“การจัดจาน” ให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบ
CLASSIC PLATING
การจัดวางแบบคลาสสิก T เทคนิคการจัดวางแบบคลาสสิกจะใช้อาหารพื้นฐาน 3 อย่างคือ แป้ง ผัก และ อาหารหลัก ในการจัดวางที่เฉพาะเจาะจง แนวทางง่ายๆ ในการจัดจานแบบคลาสสิกคือคิดว่าจานอาหารเป็นหน้าปัดนาฬิกา
– อาหารหลัก : จัดประจำระหว่าง 3 ถึง 9 ชั่วโมง
– แป้ง : จัดไว้ระหว่าง 9 ถึง 11 วัน
– ผัก : จัดไว้ระหว่าง 11 ถึง 3 นาฬิกา
” นอกจากรสชาติอาหารแสนอร่อย ที่มาพร้อมความที่เพอร์เฟคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การตกแต่งอาหารให้ออกมาดูดี น่ารับประทาน ซึ่งการจัดจานถือ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ในการสร้างสรรค์ผลงาน ตกแต่งอาหารให้ออกมาดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกได้ดีอีกด้วย โดยมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้ ”
ขนาดและสัดส่วน (ขนาดและสัดส่วน)
ในการจัดอาหารแต่ละชนิด ขนาดสัดส่วนที่นำมาอยู่ในภาชนะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งควรมีปริมาณ และ สัดส่วนที่พอดี ไม่มาก หรือ ล้นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ดูไม่น่ารับประทาน ส่วนการจัดจานบนโต๊ะอาหาร ควรใช้ภาชนะที่พอเหมาะกับขนาดของโต๊ะ ไม่ควรจัดแน่นโต๊ะ เพราะอาจทำให้ตักอาหารไม่ถนัด
ความกลมกลืน (Harmony)
ภาชนะที่ใช้สำหรับอาหารแต่ละชนิด ควรมีความเหมาะสม และ กลมกลืน รวมถึง แยกประเภทของอาหาร ว่าชิดไหนควรใส่จานในลักษณะใด รวมถึง การดีไซน์การจัดจานให้ดูสวยงาม และ โดดเด่น เพื่อทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น
การตัดกัน (ตรงกันข้าม)
สีของอาหารรวมถึงการปรุงอาหารควรใช้สีที่ตัดกันจะทำให้ดูสวยงามและน่ารับประทานมากขึ้น แต่ไม่ควรตัดด้วยความสูงเกินความเป็นไปได้


การซ้ำ คือ เป็นตกแต่งจานในลักษณะเดิม อาทิเช่น การจัดผัก หรือ แตงกวาเรียงรอบจาน เพื่อเน้นการจัดอาหารให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น

การเน้น (Emphasis)
สำหรับการเน้น คือ ศิลปะในการจัดตกแต่งอาหารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยสามารถทำได้ทั้งการตกแต่งบรรยากาศภายในห้องอาหาร รวมถีง การเน้นสีสันของอาหารให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น อาทิเช่น การแกะสลักผัก และ ผลไม้ รวมถึง การจัดดอกไม้เพื่อช่วยให้สร้างบรรยกาศที่แสนเพอร์เฟค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากศิลปะที่มาจากความคิดสร้างสรรค์
ความสมดุล (Balance)
การจัดอาหาร รวมถึง โต๊ะอาหาร สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสมดุลที่ช่วยให้การจัดวางมีความลงตัว ไม่หนาแน่นในพื้นที่ใดพื้นทีหนึ่ง อีกทั้ง ควรแยกประเภทอาหาร เพื่อความสะดวกในการตักอาหาร ดังนั้น ในการจัดอาหารแต่ละครั้ง ควรคำนึงถึงความสมดุลเป็นหลัก เพื่อความเหมาะสม และ ช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกผู้มาเยือน
สี (Color)
สำหรับการใช้สีในการตกแต่งอาหาร ถือเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างจุดเด่น ให้กับอาหารในแต่ละจานอีกด้วย ซึ่งอาหารแต่ละชนิดมีสีในตัวเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการตกแต่งเป็นอย่างมาก ที่สำคัญการใช้สีตกแต่งอาหาร ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และ ถึงแม้อาหารจะมีรสชาติอร่อย แต่หากขาดสีสันในการปรุงแต่ง ก็ทำให้ขาดความน่าสนใจได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้น การทำอาหารแต่ละชิ้น จึงควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบเท่าเทียมกัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ก็จะทำให้อาหารจานนั้น ขาดความสมบูรณ์แบบ และ ดูไม่น่าสนใจอีกต่อไป