Quality Control (QC) คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

  • by

ไม่ว่าจะบริษัทหรือโรงงานทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องทำความรู้จักกับระบบนี้ เพราะเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ ประเมินผลงานการผลิตให้มีคุณภาพ ซึ่งกระบวนการจะแตกต่างกับไปในแต่ละที่ ในบทความนี้จะอธิบายทั้งความหมายและความสำคัญของระบบนี้กัน

Quality Control (QC) for factory

Quality Control (QC) คืออะไร?

Quality Control (QC)

QC หรือ Quality Control หรือเรียกในชื่อภาษาไทยว่า การควบคุมคุณภาพ เป็นกระบวนการที่ธุรกิจพยายามทำให้แน่ใจว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะได้รับการตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุง หรือหมายที่เข้าใจง่าย ๆ คือการตรวจสอบสินค้าในระหว่างการผลิตทุกขั้นตอน หรือบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่วางแผนไว้ ทั้งในด้าน ด้านคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Quantity) ซึ่งการควบคุมคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพหรือ QA (Quality Assurance)

  • โดยการควบคุมคุณภาพมักใช้ในธุรกิจที่ผลิตผลิตภัณฑ์หรืออุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก และมีเทคนิคหลากหลายแบบในการวัดคุณภาพ
  • การควบคุมคุณภาพสร้างมาตรการที่ปลอดภัยให้สามารถนำไปใช้ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องหรือเสียหายจะไม่จบลงที่ลูกค้า

วัตถุประสงค์ของ Quality Control (QC)

Quality Control (QC) in factory

วัตถุประสงค์ของการทดสอบคือเพื่อกำหนดความต้องการสำหรับการดำเนินการแก้ไขในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพที่ดีช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

หน้าที่ของ Quality Control (QC)

หน้าที่ของ Quality Control (QC)

ในขณะที่ QA (Quality Assurance) เป็นคนวางแผนการทำงาน QC จะเป็นฝ่ายที่ปฎิบัติที่จะตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ และอย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า การทดสอบคุณภาพเกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต มักเริ่มต้นด้วยการทดสอบวัตถุดิบ ดึงอย่างจากสายผลิตมาทดสอบ ทดสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

**การทดสอบในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตจะช่วยระบุตำแหน่งที่เกิดปัญหาในการผลิตและขั้นตอนการแก้ไขที่จำเป็นสำหรับการป้องกันในอนาคต

ขั้นตอนการ QC

โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอนการตรวรก่อน ระหว่าง และหลังผลิตดังนี้

1.ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (RAW MATERIAL)

คือ การตรวจวัตถุดิบทุกตัวที่จะนำมาใช้ในขั้นตอนการผลิต จะต้องมี Certificate of Analysis ของแต่ละตัว โดยต้องทราบข้อมูลของผู้นำเข้า และผู้ขาย และเมื่อทำการ QC จะเป็นการตรวจแบบสุ่มชิ้น

2.ตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (PACKAGING)

Packaging ใช้หลักการสุ่มแผนการชักตัวอย่าง เพื่อมาตรวจสอบ

3.ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ (BULK)

ในกรณีที่เป็นอาหารหรือเครื่องสำอางค์มักจะการตรวจสอบในหัวข้อนี้ ซึ่งจแบ่งเป็น 2 หัวข้อได้แก่

  • Physical Chemical Testing การทดสอบทางกายภาพและทางเคมีของเนื้อผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย Appearance (ลักษณะภายนอก) , Color (สี) , Odor (กลิ่น) , pH (ความเป็นกรด ด่าง) , Viscosity (ความข้นของเนื้อผลิตภัณฑ์)
  • Microbiology Testing คือ การทดสอบเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อก่อโรคต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องสำอางค์

4.ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการสุ่มตรวจตามไลน์การผลิต เช่น การสุ่มตรวจก่อนเริ่มไลน์ผลิต 10 ชิ้นแรก หรือ ทุกชั่วโมง หรือจะเป็นการตรวจสติกเกอร์ การใส่กล่อง เพื่อป้องกันการผิดพลาดขณะทำงาน

5.ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FINISH GOOD)

การควบคุมคุณภาพ (QC) จะทำการสุ่มตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จรูปแล้วนั้น ตรงตามมาตรฐานหรือไม่ โดยสุ่มตามแผนการชักตัวอย่างออก เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกไปสู่ตลาดนั้น มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และตรงตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ


ประโยชน์ของการควบคุมคุณภาพ (QC)

ขั้นตอนการผลิต

การใช้ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพจะช่วยให้แน่ใจว่าคุณขายผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า นอกจากนี้ การฝึกควบคุมคุณภาพยังส่งดีต่อความประพฤติของพนักงาน สร้างแรงบัลดาลใจให้พนักงานสร้างสินค้าที่มีคุณภาพและนำไปสู่ความพอใจของลูกค้า

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.