เทคนิคการจัดแสงไฟสตูเพื่อถ่ายภาพอาหาร

create-artificial-natural-lighting-photograhy

โดยปกติแล้วการถ่ายภาพทุก ๆ ประเภทจำเป็นต้องมีแสง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากแสงธรรมชาติ หรือแสงที่ทำเลียนแบบแสงธรรมชาติ ซึ่งแสงจะเป็นตัวดึงดูดให้ภาพนั้น ๆ น่ามองและสมจริงมากยิ่งขึ้น แสงสามารถเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับภาพได้ เสมือนเราได้มองเห็นภาพนั้น ๆ เป็นของจริง แต่สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอนั้น มักจะใช้การจัดแสงเลียนแบบแสงธรรมชาติ เพื่อให้ควบคุมได้ง่ายและจัดแสงออกมาในลักษณะที่เราต้องการได้ สำหรับในบทความนี้ เราจะมาแนะนำเทคนิคการจัดแสงเพื่อถ่ายภาพอาหารหรือภาชนะที่ใส่อาหารเพื่อทำให้ภาพหรืออาหารของคุณดูโดดเด่น ดูแพงมากยิ่งขึ้น

การถ่ายภาพในสตูดิโอนั้นมักถูกนิยมถ่ายกันในสตูดิโอที่มีแสงน้อย หรือสตูดิโอมืด เพื่อใช้ความสว่างของแสงหลอดไฟสตูแทนแสงธรรมชาติ และเพื่อให้สามารถควบคุมแสงได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเราเคยพูดถึงเรื่องประเภทของแสงไฟไปแล้วในบทความที่เกี่ยวข้องกับการจัดไฟสามารถเข้าไป อ่านได้ที่ลิงก์

จัดแสง Key Light เหนือจานอาหาร

การจัดแสงเพื่อสาดบนตัวสินค้าหรืออาหารจะทำให้อาหารดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่จะจัดไฟอยู่เหนืออาหารส่องลงไปยังจานหรือภาชนะใส่อาหาร แต่ข้อควรระวังในการสาดแสงไฟไปโดยตรงนั้นคือการควบคุมความเข้มข้น หรือความแข็งของแสงหากมีมากเกินไปอาจทำให้รายละเอียดสินค้าหรืออาหารหายไป

ดังนั้นเครื่องมือในการช่วยลดแสงตกกระทบจากหลอดไฟส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Soft Diffuser หรือกระดาษไขเพื่อลดความเข้มข้นของแสง หรือควบคุมแสงให้ไม่กระจายเกินไปด้วย Soft Grid Light

ปิดแสงรบกวนและแหล่งให้แสงอื่นนอกจากหลอดไฟ

การควบคุมแสงเพียงเฉพาะจุดที่เราต้องการนั้นง่ายกว่าการเปิดให้แสงจากหลายจุดเข้ามาในภาพ หากคุณเลือกที่จะใช้แสงเลียนแบบธรรมชาติ (Artificial Light) แล้วนั้นคุณจำเป็นต้องปิดให้ห้องสตูดิโอของคุณมืดขณะถ่ายภาพจะช่วยให้คุณควบคุมโทนสี มุมแสง ภาพลักษณ์โดยรวมของการถ่ายภาพได้อย่างเต็มที่

แต่ยังมีอีกเทคนิคที่เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน คือการใช้ทั้งแสงธรรมชาติและแสงเลียนแบบจากธรรมชาติผสมผสานกัน วิธีการใช้งานขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ลักษณะการทำงาน และข้อจำกัดของสตูดิโอนั้น ๆ แต่คุณต้องแน่ใจเรื่องการควบคุมแสงเหล่านั้นเพื่อใช้ในภาพ

ส่วนประกอบอื่นนอกเหนือจากไฟ

การใช้แสงเลียนแบบธรรมชาตินั้นนอกเหนือจากหลอดไฟที่เป็นจุดกำเนิดแสง เครื่องมือช่วยเหลืออื่น ๆ ในการควบคุมและจัดการกับแสงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เช่น แผ่นสะท้อนแสง (The Reflector), ฉากหลัง (Background), แผ่นลดความเข้มข้นแสง (The Diffuser) จากตัวอย่างด้านล่างเทคนิคการใช้กระจกสะท้อนในการสร้างแสงเลียนแบบแสงแดด

ควบคุมการใช้แสงขาวและแสงสีส้ม

การใช้แสงสีขาวและแสงสีส้มให้ถูกวิธีจะเป็นตัวช่วยในการสร้างความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายของคุณมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพสินค้าบางอย่างอาจจำเป็นต้องใช้แสงสีขาวเพื่อให้ให้ลักษณะสินค้าหรืออาหารคุณมากยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งแสงสีส้มก็สามารถเพิ่มความอิ่มสีให้แก่ภาพได้เช่นเดียวกัน

สำหรับการปรับแต่งโทนสีหลังจากถ่ายนั้น การปรับจากภาพที่มีโทนสีขาวให้เป็นโทนสีส้มง่ายกว่าการปรับโทนสีอื่น ๆ กลับเป็นสีขาวเสมอ ดังนั้นเราจึงเห็นการถ่ายถูกควบคุมให้ใช้แสงสีขาวมากกว่านั่นเอง

ถ่ายภาพแนว Chiaroscuro

“Chiaroscuro” หรือการถ่ายภาพแนวดาร์ก มักถูกใช้ถ่ายสินค้าประเภทภาชนะสำหรับใส่อาหาร หรือถ่ายภาพอาหาร ลักษณะของภาพมักเห็นมุมมืด มุมสว่างภายในภาพ และมองเห็นเงาอย่างชัดเจน ทำให้ภาพดูน่าสนใจและน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการถ่าย

ควบคุมทั้งแสงและเงา แสงที่ใช้นั้นต้องนุ่มนวลเพียงพอให้ดูมีความลึกของภาพ และต้องควบคุมทิศทางแสงให้เหมาะสมในจุดที่ต้องการและไม่ต้องการให้แสงตกกระทบ ให้แสงจากมุมด้านข้างจะทำให้ภาพดูสมจริงมากยิ่งขึ้น เทคนิคการถ่ายแบบนี้มักใช้กับแบ็คกราวด์สีเข้มมากกว่า

  • มีช่องว่างให้แสงส่องผ่านในจุด A
  • สร้างเงาและเฟดเงาบนฉากในจุด B
  • ใช้ Reflector ในจุด C เพื่อเพิ่มเงาและดูดซึมแสงมากขึ้น

เล่นกับประกายความมันของอาหาร

หากทำเมนูซุปหรือเมนูที่มีความมัน ความชุ่มฉ่ำ สามารถใช้แสงไฟเพื่อส่องให้น่ารักประทานมากยิ่งขึ้น สามารถใช้แสงจากด้านข้าง หรือแสงย้อนจากมุมด้านหลังของจาน ตรงข้ามกับมุมกล้อง เพื่อช่วยเพิ่มแสง และควรควบคุมความมันของอาหารไม่ให้เกินสัดส่วน 20 – 30% หากมีความมันมากเกินไปอาจทำให้อาหารดูสว่างจ้ามาก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางเทคนิคการถ่ายภาพอ่าหารจากไฟสตูดิโอ คุณสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับการถ่ายภาพของคุณให้มีความน่าสนใจได้ยิ่งขึ้น

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.