ก่อนที่เราจะ พูดถึง thermal shock (เทอร์มอลช็อก) ที่ ทำให้ชิ้นงานเสียหายได้อย่างไร จะขอพูดถึง thermal shock (เทอร์มอลช็อก) มีความหมาย และ อาการของชิ้นงานที่เกิด มีลักษณะแบบใด
“นิยาม thermal shock (เทอร์มอลช็อก)”
ความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน คือ นิยาม ที่ชัดเจนที่สุด ของอาการ thermal shock ทำให้อุณหภูมิที่ผิวและเนื้อในชิ้นงานมีความแตกต่างกัน เมื่ออุณหภูมิแตกต่างกันก็ทำให้เนื้อชิ้นงานที่บริเวณต่างๆขยายตัวไม่เท่ากันเกิดเป็น Thermal Shock ในชิ้นงาน ถ้าหากค่า Thermal Shock สูงเกินกว่าที่วัสดุจะรับได้ก็จะเกิดความเสียหายบนชิ้นงานขึ้น
ลักษณะการแตกชิ้นงานจะเกิด ความเสียหาย แบบขอบคมแตกเป็นชิ้นๆ คล้ายการทุบชิ้นงานให้แตก แตกต่างจากการเผาชิ้นงานและเกิดรอยร้ายก่อนเผา Thermal Shock มักเกิดหลังจากเผาชิ้นงานเสร็จ

ทีมเซรามิค สตูดิโอ Terrestrial
ภาพการเกิด Thermal Shock

ทีมเซรามิค สตูดิโอ Terrestrial
ภาพการเกิด ชิ้นงานแตกฉีกขาดมีรอยร้าวก่อน เผาหรือหลังเผา แต่ไม่ได้เกิดจาก
Thermal Shock
“ปัจจัยที่ทำให้เกิด เทอร์มอลช็อก “
ปัจจัยที่ทำให้เกิด thermal shock (เทอร์มอลช็อก) ปัจจัยหลักๆ มีดังนี้
-โครงสร้าง ของ ดินและเคลือบ แน่นอนว่า ดินและเคลือบ ที่มีโครงสร้างแข็งแรง ไม่แตกหัก เนื้อดินละเอียด สามารถทนต่อการขึ้นลดของอุณหภูมิภายในเตา ได้ดี จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าว จาก thermal shock (เทอร์มอลช็อก) ได้มากกว่า ทั้งดินและเคลือบต้องมีการหดตัวที่เท่ากันหรือ ใกล้เคียงกันมากที่สุด ต้องผ่านการทดสอบ ทดสอบปรับแต่ง

ทีมเซรามิค สตูดิโอ Terrestrial
ภาพ ดินที่แตกก่อนเผา
-สภาพอากาศนอกเตาในแต่ละวัน สภาพอากาศนอกเตา มีผลต่อการเผางานเซรามิค เป็นอย่างมาก เพราะเตาต้องใช้ความร้อน ในการทำให้ชิ้นงานหลอมตัว 1,250 องศา ตามมาตราฐานทั่วไป ดังนั้น อากาศชื้น ฝนตก พายุ เหล่านี้ มักทำให้เกิด thermal shock (เทอร์มอลช็อก) ตามมาชิ้นงานมัก แตกราว ตอนที่อุณหภูมิลง อย่างกระทันหันเนื่องจาก อากาศนอกเตาลดลงเร็วมาก กว่าปกติ ซึ้งหากอากาศร้อนมักจะไม่เกิด thermal shock (เทอร์มอลช็อก) หรือเกิดน้อยกว่า

ทีมเซรามิค สตูดิโอ Terrestrial
ภาพ อุณหภูมิของเตาเผาที่ขึ้นช้าช่วงฝนตก
และลดลงเร็วเมื่อปิดเตา
-กระบวนการทำงาน และการเปิดเตาเผานำชิ้นงานออกมาหลังเผาเสร็จ โดยปกติหลังจากเผาชิ้นงานเสร็จ จะต้องรอให้อุณหภูมิ ในเตาลดลง ตำอยุ่ที่ประมาน 150 เป็นต้นไปโดยใช้การเปิดเตาเพียงเล็กน้อย แต่หากจำเป็นที่จะต้องนำชิ้นงานออกมา เร็วกว่า ซึ้งอุณหภูมิยังสูงอยู่ ชิ้นงานบางส่วนที่ ไม่สามารถ ทนต่อ thermal shock (เทอร์มอลช็อก) สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนอกเตาก็จะเกิดการแตกร้าว

ทีมเซรามิค สตูดิโอ Terrestrial
ภาพ ชิ้นงานที่แตกจากการลดอุณหภูมิเปิด
เตาานำชิ้นงาน ออกมาเร็ว
“วิธีการป้องกัน thermal shock (เทอร์มอลช็อก) “
วิธีการป้องกัน thermal shock (เทอร์มอลช็อก) สามารถป้องกันได้หลายวิธีดังนี้
-การปิดกั้นโรงงานแบบปิด การปิดกั้นโรงงาน หรือบริเวณรอบเตาเผา ให้มีอาการผ่านน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อน นอกเตา ถูกแทนทีด้วยอาการที่ชื้น ซึ้งเตาจะเผาเสร็จช้า สิ้นเปลือง แก็ส และที่สำคัญ เตาจะลดลงเร็วดังนั้น โรงงานานหรือสตูดิโอส่วนใหญ่ มักสร้างให้บริเวญเตา ไม่โล่วงจนเกินไป ป้องกันอากาสวิ่งผ่านเตา
-การวิจัยสูตรดินและเคลือบ มักจะต้อง ถูกปรับแต่ง ตามความเหมาะสมและลักษณะการทำงาน ของ โรงงานหรือสตูดิโอนั้นๆ เพราะ แต่ละสถาณที่มีการทำงานที่แตกต่างกัน บางโรงงงานหรือสตูโอ จะนำชิ้นงานออกมาจากเตาเผา ในอุณหภูมิเวลา ที่ แตกต่างกัน ดังนั้น สูตรดินและเคลือบ จะต้อง สอดคล้อง ตามการใช้งาน