ประวัติความเป็นมาของเส้นใยขนสัตว์
ประวัติความเป็นมาของขนสัตว์ในยุคหินเก่านั้นได้สูญหายไปเป็นเวลานานแล้ว แต่ได้กล่าวถึงเพียงว่ามีการใช้หนังแกะ และขนเเกะมาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่จะมีการค้นพบวิธีการปั่นเส้นใยขน สัตว์เป็นเส้นด้ายและการทอเป็นผืนผ้า และไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าขนสัตว์(ขนแกะ)เป็นเส้นใยชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักใช้
คุณสมบัติของเส้นใยขนสัตว์
เส้นใยขนสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของหนังสัตว์ มีสารโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) เป็นสารประกอบทางเคมีสมบูรณ์ เคราตินนั้นประกอบไปด้วยกรดอมิโนประมาณ 18 ชนิด ต่อเชื่อมกันเป็นโซ่ยาว เรียกว่า polypeotide chain มีซีสเตอีน ที่เป็นหมู่ของ thiol(SH) ไธออล เกิดเป็น difulfide bond เป็นตัวเชื่อมโปรตีนชนิดนี้ จะมีธาตุกำมะถันในโมเลกุล มีลักษณะโมเลกุลเป็นสายยาวและบิดเกลียวทุกสายโดยขนานกันเเละยึดเกาะกันด้วย ไฮโดรเจนบอนด์ (Hydrogen bond) การเรียงตัวของโมเลกุลไม่เป็นระเบียบนัก จากการเชื่อมของซีสตินที่มีธาตุกำมะถันในโมเลกุล และการเรียงตัวของโมเลกุลที่ไม่เป็นระเบียบนี้ ทำให้เส้นใยขนสัตว์มีคุณสมบึตยืดหยุ่นดีไม่ยับง่ายและคืนตัวได้ดี
ผ้าขนสัตว์กับประโยขน์ในการใข้สอย
ผ้าขนสัตว์มีประโยชน์ใช้สอยมากโดยเฉพาะประเทศในเเถบที่มีอากาศหนาวเย็น นิยมใช้ตัดเสืัอผ้าชั้นดี เช่น สูท เสื้อโคท ผ้าขนสัตว์มีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น ยืดหยุ่นได้ดี ไม่ยับง่าย ดูดซึมน้ำและความชื้นได้ดี ไห้ความอบอุ่นต่อผู้สวมใส่ รีดง่ายปรับเข้ารูปทรงได้ดี เหมาะสำหรับการซักแห้งมากกว่าการซักเปียก เพราะเส้นใยยืดหดทำให้เสียรูปทรงได้ง่าย
การดูแลรักษาทำความสะอาดผ้าขนสัตว์
เมื่อเสื้อขนสัตว์เปื้อนสิ่งสกปรก หรือฝุ่นละออง ควรใช้แปรงปัดออกเบาๆ สิ่งสกปรกและฝุ่นละอองจะหลุดออกได้ง่าย แต่ถ้าหากเปื้อนน้ำก็ใหัรีบสะบัดออก แล้วจึงใช้แปรงทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่งเมื่อแห้ง แป้งที่ใช้ควรมีขนที่อ่อนนุ่ม ควรแปรงในขณะการซักแห้งเท่านั้น เมื่อต้องการเก็บรักษาขนสัตว์ไว้นานๆ ควรทำความสะอาดด้วยการซักแห้งจะดีที่สุด ถ้าจำเป็นต้องซักเปียก ควรรักด้วยสบู่หรือผงซักฟอกอย่างอ่อนกับน้ำอุ่น ใช้มือขยำเบาๆ ไม่บิด ไม่ควรแช่ผ้าไว้ในน้ำซักนานๆ เส้นใยจะหดตัวชั่วคราว ถ้าจะใช้สารฟอกขาวควรใช้อย่างอ่อน เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ควรใช้สารฟอกขาวประเภทคลอรีนจะทำให้เส้นใยขนสัตว์เสื่อมคุณภาพ การตากควรตากบนพื้นราบ รองด้วยผ้าขนหนู เพื่อช่วยซับน้ำออก จัดรูปทรงเสื้อให้ดูดี ไม่ควรแขวนตากจะทำให้เสื้อผ้าขนสัตว์ยืดเสียรูปทรง ควรตากในที่ร่มมีลมโกรก ไม่ควรตากแดด การรีดโดยใช้ความร้อนชื้น ควรใช้ผ้าปิดทับบนผ้าขนสัตว์ แล้วจึงรีดกด ไม่ควรรีดไถแรงๆ จะทำให้ผ้ายืดได้ อุณหภูมิของเตารีดควรอยู่ในอณหภูมิต่ำหรือปานกลาง ถ้าใช้ความร้อนสูงผ้าจะแข็งกร้านและจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง
ตัวอย่างขนสัตว์ที่นิยมนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้แก่
เส้นใยไหม (Silk)
