โบทูลิซึม (Botulism) โรคจากพิษปนเปื้อนในอาหาร อาจมีอันตรายถึงชีวิต

โรคโบทูลิซึมคืออะไร มีอันตรายอย่างไร จะป้องกันและรักษาอย่างไร ลองไปศึกษาข้อมูลเบื้องต้นกันดูค่ะ

โรคโบทูลิซึมคืออะไร
โรคโบทูลิซึม Botulism เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อ Clostridium Botulinum หรือที่ครั้งหนึ่งเชื้อโรคนี้เคยระบาดในชื่อ โรคหน่อไม้พิษ โรคหน่อไม้ปี๊บ โรคพิษหน่อไม้ปี๊บหรือเรียกสั้นๆ ว่าหน่อไม้พิษ เชื้อโรคโบทูลิซึมพบได้ตามแหล่งดินทราย และแหล่งน้ำตามธรรมชาติทั่วไป ซึ่งเชื้อโรคโบทูลิซึมมีลักษณะเป็นสปอร์ที่ปลิวไปในอากาศ จึงสามารถปนเปื้อนได้ในธรรมชาติทั่วไป แหล่งอาหารที่เป็นพืช สัตว์ รวมถึงแหล่งน้ำ และหากไม่ผ่านกรรมวิธีที่สะอาดและปลอดภัยในการนำมาผลิตเป็นอาหาร ก็จะเกิดการบ่มเพาะเชื้อที่ทำให้เกิดพิษเมื่อนำมาบริโภค เชื้อโบทูลินั่มเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นและไม่มีอากาศ เชื่อว่าพิษโบทูลิซึมเพียง 1 กรัมสามารถฆ่าคนได้เป็นล้านคน

โรคโบทูลินั่ม

โรคโบทูลิซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
1. เชื้อโรคโบทูลิซึมปนเปื้อนในอาหาร – เชื้อโรคโบทูลิซึมอาจจะปนเปือนในผักผลไม้ เนื้อสัตว์ ที่บรรจุในภาชนะมิดชิด ซึ่งในระหว่างกระบวนการผลิตไม่มีมาตรฐาน ไม่มีการตรวจสอบที่รัดกุม หรือไม่มีความปลอดภัยมากพอจึงทำให้ยังมีเชื้อโรคโบทูลิซึมยังปนเปื้อนในอาหาร และปล่อยพิษออกมาเมื่อนำมาบริโภค รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคโบทูลิซึมในวัตถุดิบที่นำมาผลิตอาหารที่ไม่ผ่านการตรวจสอบก่อน จึงอาจทำให้มีเชื้อตกค้างและทำให้เกิดพิษได้เช่นกัน

2. เชื้อโรคโบทูลิซึมเข้าทางบาดแผล – การได้รับเชื้อแบบนี้จะต้องเป็นบาดแผลที่ค่อยข้างลึกและแคบ ซึ่งทำให้ออกซิเจนเข้าไปในบาดแผลได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่การได้รับเชื้อโรคโบทูลิซึมด้วยวิธีนี้จะได้รับมาพร้อมกับการเกิดบาดแผล เช่น การบาดเจ็บจากการโดนไม้แหลมทิ่มเข้าเนื้อ หรือบาดแผลสัมผัสกับดินหรือน้ำที่มีเชื้อโรคโบทูลิซึมอยู่ก่อนแล้วจึงสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้

home-canned-2500-56a2101d5f9b58b7d0c62acb.jpg

โรคโบทูลิซึมมีอาการอย่างไร
ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคโบทูลิซึมจะแสดงอาการของโรคเมื่อได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 8 – 36 ชั่วโมง หรือบางรายอาจจะแสดงอาการเร็วกว่านี้ โรคโบทูลิซึมจะมีอาการดังต่อไปนี้

