Quality Assurance Process

Quality Assurance Process

หลักการภาพรวมของ QA Process

หลักการนี้มักถูกใช้ในการสร้างแผนการ QA เกือบจะทุกครั้ง และเป็นหลักการที่ใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามการตรวจ QA ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ในขั้นตอนบางขั้นจะมีการทำซ้ำเพื่อให้แต่ใจว่ากระบวนการที่ตามในการดำเนินงานจะได้รับการประเมินอย่างถูกต้องและถูกปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

PLAN : องค์กรควรวางแผนและสร้างวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและการกำหนดกระบวนการที่จะเป็นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์จนถึงขั้นสุดท้าย เช่นการคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าในทุกๆด้านเพื่อกำหนดแผนออกมาอย่างชัดเจนที่สุด

DO : การพัฒนาและทดสอบ

CHECK : การตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการตรวจสอบ ความแม่นยำในการทดสอบ ตรวจสอบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

ACT : QA ต้องดำเนินการที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทดสอบนั้นๆ เช่นหากสินค้ามีปัญหาต้องเสาะหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขในกระบวนการต่อไป

QA Process ในลักษณะขั้นตอนการทดสอบโดย Software เราขอยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ The Software Testing Life Cycle model (STLC) มาอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพเกี่ยวกับกระบวนการในการ QA

The Software Testing Life Cycle model (STLC) จะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ตามภาพข้างต้น

Requirement analysis

ขั้นตอนแรกของการทำ QA สำหรับในขั้นตอนนี้ผู้ทดสอบหรือผู้ควบคุม QA จะตรวจสอบข้อกำหนดที่จะใช้ในการทดลองผ่านซอฟต์แวร์ โดยจะต้องจัดการกับข้อกำหนดที่ผิดพลาดและไม่ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มการ QA

Test planning

สำหรับในขั้นตอนนี้ จะเป็นขั้นตอนการพัฒนากลยุทธ์ การระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และรวมถึงเป็นขั้นตอนที่ต้องเลือกเครื่องมือสำหรับการทดสอบ หากมีทีม QA ก็จะเป็นขั้นตอนของการกำหนดบทบาทหน้าที่ภายในทีม

Test case development

สร้างและเขียนขั้นตอนการทดสอบของโครงการนั้นๆ สร้างความคุ้นเคยกับโปรแกรมการตรวจสอบ

Testing environment set up

ขั้นตอนในการจัดเตรียมเงื่อนไขสำหรับกระบวนการทดสอบให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ในการทดสอบ ตั้งค่าเครือขาย อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์ และการทดสอบข้อมูล

Test execution

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทีม QC จะทำการทดสอบตามแผนที่ QA เตรียมไว้ สร้างรายการและบันทึกข้อมูล ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และหากมีการระบุข้อบกพร่องมาก่อนหน้าขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการทดสอบอีกครั้งเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องนั้นๆ

Cycle closure

ขั้นตอนสุดท้ายในการวงจรการทดสอบ เป็นเหมือนขั้นตอนการประชุดทีมสมาชิกและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่วิเคราะห์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานและโครงการนั้นๆ

ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างการทำ QA Process ที่เราได้ยกมาอธิบายให้เห็นภาพเท่านั้น ซึ่งลักษณะการใช้งานจริงจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของลักษณะผลิตภัณฑ์ บริการ การดำเนินงาน ขององค์กรนั้นๆจะออกแบบขึ้นมา เพื่อตรวจสอบคุณภาพให้ตรงกับความต้องการและวัตถุประสงค์หลัก จึงจะสามารถเห็นขั้นตอนการตรวจสอบที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.