ใยไหมได้จากรังของตัวไหม ในไทยมีการเลี้ยงไหมกันมากทางภาคอีสาน ใยไหมได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งเส้นใย มีความงามหรูหรา เนื้อผ้าเป็นมันแวววาว ทำความพึงพอใจให้แก่ผู้สวมใส่ แต่ผ้าไหมมีราคาค่อนข้างแพง คนเรารู้จักใช้ผ้าไหมกันมานานหลายพันปีแล้ว ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่รู้จักเลี้ยงไหม และนำเส้นใยมาผลิตเป็นผ้าไหม
คุณสมบัติของผ้าไหม นอกจากจะมีเนื้อมันแวววาวสวยงามมากแล้ว ยังเหนียวมาก สวม-ใส่สบาย ปรับให้เหมาะกับอากาศร้อนเย็นได้ดี คือจะรู้สึกเย็นเมื่ออากาศร้อน และจะรู้สึกอุ่นเมื่ออากาศหนาว ผ้าไหมย้อมสีติดง่าย พิมพ์ลวดลายได้สวยงาม เวลาสวมใส่ไหมจะเสียดสีกันทำให้เกิดเสียง เราเรียกกันว่าเสียง ส่ายไหม ผ้าไหมนิยมนำมาตัดเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ที่ให้ความงามหรูหราและใช้เป็นครั้งคราว ไม่นิยมตัดเสื้อผ้าที่ต้องใส่ประจำวันนัก ทั้งนี้เพราะผ้าไหมราคาค่อนข้างแพง ซักรีดยาก ผ้าไหมที่ฟอกเอาขี้ผึ้งที่ติดมากับเส้นใยออกหมด น้ำหนักจะเบาและค่อนข้างยับง่าย ต้องตกแต่งให้ทนยับ ผ้าไหมจะเก่าเร็วถ้าซักรีดบ่อย ๆ ไม่ทนต่อสารซักฟอกที่มีส่วนผสมของด่างเข้มข้นและไม่ทนต่อแสงแดด เวลาซักรีดผ้า-ไหมจึงต้องทำอย่างระมัดระวังมากกว่าการซักผ้าชนิดอื่น
คุณสมบัติของเส้นใยไหม
ไหมเป็นเส้นใยโปรตีนธรรมชาติ มีสารโปรตีนที่เรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่เรียกว่า เซริซิน (Sericen) มีลักษณะเหนียวเหมือนกาว ช่วยยึดให้เส้นใยสองเส้นติดกัน โปรตีนของเส้นใยไหม ประกอบด้วยกรดอมิโนเกาะเข้าด้วยกัน เป็นโซ่ยาว เรียกว่า โพลิเปปไทด์ (polypeptide chain) สาร fibroin แตกต่างจากสารเคราติน (Keratln) ซึ่งเป็นโปรตีนในขนสัตว์ คือไม่มีตัวยึดที เรียกว่า cystine หรือ Sulphur linkage เช่นในเส้นใยขนสัตว์ โปรตีนของเส้นใยไหมประกอบด้วย กรดอามิโน ประมาณ 15 ซนิด ส่วนใหญ่เป็นกรด อามิโณดี่ยว เช่น Glycin, Alanine, Serine เป็นต้น โมเลกุลของเส้นใยไหขเรียงตัวกันเป็นระเบียบดีฆาก ทำให้เส้นใยมีความเหนียวแข็งแรงทนทาน
ลักษณะเด่นของเส้นใยไหม
1.เส้นใยเหนียวมาก ดูดความชื้นได้ดี ทนทาน แต่ดูแลรักษายาก
2.สวมใส่สบาย เหมาะกับทุกสภาพอากาศ (อากาศไม่หนาวมากหรือร้อนจนเกินไป)
3.ไม่ทนต่อกรด ทนด่าง และสารเคมีอื่น ๆ
4.เนื้อผ้ามีความหนาแน่นน้อย (น้ำหนักเบา)
ขนอัลปาก้า (Alpaca)
อัลปาก้า เป็นสัตว์ในตระกูลอูฐ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เจริญเติบโตได้ดีในเเถวเทือกเขา แอนดีสของประเทศเปรู โบลิเวีย เอควาดอร์ และอาร์เจนตินา อาปาก้ามีขนาดลำตัวเล็กกว่า อูฐ จะสูงประมาณ 3 ฟุต มีขนมากยาวเกือบจรดพื้นดิน สีธรรมชาติคือสีขาว ดำ น้ำตาล และ เทา ขนอ่อนนุ่ม เส้นละเอียด เหนียวมาก มีความยาวตั้งแต่ 8 – 12 นิ้ว ถ้าทิ้งไว้นานจะยาวถึง 30 นิ้ว จะตัดขน 2 ปีต่อครั้ง ได้ขนประมาณ 4-7 ปอนด์ ขนที่มีคุณภาพดีละเอียดจะถูกแยกออก จากขนที่หยาบ เพื่อส่งเข้าโรงงานทอผ้าต่อไป
ขนอัลปาก้า มีลักษณะเหมือนขนอูฐและมีข้อดีที่ให้ความอบอุ่นและปัองกันไฟฟัาได้ เส้นใยแข็งแรงเป็นมันวาว เมื่อทอเป็นผ้าแล้วจะมีลักษณะเหมือผ้าโมแฮร์ ผ้าที่ผลิตจากขนอัลปาก้า ใข้ตัดสูท ชุดสตรี
ประวัติความเป็นมาของขนสัตว์ในยุคหินเก่านั้นได้สูญหายไปเป็นเวลานานแล้ว แต่ได้กล่าวถึงเพียงว่ามีการใช้หนังแกะ และขนเเกะมาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่จะมีการค้นพบวิธีการปั่นเส้นใยขน สัตว์เป็นเส้นด้ายและการทอเป็นผืนผ้า และไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าขนสัตว์(ขนแกะ)เป็นเส้นใยชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักใช้
