ฉลากเขียว Thai green label
ในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นจากองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2536 หลังจากนั้นได้รับความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นๆอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง
เป็นการร่วมมือระหว่างส่วนราชการและองค์กรกลางต่างๆ โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณท์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นเลขาฯ
ฉลากเขียว นั้นเกิดขึ้นเพื่อ เป็นหน่วยงานอิสระที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- มีความเป็นกลาง เชื่อถือได้ เป็นระบบและโปร่งใส
- คอยดูแลควบคุมคุณภาพสินค้าทางด้านสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้น
สินค้าที่เป็น สินค้าสีเขียว ทีมีจำหน่ายทั่วๆไปในท้องตลาดปัจจุบันนั้นเกิดจาการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายโดยอิสระเท่านั้น
แนวคิด
- เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดของคณะกรรมการนโยบายและบริหารฉลากเขียวได้ใช้
- เป็นการสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบกับสังคม
- ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและกระตุ้นการใช้งานสินค้าที่เป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค โดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
- กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิต
- กระตุ้นให้รัฐและเอกชน ร่วมกับฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาผลภาวะ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
วัตถุประสงค์
มีที่มากจากความคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
- ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวม
- ให้ข้อมูลที่เป็นกลางกับผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
- ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการผลิตที่สะาอด กระทบสิ่งแวดล้อมน้อย
ขั้นตอนการสมัครและอัตราค่าธรรมเนียมการรับรองฉลากเขียว
ขั้นตอนการสมัครขอรับการรับรองฉลากเขียวและอัตราค่าธรรมเนียมการรับรองผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ยื่นขอตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
- อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจสอบเอกสารและรับคำขอ
- อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินสถานประกอบการ
- ค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
สามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่ลิงก์ : ฉลากเขียว (tei.or.th)
เกณฑ์พิจารณา
- ผลิตภัณฑ์ที่ขอการรับรองต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. โรงงานทำระบบ ISO14001 / ISO 9001 ออกโดยหน่วยรับรองที่อยู่ภายใต้การยอมรับของ IAF
- ต้องไม่มีสารฟอสโฟยิปซั่ม(Phosphogypsum) แร่ใยหิน และโลหะหนักต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
- การยื่นขอ การติดต่อประสานงาน การตรวจประเมิน ให้ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก
ค่าใช้จ่ายในการยื่นสมัครและการเข้าตรวจโรงงาน
- กรณียื่นขอรับการรับรองผลิตภัณฑ์ใหม่ 5,000 บาท ต่อครั้งต่อผลิตภัณฑ์
- กรณีขอขยายขอบข่าย 3,000 บาท ต่อครั้งต่อผลิตภัณฑ์
- ค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าตรวจประเมินครั้งแรกและค่าธรรมเนียมการควบคุมการทดสอบ 15,000 บาท/ครั้ง/วัน *หากมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นเช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ในส่วนนี้จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ยื่นคำขอ
- ค่าธรรมเนียมการรับรองฉลากเขียว
- อายุการรับรอง 1 ปี รุ่นแรก 40,000-/เครื่องหมายการค้า/รุ่น/ประเภท รุ่นสองเป็นต้นไป 8000-/เครื่องหมายการค้า/รุ่น/ประเภท
- อายุการรับรอง 3 ปี รุ่นแรก 80,000-/เครื่องหมายการค้า/รุ่น/ประเภท รุ่นสองเป็นต้นไป 24,000-/เครื่องหมายการค้า/รุ่น/ประเภท