คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรืออยู่ระหว่างกระบวนการผลิต ย่อมต้องการการบริหารจัดการคุณภาพ (Quality Management) ซึ่งก่อนจะกำหนดแผน QC(Quality Control) ขึ้นมา แต่ละองค์กรมักเจอปัญหาให้แต่ละจุด ซึ่งสามารถแบ่งปัญหาคุณภาพเป็น 2 ประเด็น
1.) ปัญหาคุณภาพที่ต้องการแก้ไข คือ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในตัวผลิตภัณฑ์และเป็นสิ่งที่ไม่ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า
2.) ปัญหาคุณภาพที่ต้องการบรรลุเป้าหมาย คือ การยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
…

ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาคุณภาพอย่างเป็นระบบมักจะต้องผ่าน 2 ขั้นตอนนี้ก่อนที่จะเป็นแผน
1.) การนิยามปัญหาคุณภาพ (Select Topic) ข้อแรกนี้เป็นอย่างแรกที่ต้องทำในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ คือ การพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น และบ่งชี้ปัญหาที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง โดยการใช้เครื่องมือสนับสนุนในการตัดเลือก อาทิ แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet) และแผนภูมิกราฟ (Graph)
2.) วิเคราะห์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย (Understanding Situation and Set Target) หลังจากที่ได้หัวข้อของปัญหา ในขั้นตอนนี้ทีมต้องวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น โดยการทำความเข้าใจกับลักษณะของปัญหา เกิดขึ้นได้อย่างไร และในกระบวนการใด กำหนดให้มีความเฉพาะเจาะจง และกำหนดเป้าหมายการแก้ไขปัญหา
…

การจัดการคุณภาพเป็นวินัยที่ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ทั้งผลิตภัณฑ์สุดท้ายและในระหว่างกระบวนการจะตรงกับสิ่งที่ต้องการและวัถตุประสงค์
ทำความรู้จัก QC(Quality Control) Checklists
Quality Control Checklist หรือ รายการตรวจสอบการควบคุมคุณภาพ เป็นคู่มือที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่มักมีเนื้อหา บรรจุภัณฑ์ สี บาร์โค้ด ลักษณะที่ปรากฏ ข้อบกพร่อง หรือข้อกำหนดพิเศษของผลิตภัณฑ์ หรือเรียกว่า “แผ่นเกณฑ์การตรวจสอบ” โดยแต่ละโรงงานจะปรับแต่ง Quality Control Checklist ให้ตรงกับความต้องการของพวกเขาเอง
ตัวอย่างของ Quality Control Checklist สำหรับตัวอย่าง
โดยปกติแล้วการทำ Quality Control Checklist จะประกอบไปด้วยหลายข้อ และรายละเอียดที่ต้องการตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น
ความต้องการในตัวสินค้า(Product requirements)
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้อกำหนดในตัวสินค้าในจุดที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนนี้มันใช้เวลาในการตรวจสอบมากกว่าจุดอื่น ๆ ซึ่งสาเหตุที่ตรวจสอบเพราะในกรณีที่เป็นซัพพลายเออร์ ต้องตรวจสอบด้วยการสุ่มตัวอย่างสินค้า ว่าตรงกับข้อกำหนดของลูกหรือไม้ก่อนส่งออก โดยมักตรวจสอบที่ :
- วัสดุและวัตถุดิบ (Material and construction)
- น้ำหนักและขนาด (Weight and dimensions) – มีตัวอย่างประกอบ
น้ำหนักและขนาดมักจะอยู่ใน Checklist สินค้าประเภทเสื้อผ้าและชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ซึ่งลูกค้ามักจะกำหนดขนาดมาอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้คลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยเท่าน้ัน
ตัวอย่างการตรวจสอบน็อต โดยจะมีขนาดที่ลูกค้าต้องการกำหนดไว้อย่างชัดเจนที่ช่อง Checkpoint Instruction และทำการตรวจสอบตัวอย่างและบันทึกที่ช่องขวามือ
- สี (Color requirements)
- การทำเครื่องหมายและการติดฉลาก (Markings and labeling)
การติดฉลากที่ถูกต้องเป็นสิงที่สำคัญสำหรับปฏิบัติตามกฏระบเบียบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการทำเครื่องหลายหรือติดฉลากบนผลิตภัณฑ์ เช่น ป้ายแขวน ติดเครื่องหมาย โดยหัวข้อเหล่านี้สามารถตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองหรือระหว่างกระบวนการได้
จากตัวอย่างคุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเขียนหัวข้อ QC ชัดเจนที่ช่อง Checkpoint และปรากฏรายละเอียดในการตรวจสอบไว้ที่ช่อง Checkpoint Instruction เมื่อตรวจสอบจะใส่ผลที่ช่อง Result
ข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ (Packaging requirements)
นอกจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์แล้ว การตระหนักถึงบรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะว่านอกจากบรรจุภัณฑ์จะใช้เพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์แล้วยังเป็นรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

จากตัวอย่างเป็นการตรวจสอบขนาด น้ำหนักของกล่อง ร่วมไปถึงการติดป้ายและรูปแบบการบรรจุ
การทดสอบผลิตภัณฑ์ (Product Tests)
กรณีนี้มักใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาทิ การให้พลังงาน การกันน้ำ และอื่น ๆ โดยการทดสอบจะมีการบันทึกตามแบบ Checklists

จากตัวอย่างการบันทึกแบตตารี่ของสินค้า ทั้งระยะเวลาการชาร์จเพื่อเทียบกับการชาร์จครั้งแรกและการวัดกระแสไฟ
และนี่เป็นตัวอย่างการหยิบจับสินค้าในไลน์การผลิตเพื่อมาตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งอาจใช้การสุ่มตามจำนวน เวลา หรืออาจเป็นการตรวจสอบสินค้าทั้งหมดในไลน์การผลิต ซึ่งตัวอย่างที่ยกมาจะสังเกตได้ว่าใน Checklist จะมีทั้งหัวข้อใหญ่ รายละเอียด และความคาดหวังที่ต้องการปรากฏอยู่