Film Scoring คืออะไร?

Film Scoring?

Flim Score คือ เพลงประกอบภาพยนต์ โดยจะถูกแต่งโดยนักแต่งเพลงหรือผู้ผลิตเพลงและมีเนื้อหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาพยนต์เรื่องนั้นๆ โดยเพลงประกอบภาพยนต์นั้นจะช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับผู้ชม โดยสามารถนำไปใช้ได้ทั้งประกอบภาพยนต์ ประกอบโฆษณาหรือประกอบฉากต่างๆ เพลงลักษณะเหล่านี้มีถูกสร้างขึ้นจากนักแต่งเพลง นักเขียนเพลง หรือใช้วงดนตรีในการสร้างสรรค์เพลงขึ้นมาเช่นวง Orchestra ประกอบกับเทคนิคทางด้านซอฟต์แวร์ที่ไว้ใช้ผลิตเพลงในขั้นตอน Sound mix นั้นเอง

การสร้างเพลงประกอบภาพยนต์นั้นมักมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายตำแหน่งดังนี้

1.The Orchestrator : ผู้เรียบเรียง หรือนักแต่งเพลง ภาพยนต์บางเรื่องมีนักแต่งเพลงโดยเฉพาะ แต่หลายๆเรื่องก็จ้างบุคคลภายนอกในการสร้างสรรค์เพลงขึ้นมา

2.The music editor : บรรณาธิการเพลง เป็นเสมือนผู้ที่คอยจัดการสร้างสรรค์เพลง คอยสลับปรับเปลี่ยนบทเพลงหรือทำนองที่เกิดขึ้นและจับให้อยู่ในตำแหน่งที่ควรมากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้ว บรรณาธิการจะใช้คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์เป็นเครื่องมือในการทำงานเป็นหลัก

3.The music supervisor : ผู้ควบคุมงานดนตรี มีหน้าที่คอยจัดหาเพลงที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อภาพยนต์เรื่องนั้นๆโดยเฉพาะ อาจเป็นเพลงยอดนิยมที่มีอยู่แล้วหรือเคยสร้างมาเมื่อนานมาแล้วก็ได้ ซึ่งคุณอาจจะเคยเห็นหนังภาพยนต์หลายๆเรื่องที่ใช้บทเพลงเก่ามาสร้างเพลงประกอบภาพยนต์จนทำให้เพลงนั้นๆกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง

4.The producer : เช่นเดียวกับโปรดิวเซอร์ของภาพยนต์ที่มีหน้าที่คอยกำกับดูแลการบันทึกเสียง การสร้างเสียงหรือจัดสรรหาเสียงมาประกอบภาพยนต์เรื่องนั้นๆ โดยส่วนมากแล้วนักแต่งเพลงเองจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่โปรดิเซอร์

5.Copyists : ผู้คัดลอกเสียง มีหน้าที่หลักๆในการผลิตเสียงที่ถูกสร้างสรรค์มาและรวบรวมออกมาเป็นแทร็กเสียงนั่นเอง

6.Performers : ผู้เล่น/แสดงบทเพลง นักเล่นดนตรีที่เป็นหน้าที่สุดท้ายในงานสร้างเสียงดนตรีหรือเพลงประกอบภาพยนต์

5 เคล็ดลับในการสร้างสรรค์บทเพลงประกอบภาพยนต์ที่อุตสาหกรรมหนังฮอลีวูดใช้

1.เริ่มต้นด้วยการสร้างสรรค์ท่วงทำนองง่ายๆ สร้างธีมของบทเพลงที่จะคอยบอกเล่าเรื่องราวไปในทิศทางเดียวกันกับภาพยนต์ที่ผู้กำกับเรื่องนั้นๆต้องการจะเล่า

2.เขียนบรรยาย การเขียนบรรยายที่ยึดติดกับเรื่องราวของภาพยนต์จะช่วยให้สามารถแต่งเพลงหรือสร้างสรรค์เพลงออกมาในทิศทางที่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่แล้วนักแต่งเพลงจะคลุกคลีอยู่กับแนวคิดของผู้กำกับ บทละครภาพยนต์เพื่อให้ได้ความรู้สึกที่ตรงกับความต้องการของภาพยนต์เรื่องนั้นๆมากที่สุด

3.มองให้ครอบคลุมทั้งหมดในจานเสียง คอลเลคชั่นเสียง และเครื่องดนตรีทั้งหมดที่คุณจะใช้ในการสร้างสรรค์เพลง เป็นเหมือนกับการดูภาพรวมขององค์ประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเพลงให้สอดคล้องกับแนวทางการเล่าเรื่องของภาพยนต์ และจังหวะในการตัดต่อก็มีส่วนสำคัญในการออกแบบเพลงนั้นๆเช่นกัน

4.ให้ความสำคัญกับบทบาทของนักแต่งเพลง คอยทำงานร่วมกับผู้กำกับแต่ไม่ใช่การทำงานตามความคิดของผู้กำกับไม่เช่นนั้นผลงานที่ออกมาจะไม่ตอบโจทย์กับความต้องการในเชิงของด้านเพลง เคารพการตัดสินใจของนักประพันธ์เพลง

5.เป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดคือการสร้างสรรค์เพลงขึ้นมาให้อยู่ในงบประมาณที่มี ซึ่งทีมผู้จัดทำจะจัดสรรงบประมาณออกมาให้กับการสร้างเพลงประกอบภาพยนต์ การทำงานให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่ถูกจัดสรรนั้นเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกับการทำงานในตำแหน่งอื่นๆ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.