สำหรับผู้ที่ทำการส่งออกไม่ว่าบริษัทส่งออก บริษัทขนส่ง หรือผู้ที่ส่งออกสินค้าด้วยตัวเองนั้นต้องรู้จักท่าเรือของประเทศไทยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นท่าเรือที่ใช้สำหรับสำหรับขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ข้ามทะเล เพื่อนำไปอีกจุดหมายปลายหนึ่ง โดยปกติแล้วการขนย้ายตู้เทนเนอร์ต้องใช้เรือที่มีความเฉพาะและมีเครนที่ใช้สำหรับการขนย้ายตู้ และการขนส่งทางเรืออาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป อย่างการขนส่งสินค้าทางเรือจากไทยไปอเมริกาจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 อาทิตย์

ประวัติท่าเรือแหลมฉบัง
- ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
- สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เลขที่ 919 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
- หมายเลขโทรศัพท์ 038-407777 โทรสาร : 038-407702 email : 71000000@customs.go.th
ท่าเรือแหลมฉบัง หรือ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 130 กิโลเมตร มีพื้นที่ขนาด 6,340 ไร่ อยู่ภายใต้การดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในเรื่องการบริหารท่าเรือโดยรวม และมีเอกชนรับผิดชอบในเรื่องปฏิบัติการ (ด้วยการเปิดให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในการบริหารการปฏิบัติการของท่าเทียบเรือในแต่ละแห่ง | หรือที่เรียกว่า Landlord Port)
ท่าเรือแหลมฉบัง เปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ B1 เป็นท่าแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) และได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้เป็นท่าเรือหลักแทนท่าเรือกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ.1996) ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) มีปริมาณขนถ่ายสินค้าทั้งสิ้น 4,629,244.70 เมตริกตัน มีปริมาณเรือเทียบท่ากว่า 8,118 ลำ
*เมตริกตัน มีอัตราเท่ากับ 1,000 กิโลกรัม
ท่าเรือแหลมฉบังยังเป็นท่าเรือชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งมีการเติบโตอย่างมาก และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาค โดยสามารถแบ่งการพัฒนาเป็น 3 เฟสได้แก่
เฟส 1: ปี 1987-1998 (พ.ศ. 2530 – พ.ศ.2541)
การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 1987 และในปี 1991 ได้เริ่มเปิดให้ปฏิบัติการอย่างเป็นทางการใน 2 ท่าเทียบเรือแรกคือ ท่าเทียบเรือ B1 และ B3 และก่อสร้างท่าเทียบเรือเพิ่มเติมอีกจำนวน 9 แห่ง (แอ่งจอดเรือ 1 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือจำนวน 11 แห่ง)
- แอ่งจอดเรือ 1 มีความลึก 14 เมตร สามารถรองรับเรือขนาด 6,500 ทีอียู
- ท่าเทียบเรือสำหรับตู้สินค้าจำนวน 7 ท่า ได้แก่ A2, A3, B1, B2, B3, B4 และ B5
- ท่าเทียบเรือโดยสาร คือ A1
- ท่าเทียบเรือสำหรับสินค้าทั่วไป คือ A4
- ท่าเทียบเรือสำหรับสินค้ายานยนต์ คือ A5
- และมีบริการจัดการยกขนสินค้า คลังสินค้าและการกระจายสินค้า บริการเรือนำร่อง บริการบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ และการซ่อมบำรุงรักษาเรือ
เฟส 2: ปี 1998-2008 (พ.ศ. 2541 – พ.ศ.2551)
การก่อสร้างเฟสที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในปี 1998 ด้วยการพัฒนาแอ่งจอดเรือ 2 เพื่อสนับสนุนการเติมโตและปริมาณของตู้สินค้า มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเดินเรือระหว่างประเทศ
- แอ่งจอดเรือ 2 มีความลึก 16 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ได้ (ประกอบไปด้วยท่าเทียบเรือ 6 แห่ง)
- ท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้าจำนวน 6 ท่า ได้แก่ C1, C2, C3, D1, D2, และ D3
- ท่าเทียบเรือสำหรับสินค้าทั่วไป คือ C0
- บริการด้านอื่นๆ ด้วย เช่น สถานีตรวจและบรรจุตู้สินค้า (CFS) และการพัฒนาเส้นทางให้เชื่อมต่อกับทางหลวงสายหลักของประเทศเพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่อื่นๆ
เฟส 3: ปี 2011-2022 (พ.ศ. 2554 – พ.ศ.2565)
เฟสที่ 3 โดยมีเป้าหมายคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเน้นย้ำถึงจุดยืนการเป็นเกตเวย์หลักในภูมิภาค การเป็นศูนย์กลางทางการค้า และส่งเสริมโอกาสในการลงทุนในของไทย
- ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะออกแบบเป็นรูปตัว U มีขนาดความกว้าง 800 ขนาดความยาว 2,000 เมตร ความลึก 18 เมตร
- สามารถรองรับเรือขนาด Super-Post Panamax
- ร้อมพื้นที่ระวางสินค้าขนาดมากกว่า 10,000 ทีอียู
- ท่าเรือสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ 8 ล้านทีอียู
- (กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาคาดว่าจะเปิดให้เทียบท่าในปี 2568 ) รายละเอียดโครงการ
ข้อมูลจาก : hutchisonports.co.th

นอกจากนี้ท่าเรือแหลมฉบังยังเป็นท่าเรือที่นำนักท่องเที่ยวไปต่างประเทศโดยเรือสำราญ ตั้งอยู่ที่ ท่าเทียบเรือ A1 ดำเนินการโดยบริษัท เอ็น วาย เค ออโต้ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ตัวอย่างเส้นทาง :
- ท่าเรือแหลมฉบังไปประเทศกัมพูชา
- ท่าเรือแหลมฉบังแวะเกาะสมุยสิ้นสุดที่ประเทศสิงคโปร์
- ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังท่าเรือฟูมาย เมืองนครโฮจิมินห์ ไปยังเมืองดานัง เมืองเซินเจิ้น และสิ้นสุดที่ฮ่องกง
ข้อได้เปรียบของท่าเรือแหลมฉบัง

ลักษณะที่ตั้งของประเทศไทยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ซึ่งได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย และยังสามารถติดต่อกับประเทศใกล้เคียงอย่าง จีนตอนใต้ เวียดนาม ท่าเรือแหลมฉบังมีลักษณะเป็นหน้าด่านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข้อได้เปรียบของพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง จึงสามารถพัฒนาให้เป็น Gateway Port ได้
นอกจากนี้ยังมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก สามารถรับเรือขนาดใหญ่ที่สุด (Post Panamax) ได้ รวมทั้งมีพื้นที่สนับสนุน (Supporting Areas) สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ มีระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางถนน รถไฟ และทางน้ำ เข้า-ออก ทลฉ. เชื่อมโยงกับภาคต่างๆ ของประเทศ และกับประเทศเพื่อนบ้านได้ดี