ขนมิงค์ (Mink Hair)
ขนมิงค์ (Mink Hair) อยู่ในประเภทเส้นใยโปรตีนธรรมชาติที่เป็นขนสัตว์ที่เรียกว่า ขนเฟอร์ (Fur) โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ส่วน ขนชั้นนอก อยู่บริเวณรอบนอกของลำตัวมี ลักษณะหยาบ กระด้าง ค่อนข้างแข็งและขาว ขนส่วนนี้ไม่นำไปทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม นิยมทอเป็นผ้าเนื้อหยาบ ใช้ทำเครื่องเรือนและทอพรม ส่วนขนชั้นในอยู่บริเวณรอบในติดกับหนังสัตว์ มีขนสั้นนอก ปกคลุมอยู่ มีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นเส้นละเอียด มีคุณภาพดีกว่าขนชั้นนอก ใช้ทำเสื้อผ้าเครื่อนุ่งห่ม และผ้าเนื้อดี
ขนกระต่าย (Rabbit Hair)
ขนกระต่าย (Rabbit Hair) จัดอยู่ในเส้นใยประเภทขนสัตว์ที่เรียกกันว่า ขนเฟอร์ (Fur)
โดยทั่วไปแล้ว ขนกระต่ายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
ขนชั้นนอก อยู่ที่บริเวณรอบนอกของลำตัวมีลักษณะหยาบ กระด้าง ค่อนข้างแข็งและขาว ขนส่วนนี้ไม่นำไปทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แต่นิยมนำไปทอเป็นผ้าเนื้อหยาบ สำหรับใช้ในการทำเครื่องเรือนและทอพรม
ส่วนขนชั้นในอยู่ รอบในติดกับหนังสัตว์ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ มีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นเส้นละเอียด มีคุณภาพดีกว่าขนชั้นนอก นำไปใช้ทำเสื้อผ้าเครื่อนุ่งห่ม และผ้าเนื้อดีสำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ
ขนสัตว์พิเศษและขนเฟอร์ (Special Animal Fibers and Fur Fibers)
ขนสัตว์ชนิดอื่นๆ นอกจากขนแกะ (Wool) แล้วนั้นจะจัดอยู่ในกลุ่มของขนสัตว์พิเศษ ซึ่งเป็นขนสัตว์ที่มีปริมาณน้อย หายาก และราคาค่อนข้างแพง จะได้จากสัตว์ในตระกูลแพะ อูฐ และขนเฟอร์ (Fur) แต่ละชนิดสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ขนจากสัตว์ตระกูลแพะ (Goad Family) ได้แก่ แพะแองกอร่า (Angora) จะได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า ขนโมแฮร์ (Mohair) เเพะแคชเมียร์ (Cashmere) จะได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า ขนแคชเมียร์ (Cashmere) แพะทั่วๆไปจะได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า ขนแพะ
2. ขนจากสัตว์ตระกูลอูฐ (CameI Family) ได้แก่ ขนกัวนาโค (Guonoco) ได้ขนสัตว์ที่ เรียกว่า กัวนาโค, ขนลาม่า (LIama) ได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า ลาม่า, ขนอัลปากา (AIpaca) ได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า อัลปาก้า, ขนไวคูนา (Vicuna) ได้ขนสัตว์ที่เรียกว่า ไวคูนา
3. ขนจากสัตว์อื่น ๆ เรียกว่า ขนเฟอร์ (Fur) ได้แก่ ขนกระต่าย แองกอร่า (Mask Rat) ขพิงค์ (MInk) และขน Hare (สัตว์ชนิดหนึ่งเหมือนกระต่าย)
ขนสัตว์พิเศษต่างๆเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็น 2 ส่วน ขนชั้นนอก อยู่บริเวณรอบนอกของลำตัวมี ลักษณะหยาบ กระด้าง ค่อนข้างแข็งและขาว ขนส่วนนี้ไม่นำไปทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม นิยมทอเป็นผ้า เนื้อหยาบ ให้ทำเครื่องเรือนและทอพรม ส่วนขนชั้นในอยู่บริเวณรอบในติดกับหนังสัตว์ มีขนสั้นนอก ปกคลุมอยู่ มีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นเส้นละเอียด มีคุณภาพดีกว่าขนชั้นนอก ใช้ทำเสื้อผ้าเครื่องนุ้งห่ม และผ้าเนื้อดี