เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้มั่นใจว่าการทำงานและการดำเนินการได้ปฎิบัติตามมาตรฐานมีคุณภาพแน่นอน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะสามารถประเมินได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จะเป็นกระบวนการที่เป็นระบบคอยพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆตรงตามข้อกำหนดหรือไม่
วัตถุประสงค์ของ QA
ถูกออกแบบและกำหนดมาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทหรือองค์กร และในขณะเดียวกันก็คอยปรับปรุงกระบวนการการทำงานและให้บริษัทสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
ISO (International Organization for Standardization)
ISO เป็นองค์การระหว่างประเทศที่คอยควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับ QA คอยผลักดันแผนกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินการ QA มักจะถูกจับคู่กับมาตรฐานสากลที่อาจจะคุ้นหูกันดี ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่บริษัทหลายๆบริษัทใช้เพื่อให้แน่ใจกับการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน QA มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา มาตรฐาน ISO จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้มีความสอดค้ลองกับธุรกิจในปัจจุบัน
QA เริ่มต้นแล้วมาจากแนวคิดที่เป็นทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมการผลิตก่อนและพัฒนาแพร่หลายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆภายหลัง
ความสำคัญของ QA
QA หรือการประกันคุณภาพนั้นจะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตรงตามความต้องการ ตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้า จะสามารถช่วยสร้างความไว้วางใจและความภักดีให้กับลูกค้า นอกไปจากนั้นที่สำคัญที่สุดคือช่วยปกป้องข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเกิดขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินงาน QA
Failure testing การทดสอบความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ : จะเป็นขั้นตอนการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีส่วนชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ โดยการทดสอบจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดสอบผ่านความร้อน ความดัน หรือการสั่นสะเทือนก็ต้องทดสอบถามสภาพ
Statistical process control (SPC) การควบคุมกระบวนการทางสถิติ : เป็นวิธีที่ใช้ข้อมูลสถิติในการอ้างอิง วิเคราะห์ จัดการและควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์
Total quality management (TQM) การจัดการคุณภาพโดยใช้วิธีเชิงปริมาณ : อาศัยข้อเท็จจริง ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการวางแผนผลิตภัณฑ์และตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
SQA Software quality assurance เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่คอยช่วยเหลือนักพัฒนาเพื่อหลีกเลี้ยงข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ตรวจสอบโดยข้อบกพร่องที่ถูกเรียกว่า Bug นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น CMMI (Capability Maturity Model Integration) แบบจำลอง SQA ที่เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพ ที่คอยจัดระเบียบข้อมูล