คุณเคยสงสัยกันหรือไม่ ไม่ว่าจะในแอนิเมชั่นหรือภาพยนตร์ทำไมถึงมีฉากที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะพื้นหลังที่ดูอลังการ แรงระเบิดจากอาวุธ ปืน ควัน หรือแม้กระทั่งสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้สามารถเช็ทให้อยู่ในฉากเดียวหรืออาจจะเกิดขึ้นจากหลายเช็ท(ฉาก)และถูกนำมารวมกันภายหลัง การสร้างสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในฉากให้เกิดขึ้นเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของแผนกที่เรียกว่า Visual Effects Artist (VFX) ที่จะสร้างสรรค์สิ่งมหัสจรรย์เหล่านี้ขึ้นมา ฉะนั้นก่อนจะลงสู่เนื้อหาลึกถึงขั้นการสร้างเอฟเฟคเหล่านั้น อยากให้รู้จักกับคำศัพท์ 2 คำนี้ก่อน
ทำความรู้จัก 2 คำศัพท์
(Compositing, Green Screen)

Compositing
Compositing สามารถเรียกในชื่อภาษาไทยว่า การจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งคือกระบวนการหรือเทคนิคการรวมองค์ประกอบ(เลเยอร์)ที่มาจากแหล่งที่มาที่แยกกันมารวมกันภายใน 1 ฉาก หรืออาจเรียกว่าเป็นการสร้างภาพลวงตาขึ้นมาเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจว่าทั้งหมดเกิดขึ้นในฉากเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้การ Composit เป็นขั้นตอนที่สำคัญและช่วยให้การสร้างสรรค์ผลงานในตอนสุดท้ายมีความสมบูรณ์ เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทั้งความรู้และความเข้าใจในการรวมกันของภาพอย่างถูกต้อง และ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงาน
จุดเริ่มต้นของการ Compositing
การจัดรวมองค์ประกอบเกิดขึ้นครั้งแรกกับการสร้างภาพยนตร์ในปี 1857 โดย Oscar G. Rejlander ที่นำภาพฟิล์มที่ถูกบันทึกมาซ้อนทับกันและฉายบนจอ เทคนิคพื้นฐานทั้งหมดที่ใช้ในยุคนี้ถูกนำมาใช้และนำมาใช้ในโลกดิจิทัล หลังจากที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นการจัดองค์ประกอบภาพ (Compositing) ก็จะมีเทคนิคและสมจริงมากขึ้น


โปรแกรมที่มักถูกเลือกใช้
มีโปรแกรมตัวหนึ่งที่โดดเด่นที่สุดในการรวม Compositing ที่เป็นประโยชน์และมีความซับซ้อนที่เรียกว่า Nuke ซึ่งผลิตโดย The Foundry มีความสามารถในการเชื่อมจุดต่อต่าง ๆ แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือสตูดิโอที่ต้องการความซับซ้อนก็สามารถใช้โปรแกรมอื่น ๆ อย่าง Adobe After Effects หรือ Fusion ได้



มีซอฟต์แวร์หนึ่งชิ้นที่โดดเด่นที่สุด เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์และค่อนข้างซับซ้อนที่เรียกว่า Nuke ซึ่งผลิตโดย The Foundry มันมีอินเทอร์เฟซที่ปรับแต่งได้และปรับค่าสีต่าง ๆ ได้ สำหรับสตูดิโอขนาดเล็กและฟรีแลนซ์ มักจะถูกกว่ามากในการทำคอมโพสิตใน Adobe After Effects หรือ Fusion ขั้นตอนการทำงานของซอฟต์แวร์นี้มีความแตกต่างกันมากมาย แต่เราอาจจะพูดถึงมันในภายหลัง
การเรียบเรียงฉาก
การเรียบเรียงฉากในที่นี้หมายถึงการนำการ องค์ประกอบหนึ่งมาวางไว้บนอีกองค์ประกอบหนึ่ง หรือการรวมให้เป็นหนึ่งฉาก
มีองค์ประกอบที่เรียกว่า A และ B ขยายความได้ว่า การนำภาพ A มาซ้อนทับบนภาพ B โดยอาศัยเทคนิคและกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค Rotoscoping คือการสร้างภาพแอนิเมชันที่วาดตามภาพต้นฉบับเฟรมต่อเฟรมเพื่อสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันออกมา เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เก่าแก่ และนิยมใช้ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ปัจจุบันที่เรามักบนเห็นมีปรากฏอยู่บนโฆษณา หรือมิวสิคเพลงต่าง ๆ
หรือเทคนิคที่ 2 ที่มีการใช้ที่นิยมใช้เช่นกัน คือการใช้พื้นหลังเขียว (Green Screen) หรือ พื้นหลังสีน้ำเงินไว้ข้างหลังวัตถุที่ต้องการ และคุณสามารถในคีย์เพื่อตัดสีดังกล่าวออกได้ เพียงแค่นี้ก็จะเหลือเพียงวัตถุและนำไปใช้กับพื้นหลังใดก็ได้ อีกกรณีสามารถใช้พื้นหลังเขียวในกรณีที่ต้องการเติมฉากอื่นเข้าไปแทน


