การความหนาของดินเผาอาจทำให้ดินแตก และ วิธีการช่วยลดปัญหา ป้องกัน การแตกของดิน “How does uneven thickness in clay potentially cause cracking ? “

จาก Blog ที่แล้วที่เรา พูดถึงปัญหา การแตกจากการลดอุณหภูมิหรือ Thermal shock ใน Blog นี้จะพูดถึงการแตกอีก1รูปแบบที่พบเจอในงานเซรามิค ซึ้งเป็นการแตกที่เกิดขึ้น กับดิน การแตกจากความหนาของดินที่แตกต่างกัน
“ความหนาของดินมีผลต่อการแตกของเซรามิคอย่างไร “
ในงานเซรามิค พื้นฐาน ที่ทำให้ชิ้นงานเซรามิคออกมาสวย และสมบูรณ์นอกจากดินที่ดี โครงสร้างที่ดีแล้ว คือการขึ้นรูปของชิ้นงานซึ้งการขึ้นรูปต้องถูกต้องการขึ้นรูป มีหลายวิธี ทั้งการหล่อ การปั้นด้วยมือ การขึ้นแป้นหมุน การขึ้นรูปแบบแผ่นซึ้ง การขึ้นรูปเหล่านี้ ความหนาของชิ้นงานมีส่วนสำคัญ เนื่องจากชิ้นงานที่หนาเกินไป มักแตกระหว่างการเผาบีส โดยเฉพาะการขึ้นรูปด้วยมือ และ การขึ้นแป้นหมุน เพราะดินที่ใช้เป็นดินที่ มีเนื้อดินเป็นส่วนประกอบ มากกว่าน้ำ เมื่อผ่านความร้อน ชิ้นงานที่ หนา ชิ้นงานด้านนอกแห้ง แต่ด้านในอาจจะยังมีความชื่นอยุ่ซึ้ง อาจจะมีทั้งน้ำและฟองอากาศเล็กๆ เมื่อเจอความร้อนจากเตาเผา จะทำให้ ชิ้นงงานแตกร้าว หรือร้ายแรงคือชิ้นงานระเบิด แบบชัดเจน บางครั้งเราจะได้ยินเสียจากนอกเตา หากชิ้นงงานนั้นมี ขนาดที่ใหญ่



“วิธีการช่วยลดปัญหา ป้องกัน การแตกของดินระหว่างเผา “
รายละเอียดดังนี้
1.การขึ้นรูปที่ถูกต้อง
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าการขึ้นรูปที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับชิ้นงาน ช่วยทำให้ ชิ้นงาน ที่จะเผาบีส ซึ้งเป็นระยะที่จะมีการแตกของชิ้นงาน เป็นอันดับแรก มีอัตตราการแตกเฉลี่ยที่ลดลง การขึ้นรูปต้องมีความหนา ที่สม่ำเสมอ เกือบเท่ากันทั้งชิ้น

ที่มาของรูปภาพและข้อมุลบางส่วนจาก
ภาพการขึ้นรูปด้วยเครื่อง โรเลอร์ จิกเกอร์ซึ้งสามารถกำหนดความหนาของชิ้นงานได้
http://www.thaiceramicsociety.com/ts_mark_broken.php

2.สูตรดินที่ถูกต้อง
สุตรดินที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน ดินที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงานต้องมีมาตราฐานการทำดินให้เหมาะสมกับโรงงาน วิธีการทำงาน คุณสมบัติเบื้องต้นที่ต้องมี เช่น การหดตัวที่ดี โครงสร้างเนื้อดินที่ ทดต่อการลดและเพิ่มของอุณหภูมิ

ที่มาของรูปภาพและข้อมุลบางส่วนจาก
ภาพการดินที่ผ่านการทดสอบ สุตรจากโรงงาน ก่อนตกแต่ง
ชิ้นงาน
https://www.mtec.or.th/research-projects/1224/

