ประเภทสินค้าที่ห้ามส่งออกทางเรือนั้นถูกกำหนดเป็นประเภทสินค้าที่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละประเทศและบางประเภทต้องมีเอกสารการส่งออกที่ครบถ้วน บางประเภทจะต้องทำการขออนุญาติเพื่อส่งออกและนอกไปจากนั้นต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง แต่สำหรับทาง Terrestrial แล้ว เราจัดส่งตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้ง Dry Container เป็นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้าทั่วไป ที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งสินค้า เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่ทั่วไป เช่น เสื้อผ้า อาหาร เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เซรามิคและของใช้ทั่วไป และมีสินค้าที่ไม่ได้รับส่งเช่นกัน โดยมี 12 รายการดังนี้

1.) สินค้าประเภทอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ สัตว์ทะเล
2.) อาหารแช่แข็ง ผัก ผลไม้สด เนื่องจากทางเราจัดส่งคอนเทนเนอร์แบบตู้แห้ง Dry Container ไม่ได้จัดส่งแบบตู้ Reefer Container ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น และมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้าเพื่อคงคุณภาพของสินค้า
3). สินค้าเกี่ยวกับศาสนา เช่น พระพุทธรูป โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ รูปปั้นเทวรูปและชิ้นส่วนเทวรูป งานแกะสลักจากไม้ ภาพเขียน สถาปัตยกรรม จะต้องขออนุญาตจากกรมศิลปากรก่อนถึงจะสามารถส่งออกได้ ซึ่งในปัจจุบันเรายังไม่มีบริการนี้
4.) อุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวกับสถานะการณ์ โควิด-19 เช่น เจลแอลกอฮอล์ล หน้ากากอนามัย ถุงมือที่ใช้ในการแพทย์ เป็นต้น
5.) สินค้าละเมิดลิขสิทธ์ สินค้าปลอมแปลง หรือลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
6.) อาวุธปืน ที่ประกอบเป็นชิ้นสมบูรณ์แล้ว รวมถึงกระสุน และอาวุธทุกชนิด
7.) ยา และสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย
8.) สารเคมีทุกชนิด
สินค้าที่ทางเราไม่รับส่งหากไม่มีเอกสารครบถ้วน แต่สามารถจัดส่งกับเราได้หากมีเอกสารพิเศษประกอบ ได้แก่
9.) ข้าว (ข้าวสารเป็นเมล็ด) สามารถส่งได้หากมีเอกสารที่ครบถ้วน เช่น เอกสารใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก และ US FDA
10.) ไม้ต้องห้ามของประเทศไทย เช่น ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ จะต้องแปรรูปอยู่ในรูปแบบ เฟอนิเจอร์ หรือของใช้ เช่นตะหลิวไม้ ทัพพีไม้ ถ้วยไม้ จะต้องมีใบอนุญาติประกอบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้หวงห้าม
11.) สินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ เช่น ผลิตในประเทศญี่ปุ่น Made in Japan นำเข้ามาในประเทศไทย และต้องการส่งออกจากไทยไปอเมริกา จัดเป็นสินค้า Transshipping Goods ทางบริษัทจัดส่งให้ได้แต่จะต้องมีเอกสารยืนยันต้องมีใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกแสดงชัดเจน / Certificate of origin from country หรือใบรับรองแหล่งกำเนิดจากประเทศที่ผลิตหรือ Invoice / ใบกำกับสินค้าที่มีชื่อ ที่อยู่และข้อมูลการติดต่อของโรงงานที่ผลิตสินค้าต้นกำเนิด และจะไม่รับส่งหากเป็นสินค้าซื้อจากประเทศญี่ปุ่นมาติด Made in Thailand ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในไทยเท่านั้น
12.) สินค้าที่มียี่ห้อมีชื่อเสียงหรือแบรนด์ดัง จะต้องมีใบอนุญาติหรือใบตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง
ข้อกำหนดเพิ่มการรับส่งสินค้าประเภทอาหาร
สำหรับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการรับสินค้าประเภทอาหารที่ไม่มีเอกสาร ดังต่อไปนี้
- ส่งจำนวน 1 พาเลทขึ้นไป หากส่ง 1-5 กล่องขอยังไม่รับส่ง เนื่องจากการส่งสินค้าประเภทอาหารมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในฝั่งขาเข้าอเมริกา ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงจำนวนส่งจำนวนน้อยก็จะต้องดำเนินเอกสารขาเข้า
- จะต้องแยกเอกสารใบขนขาออกและ BL ในนามบริษัทลูกค้าเอง สามารถแยกเอกสารใบขนขาออกและ BL ได้ต่อเมื่อได้ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร (รวมทางส่งทางเรือ) หรือมี Paperless แล้วเท่านั้น
- ลูกค้าจะต้องเป็น Importer of record (IOR) รวมถึงมี Custom Bond ประกันการนำเข้าของบริษัทลูกค้าเอง
- จะต้องมี US FDA ลงทะเบียนถูกต้อง ไม่หมดอายุ
- จะต้องมี DUNS Number