ข้อสำคัญสำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ (Compositing)

สำหรับผู้ตัดต่อหรือการสร้างแอนิเมชั่นนั้นการทราบเทคนิค การรู้จักแสง เงา หรือ การจับคู่การเคลื่อนไหวขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้เข้าคู่กัน การนำวัตถุที่ไม่ต้องการออกจากฉาก เช่น สายไฟ สายเคเบิล อีกส่วนที่สำคัญของการจัดองค์ประกอบภาพคือความใส่ใจในรายละเอียด การจับคู่สีต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
ส่วนคำศัพท์ขั้นตอนการทำ Compositing ในแอนิเมชั่น 3D ได้แก่ Modeling, Rigging, Animation, Texturing, Lighting และ Rendering


Green Screen

เทคนิคนี้เรียกอีกอย่างว่าการใช้คีย์สี (colour keying) มักใช้พื้นหลังสีเขียวและสีน้ำเงิน เนื่องจากมีเฉดสีที่แตกต่างจากสีผิวของมนุษย์หรือตัวละคร ไม่มีส่วนใดของวัตถุที่กำลังถ่ายทำหรือถ่ายภาพซ้ำกับสีที่ใช้เป็นพื้นหลัง หรือสรุปง่าย ๆ คือการถ่ายทำตัวละครหรือวัตถุบนพื้นหลังสีเขียว และนำพื้นหลังออกด้วยโปรแกรมหรือที่เรียกว่า keying out จากนั้นนำตัวละครแบบโปร่งพื้นหลังไปใช้ต่อ หรือรวมในขั้นตอน Compositing
การถ่าย Green Screen มีหลายแบบ เช่น ถ่ายเพื่อแยกคนหรือวัตถุออกจากพื้นหลัง หรือถ่ายฉากมุมกว้างเพื่อทำ CGI มาประกอบเป็นฉากที่ใหญ่ขึ้น
ข้อสำคัญสำหรับการใช้ Green Screen
1.การให้แสงกับวัตถุ กล่าวคือ การที่เรากำหนดให้แสงมาจากทางซ้าย แต่คุณเซ็ทไฟจากทางขวา ทั้งสองจะดูขัดแย้งและไปด้วยกันไม่ได้
2. พื้นที่ระหว่างวัตถุกับพื้นหลังสีเขียว กล่าวคือ การรักษาตัวละครให้ห่างจากตอเขียวให้มากที่สุด เนื่องจากจะช่วยให้การเลืยนแสงในพื้นหลังใหม่ได้อย่างแม่นยำ และช่วยป้องกันไม่ให้โทนสีเขียวหลุดเข้าไปที่ตัวละครหรือกระทบองค์กระกอบอื่น ๆ ระยะห่างที่แนะนำ 10 ถึง 15 ฟุต หรือ 3 ถึง 5 เมตร

3. พื้นหลังที่เรียบเนียน : ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบคือพื้นหลังสีเขียวที่ไม่เรียบ ไม่ขึงตรึง เพราะจะเป็นปัญหาตอนการนำสีออก เนื่องจากรอบยับ หรือ รอยคลื่น จะทำให้การคีย์สีออกไม่หมด

_______________________________________________________________________________________
การใช้ Green Screen ถูกยกมาใช้ในปัจจุบันมากขึ้นทั้งทางภาพยนตร์ แอนิเมชั่น และรายการทีวีต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยซอฟแวร์ โปรแกรมต่าง ๆ เข้าช่วยให้การนำสีพื้นหลังออก และในบางงานนำกระบวนการ Compositing เข้ามาร่วมด้วยเพื่อสร้างภาพยนตร์และแอนิเมชั่นที่ตื่นตาตื่นใจ แต่ขั้นตอนต่าง ๆ การใช้งานโปรแกรมเหล่านี้เป็นความรู้เฉพาะด้านที่มักพบในผู้สร้างแอนิเมชั่น หรือ Visual Effects Artist (VFX) และแผนกที่เกี่ยวข้อง