็นเสียงที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเสียงเหล่านั้นขึ้นมา โดยใช้สตูดิโอเพื่อสร้างเสียงประกอบเอฟเฟคระเบิด เอฟเฟคเครื่องบิน เสียงสายฟ้า ปืน หรือสงครามที่กำลังต่อสู้กัน เป็นต้น

Foley Sound – เสียงที่สร้างจากการอัดเสียงที่เกิดขึ้นจริงเพื่อนเลียแบบเสียงนั้นๆ หรือการใช้สิ่งของหลายๆสิ่งมาทำให้เกิดเสียง และจะรวมถึงเสียงที่ไม่มีอยู่จริงๆบนโลกแต่ถูกสร้างจากการผสมผสานเสียงหลายๆเสียงขึ้นมา และใช้จินตนาการเพื่อออกแบบเสียงเหล่านั้น ซึ่งเสียงที่เราทุกคนต่างรู้จักส่วนใหญ่ก็จะเป็นเสียงดาบ Lightsaber ของภาพยนต์เรื่อง Star wars ที่เกิดจากเสียงหลายๆเสียงมารวมกัน หรือนอกจากนั้นก็คือเสียงร้องของ Godzilla ที่สร้างออกมาและเป็นเอกลักษณ์ของภาพยนต์

SOUND MIXING

หลังจากที่สร้างเสียงเหล่านี้เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการถัดไปคือการรวมเสียง Sound Mixing เป็นกระบวนการรวมเสียง จับคู่เสียงจากเสียงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในภาพยนต์ ตั้งแต่บทพูด โฟลีย์ ไปจนถึงเสียงดนตรี หน้าที่ของ Sound Mixing ต้องปรับจูนเสียงทุกๆไฟล์เสียงให้เข้ากัน ปรับแต่งให้เสียงคมชัดและได้ยินในลักษณะที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน

ขั้นตอนเหล่านี้จะอยู่ในขั้นตอนของ Post-Production และเป็นการทำงานในห้องอัดและตัดต่อเป็นส่วนใหญ่ และมีการมอบรางวัลออสการ์ในสาขาเสียงประกอบภาพยนต์อีกด้วย ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเสียงเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญกับการสร้างภาพยนต์ส่งผลความรู้สึกร่วมกับภาพยนต์นั้นๆ ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับเนื้อเรื่องต่างๆ สร้างจินตนาการให้กับผู้ชมและยังสามารถใช้เป็นเทคนิคในการตัดต่อภาพยนต์แต่ละฉากให้ดูราบรื่นมากขึ้นได้อีกด้วย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.