3.การปล่อยให้ชิ้นงานแห้งสนิทก่อนเข้าเผา
การปล่อยให้ชิ้นงานแห้งสนิทก่อนเข้าเผา เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชิ้นงานบีส เพราะการแตกของชิ้นงานส่วนมาก ที่มีความหนาไม่เท่ากันจะแตกช่วงระยะนี้ เนื่องจากก่อนเข้าเตา หากชิ้นงานมีความหนาไม่เท่ากัน การระเหยของน้ำออกจากชิ้นงานที่ขึ้นรูปจะต่างกัน ทำให้ชิ้นงานอาจจะแตกตั้งแต่ก่อนขึ้นเผา หรือ ระหว่างการเผา ซึ้งชิ้นงานแห้งไม่สนิทด้านนอกแห้งด้านในยังมีความชิ้นและอากาศ ชิ้นงานจะแตก หรือ หากชิ้นงานมีขนาดใหญ่ จะเกิดการระเบิกภายในเตา ระหว่างการเผาบีส ซึ้งระยะการปล่อยให้ชิ้นงานแห้งนสนิท จะใช้เวลา 1-5วัน ตามการขึ้นรูป
-ชิ้นงาน หล่อใช้เวลา 1-2 วัน
-ชิ้นงานปั้นมือ โทรอิ้ง ขึ้นด้วยแผน ใช้เวลา 2-5วัน
การเช็คเบื้องต้น เนื้อดินต้องมี สีขาวจับแล้วมีฝุ่นติดมือ และดูระยะเวลาการทำชิ้นงานว่าทำกี่วัน

ที่มาของรูปภาพและข้อมุลบางส่วนจาก
ภาพชิ้นงานที่รอจนแห้งสนิท
ข้อมูลจากสตูดิโอเซรามิค Terrestrial


4.การป้องกันชิ้นงานที่ขึ้นรูประหว่างรอเผาบีส
การป้องกันชิ้นงานที่ขึ้นรูประหว่างรอเผาบีส เป็นวิธีการเบื้องต้นที่ช่วยป้องกันการแตกร้าวก่อนการเข้าเผา เนื่องจากการทำเซรามิคต้อง มักมีสภาพอากาศในแต่ละวันมาเกี่ยวข้องหากอากาศร้อนเกินไป หลังชิ้นงานที่ขึ้นรูป เสร็จชิ้นงานจะแห้งเร็วมากกว่าปกติทำให้ ชิ้นงงานแตกร้าวได้ ดังนั้นการสร้างที่ก้นลมกั้นอากาศเข้าออก ชะลอการแห้งตัว จะช่วยให้ชิ้นงานแห้งตัวไปพร้อมๆกันทั้งชิ้นลดการเสียหายของชิ้นงานก่อนบีส

ที่มาของรูปภาพและข้อมุลบางส่วนจาก
ภาพชิ้นงานที่รอขึ้นเผา โดยใช้แผ่นพลาสติกกั้นเพื่อลดการระเหยของน้ำ
ข้อมูลจากสตูดิโอเซรามิค Terrestrial


5.การจัดเรียงชิ้นงานในการเผา
การจัดเรียงชิ้นงาน ที่ดีเรียงถูกประเภท จะช่วยให้ชิ้นงานที่หนา มีโอกาสแตกน้อยลง เนื่องจาก การเผาบีสจะแตกต่างจากการเผาเคลือบที่ชิ้นงานต้องว่าห่างกัน การเผาบีสมักเผาแบบซ้อนชิ้นงานเยอะๆ เพื่อความคุ้มค่าในการจัดเรียง เพราะการเผาชิ้นงานแต่ละครั้งนอกจากเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน ค่าวัตุดิบต่างๆ ค่าเเรง ค่าเสียเวลาแล้ว ยังมี ค่าใช้จ่ายของแก็สที่ค่อนข้างสูง อีกด้วย ดังนั้ นการเผาบีส ทั้งโรงงาน สตูดิโอต่างๆจึงมักเผา กันแบบซ้อนที่ละเยอะๆ แต่ต้องจัดเรียงแบบถูกต้องป้องการการแตกหัก

ที่มาของรูปภาพและข้อมุลบางส่วนจาก
ภาพชิ้นงานที่จัดเรียงขึ้นเผาบีส
ข้อมูลจากสตูดิโอเซรามิค Terrestrial

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.