ทำความรู้จักกับคำว่า Live Action ก่อน
Live Action เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกภาพยนตร์ที่คนแสดงโดยสร้างหรือได้แรงบันดาลใจมาจากแอนิเมชั่น การ์ตูน หรือแม้กระทั่งมังงะ ตัวอย่างเช่น แอนิเมชั่นเรื่อง Aladdin ที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2562
แล้ว Live Action กับแอนิเมชั่นสัมพันธ์กันยังไง?
นอกจาก Live Action จะเป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากแอนิเมชั่นยังมีอีกคำศัพย์ที่เรียกว่า Live-Action animated film ซึ่งมีความหมายถึง ภาพยนตร์ที่ผสมผสาน Live Action และแอนิเมชั่นเข้าด้วยกัน ซึ่งในภาพยนตร์นั้นจะมีทั้งคนแสดงและแอนิเมชั่นที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า CG หรือ Stop Motion แล้วตัวละครที่ถูกสมมติขึ้นมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ Space Jam (1996) หรือ Scooby-Doo หรือ The SpongeBob SquarePants
มีการใช้นักแสงที่เป็นตัวละครหลัก ไมเคิล จอร์แดน พร้อมกับเพื่อน ๆ ที่มาจากโลกการ์ตูนที่มากจาก ลูนี่ตูนส์ (Looney Tunes)
Scooby-Doo เปิดตัวเป็นการ์ตูนเมื่อช่วงปี 2000 โดยใช้สุนัทแอนิเมชั่นแทนสุนัขจริง

The SpongeBob SquarePants (2004) มีฉากที่เป็น Live Action ที่ประกอบอยู่ข้างในตัวเรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นฉากที่ SpongeBob และ Patrick มีปฏิสัมพันธ์กับ David Hasselhoff ตัวจริง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของ Live-Action animated film ที่ถูกสร้างขึ้นมาเ่านั้น สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ > Yardbarker
เอฟเฟกต์ 2 มิติที่จะพบในแอนิเมชั่นประเภทนี้
ขอเกริ่นก่อนว่าเอฟเฟกต์ที่จะเห็นดังต่อไปนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในแอนิเมชั่นที่ใช้ตัวการ์ตูนแบบ 2 มิติเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเปิดขึ้นกับตัวการ์ตูนเหล่านั้นแทน
เอฟเฟกต์ 2 มิติ หรือ 2D Effect
เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวในพื้นที่ 2 มิติ ภาพวาดแต่ละภาพถูกจัดลำดับเข้าด้วยกันเมื่อเวลาผ่านไป โดยปกติ 1 วินาทีของเวลาจะแบ่งออกเป็น 24 เฟรม ขึ้นอยู่กับสไตล์ของแอนิเมชั่น อาจมีภาพวาดที่ไม่ซ้ำกันมากถึง 24 รูปในแอนิเมชั่นหนึ่งวินาที
ควัน
กลุ่มควันเป็นเอฟเฟกต์ที่เรามักพบเห็นโดยทั่วไปในแอนิมชั่น ไม่ว่าจะเป็นควันจากยานพาหนะ ควันจากการเปาใหม่ หรือควันการถูกพุ่งชนอย่างตัวอย่างที่ยกมา



ระเบิดหรือไฟไหม้
เอฟเฟกต์ระเบิดหรือไฟไหม้ ก็เป็นอีกหนึ่งเอฟเฟกต์ที่ยกมาใช้ในแอนิเมชั่น Live Action หรือเราก็มักพบในแอนิเมชั่นโดยทั่วไปอยู่แล้ว โดยจะเป็นกลุ่มควันสีแดง ส้ม ปรากฏอยู่บนกลุ่มควัน

แสงเลเซอร์
แสงเลเซอร์ ไฟฟ้าช็อต หรือ แสงไฟ ก็อีกหนึ่งในเอฟเฟกต์ที่พบในแอนิเมชั่นจำพวกต่อสู้ อวกาศ หรือสิทยาศาสตร์ ซึ่งเอฟเฟกต์ประเภทนี้มักจะถูกสร้างจากโปรแกรม After effect



นี่เป็นเพียง 3 ตัวอย่างของเอฟเฟค์ที่ยกขึ้นมาพูดในบทความนี้เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการเส้นเอฟเฟกต์กับกรอบของแอนิเมชั่น เอฟเฟกต์เกี่ยวกับสภาพอากาศ ลม ฝน ก็มีให้เห็นประปรายในภาพยนตร์จำพวกนี้