สำหรับในปี 2020 นั้นเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นปีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนการใช้ชีวิตออกมาพบเจอและไปยังที่สาธารณะน้อยลงอย่างมาก จึงไม่แปลกใจที่ยอดขายและยอดการใช้งานตลาดในรูปแบบอีคอมเมิซจะพุ่งขึ้นสูงกว่าที่เคยเป็นมาโดยมีตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้นกว่า 25% ในช่วงวันหยุดยาวสิ้นปีของอเมริกา
จนมาถึงปี 2021ที่ผ่านมาสถิติตัวเลขเหล่านั้นกลับสร้างความน่าตื่นเต้นได้อีกครั้งเนื่องจากช่วงสิ้นปีมีสถิติการซื้อของออนไลน์มากกว่าปี 2019 ถึง 23% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากในช่วงสิ้นปี 2021 นั้นสถานการณ์โควิดที่อเมริกาเริ่มเบาลงและผู้คนกล้าออกมาข้างนอกกันมากขึ้นแต่ตัวเลขดังกล่าวยังแสดงถึงปริมาณการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ยังสูงอยู่
สถิติปริมาณคำสั่งซื้อออนไลน์

อย่างที่ทราบกันว่าช่วงวันหยุดยาวสิ้นปีนั้นเป็นช่วงที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่ค่อนข้างสูง แบรนด์ต่าง ๆ พยายามสร้างยอดขายจากผู้บริโภคในช่วงนี้ในปี 2021 ซึ่งรวมทั้งตลาดอีคอมเมิซทั้งแบรนด์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีมาดั้งเดิมก็ตาม
จากที่รู้กันว่าการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศและ WFH น้อยลงทำให้ผู้คนมีเวลาน้อยลงในการซื้อของออนไลน์ที่แตกต่างกันจากปี 2020 ที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เงินไปกับการช้อปปิ้งออนไลน์แทนที่จะไปเที่ยวพักผ่อนหรือกินข้าวนอกบ้าน
แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าทั้งในช่องทางออนไลน์และหน้าร้านค้านั่นก็คือปัญหาด้านซัพพลายเชนที่เป็นปัญหาในวงกว้าง ทำให้หน้าร้านและหน้าเว็ปไซต์ขาดสินค้า ลูกค้าหลายรายไม่ได้ซื้อสินค้าที่กำลังมองหามากกว่า 50%

อีกหนึ่งสถิติที่น่าสนใจคือการเปรียบเทียบช่วงเวลาที่มีคนซื้อสินค้ามากที่สุดภายในวัน Black Friday และวัน Cyber Monday ตั้งแต่ปี 2019-2021 ช่วงเวลาที่ผู้คนซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากกว่าช่วงเวลาอื่นคือช่วง 2 ทุ่ม

และกราฟข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลที่ผลิตภัณฑ์จะหมดสต๊อกหรืออาจต้องแย่งกันซื้อในช่วงวัน Black Friday จึงทำให้ปริมาณการซื้อในช่วงสัปดาห์ก่อนวันศุกร์นั้นมากกว่าในช่วงอื่น ๆ และยังคงหนาแน่นในวันเสาร์-อาทิตย์หลังจากวันศุกร์
ถึงแม้ในภาพรวมปริมาณการซื้อทั้งหมดอาจลดลงจากปี 2020 แต่หากมองเจาะเข้าไปลึกกว่าตัวเลขเหล่านั้นเราจะเห็นว่าปริมาณการใช้จ่ายต่อแบรนด์สินค้ามีสูงขึ้นซึ่งหมายความว่าลูกค้า 1 รายมีปริมาณการซื้อของ 1 แบรนด์ที่สูงขึ้น ซึ่งอ้างอิงได้จากตัวเลข AOV (Average Order Value) เป็นค่าราคาเฉลี่ยที่ลูกค้าซื้อของ 1 ครั้งในเว็บไซต์ ที่สูงขึ้น 16% จากปี 2020 โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่เป็นประเภทเดียวที่มีตัวเลข AOV สูงถึง 40%
ผู้บริโภคอาจมีความกล้าที่จะใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น และมีเงินสำรองมากขึ้นในปี 2021 หรือหากพูดง่ายคือเป็นเหมือนการใช้เงินหลังจากที่ไม่ได้ใช้มาในปี 2020
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากสถิติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับช่วง Black Friday ซึ่งบ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นการสร้างยอดขายเพียงชั่วคราวระยะสั้นจากช่วงนี้ เพียงแค่เกิดความต้องการซื้อสินค้าจากส่วนลดที่ถูกแต่ไม่ใช่เกิดจากความต้องการใช้หรือบริโภคสินค้านั้นจริง ๆ ดังนั้นหลาย ๆ แบรนด์เปลี่ยนโอกาสการใช้ครั้งเดียวเหล่านั้นให้เป็นส่วนจูงใจให้ลูกค้าเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าประจำในภายหลัง
ช่วง Black Friday ในทุก ๆ สิ้นปีนั้นถือเป็นโอกาสสร้างยอดขายครั้งใหญ่ที่ดีต่อทุก ๆ ธุรกิจไม่เพียงแต่แค่ประเทศอเมริกาเท่านั้นเรายังคงเห็นสินค้าหลาย ๆ แบรนด์ต่างจัดโปรโมชั่นในช่วงนี้ที่ประเทศไทยอีกด้วย
คาดการณ์ Black Friday 2022
สำหรับในปีนี้เป็นเหมือนปีแรกที่เรากลับมาใช้ชีวิตแบบ New Normal จึงมีความน่าสนใจว่าตัวเลขปริมาณการซื้อและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในช่วงดังกล่าวจะเป็นตัวเลขที่อิงจากความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง และมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขสถิติจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ในช่วง 10% (YOY) ในเดือนพฤษจิกายน