      • แรกเริ่มจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง บางคนอาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
      • อิดโรย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ มึนงง หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อน การตรวจดูรูม่านตา จะพบรูม่านตาขยายหรือไม่หดเล็กเมื่อถูกไฟส่อง
      • กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง เจ็บคอ กลืนลำบาก พูดไม่ชัด หรือตะกุกตะกัก
      • ในรายที่รุนแรง จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แขนขาเป็นอัมพาต กล้ามเนื้อหน้าอก หน้าท้อง และกะบังลมอ่อนแรงทำให้หายใจขัด และหยุดหายใจ
      • สำหรับทารกที่กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคโบทูลิซึม จะมีอาการแรกเริ่ม คือ ท้องผูก ต่อมาจะมีอาการง่วงซึม เฉยเมย ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร หนังตาตก กลืนลำบาก ร้องไม่มีเสียง คอพับคออ่อน เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก แขนขาเป็นอัมพาต ถ้าเป็นรุนแรงจะมีอาการหายใจลำบาก และหยุดหายใจในที่สุด

การรักษาโรคโบทูลิซึม
หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัวตลอดทั้งวัน เริ่มกลืนไม่ได้ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจได้รับเชื้อโบทูลิซึม และควรรีบพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะดูแลอาการและรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

      • เบื้องต้นจะต้องทำให้พิษออกจากร่างกายให้มากและเร็วที่สุด โดยการทำให้อาเจียน ล้างท้อง หรือสวนทวาร
      • หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มจะได้รับพิษมากและลุกลามรุนแรง แพทย์จะฉีดเซรุ่มต้านพิษโบทูลิซึม ซึ่งควรฉีดภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีอาการ ซึ่งเซรุ่มจะทำลายพิษที่หลงเหลืออยู่ในเลือด
      • แพทย์จะให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำคาสายสวนปัสสาวะ
      • ผู้ป่วยที่หายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจเองได้ จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันภาวะหยุดหายใจกะทันหัน
      • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะต้องทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง

kukuruza-konservirovannaya-kalorijnost-bzhu-polza-i-vred

อาหารกระป๋อง ควรตรวจสอบวันหมดอายุ สี กลิ่นที่ผิดปกติ และควรนำมาปรุงด้วยความร้อนก่อนทาน

640x960.jpg

ควรปรุงอาหารให้สุกด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเพื่อทำลายพิษที่ปนเปื้อน

การป้องกันโรคโบทูลิซึม

  • การรับประทานอาหารกระป๋อง ควรนำอาหารออกจากกระป๋อง ใส่ภาชนะอื่นๆ และนำมาปรุงเพื่อผ่านความร้อนฆ่าเชื้อก่อนรับประทาน ไม่ควรชิมอาการกระป๋องหลังจากเปิดกระป๋องทันที และควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารกระป๋องที่เมื่อเปิดกระป๋องแล้วพบว่ามีฟองก๊าซ หรือมีกลิ่นเหม็นแปลกๆ รวมถึงอาหารกระป๋องที่กระป๋องบุบ หมดอายุ
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารบรรจุกระป๋อง ปี๊บ หรือขวดแก้วที่ผลิตแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือนอย่างไม่ถูกกรรมวิธี หรือดูแลไม่สะอาดปลอดภัย
  • ปรุงอาหารให้สุกด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือทำให้เดือดนานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายพิษที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหาร
  • หากต้องการเก็บอาหารที่ทานเหลือ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และก่อนทานควรอุ่นให้ร้อน
  • เมื่อมีบาดแผลสกปรก ปนเปื้อนดินทราย ควรรีบทำควรสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ และต้องให้มั่นใจว่าไม่มีเศษดินหรือสิ่งสกปรกตกค้างในบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • สำหรับทารก หากพ่อแม่ต้องการเปลี่ยนอาหาร หรือให้อาหารอื่นเพิ่มให้ทารก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะอาหารบางชนิดอาจมีเชื้อโบทูลิซึมปนเปื้อน เช่น น้ำผึ้ง หรือนมผง

บทความจาก
https://www.rakluke.com/lifestyle/

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.