ฝากขายสินค้า ง่ายดี ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็ได้

ฝากขายสินค้า ง่ายดี ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็ได้

สินค้าค้างสต๊อก ขายได้ช้า จมทุน นอกจากปัจจัยจากตัวสินค้าเองแล้ว อาจเป็นเพราะทำเลที่ขายสินค้าไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย  ดังนั้นหลายแบรนด์จึงเลือกใช้วิธีการฝากขายแทน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝากขายสินค้า

การฝากขาย  หมายถึง  การที่บุคคลที่เป็นเจ้าของสินค้าซึ่งเรียกว่า  ผู้ฝากขาย  ส่งสินค้าของตนไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า  ผู้รับฝากขาย  เป็นผู้ขายสินค้าให้  โดยที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขายจนกระทั่งสินค้านั้นขายได้  กรรมสิทธิ์ในสินค้าจึงจะโอนเป็นของผู้ซื้อสินค้า  ผู้รับฝากขายจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่านายหน้าตามที่ตกลงกัน  ประโยชน์ด้านผู้ฝากขายสำหรับการส่งสินค้าไปฝากขายจะมีหลายประการ  คือ  เป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนตั้งสถานที่จำหน่ายสินค้า  หรือไม่ต้องเสี่ยงต่อการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเรียกเก็บเงินไม่ได้  หรือราคาขายสินค้าจะเป็นราคาเดียวกันในทุกที่ที่ส่งสินค้าไปฝากขาย  เพราะผู้ฝากขายเป็นผู้กำหนดราคาขายและเงื่อนไขการขายเอง  ส่วนด้านผู้รับฝากขายจะได้รับประโยชน์ในด้านการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า  เพราะผู้รับฝากขายจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า  นอกเหนือจากผลประโยชน์ดังกล่าวแล้ว  ผู้รับฝากขายจะต้องมีหน้าที่ในการดูแลสินค้าที่รับฝากขาย  ขายสินค้าตามราคาที่กำหนด  พิจารณาให้เครดิตลูกค้าสำหรับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ  และส่งเงินค่าขายสินค้าพร้อมรายงานการขายสินค้าให้แก่ผู้ฝากขาย

สัญญาในการฝากขาย

การดำเนินการฝากขายควรมีการทำสัญญาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง  ตรงกันทั้งผู้ฝากขายและผู้รับฝากขาย  และเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งในภายหลัง  ข้อความที่ควรแสดงในสัญญาฝากขายควรมีดังต่อไปนี้

                        1. ระยะเวลาที่ยอมให้ผู้รับฝากขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อได้

                        2. การกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้รับฝากขายจะได้รับเมื่อขายสินค้าได้

                        3. ราคาและเงื่อนไขในการขาย

                        4. รายงานการขายที่ผู้รับฝากขายต้องทำส่งให้ผู้ฝากขายได้ทราบข้อมูลการดำเนินงานต่าง ๆ ในการรับฝากขาย

                        5. รายการและจำนวนเงินค่าใช้จ่ายของผู้รับฝากขายซึ่งผู้ฝากขายจะชดใช้ให้

                        6. การเก็บรักษาและการแยกสินค้าที่ฝากขาย  และเงินค่าขายสินค้าฝากขายจากสินทรัพย์ของผู้รับฝากขาย

                        7. ค่าตอบแทน  ค่านายหน้า  หรือกำไรที่ผู้รับฝากขายจะได้รับ

แบรนด์สินค้าชื่อดังต่างๆ ฝากขายยังไง ถึงจะประสบความสำเร็จ 

เชื่อแน่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs อยากขายของ และอยากจะให้สินค้าของตัวเองมียอดขายพุ่งกันทุกคน แต่ด้วยข้อจำกัดที่มากมายของธุรกิจ SMEs ก็อาจเป็นได้แค่เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

แต่ถ้าเป็นไปได้ผู้ประกอบการหลายรายก็อยากจะให้สินค้าของตัวเองเข้าไปวางขายบนชั้นวางสินค้าของห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงร้านสะดวกซื้อต่างๆ เพราะจะสามารถเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าได้อย่างแน่นอน

แต่การจะนำสินค้าเข้าไปขายในห้างเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของ SMEs มากนัก ถ้ามีความพยายามและตั้งใจอย่างแน่วแน่ โดยไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ

การนำสินค้าเข้า Modern Trade

นำเสนอเงื่อนไขเบื้องต้นและคำศัพท์ที่ทาง Modern Trade หรือ ผู้รับสินค้า ใช้ในการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์

เงื่อนไข ข้อที่ 1 : เอกสารที่ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมให้กับทาง Modern Trade

ในขั้นตอนของการทำสัญญาฝากขายกับทาง Modern Trade จะมีการเรียกเอกสารประกอบการทำสัญญาแตกต่างกันไปในแต่ละ Shop แต่สำหรับเอกสารหลักๆที่ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมนั้นมีดังนี้

• สำเนาหนังสือรับรองบริษัทที่รัฐออกให้ไม่เกิน 90 วัน

• สำเนาหนังสือ ภพ.20

• สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ส่งสินค้า

• สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจในการจัดส่งสินค้า (ถ้ามี)

• สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการรับชำระค่าสินค้า ที่มีชื่อบัญชีตรงตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือรับรอง

จากเอกสารที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการที่จะฝากขายกับทาง Shop Modern trade จำเป็นต้องดำเนินการในนามนิติบุคคล หรือต้องจดทะเบียนบริษัทก่อนนั้นเอง

เงื่อนไข ข้อที่ 2 : ค่าใช้จ่ายสำหรับ Open Account

ในการนำสินค้าเข้า Modern Trade ครั้งแรก ผู้ประกอบการต้องเสียค่าวางสินค้าหรือค่า Open Account ให้กับทางโมเดิร์นเทรด ซึ่งจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ

1. ค่าเปิด Account ครั้งแรก (เสียครั้งเดียว)
เป็นเสมือนค่าแรกเข้า ซึ่งจ่ายครั้งเดียวในตอนแรก เพื่อแลกกับการรับบริการ จำหน่ายสินค้าบน Shop, สรุปรายงานการขายรายเดือน, ดูแลสินค้าและอื่นๆ

2. ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU (เสียรายปี)
เป็นค่านำสินค้าเข้าตามรายการสินค้า ซึ่งแต่ละ Shop จะมีค่าใช้จ่ายต่างกัน เช่น

• 5,000 บาท / 1-4 SKU
• 10,000 บาท / 5-10 SKU

     การนำสินค้าเข้าช็อปครั้งแรก ในแต่ละที่จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ตั้งแต่หลักหมื่นบาทไปจนถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของโมเดิร์นเทรด ทำเลในการขายสินค้า และการบริหารจัดการของแต่ละโมเดิร์นเทรด “ค่าเปิดบัญชีแรกเข้า” จึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการควรชั่งน้ำหนักและคิดให้ดี เพื่อเลือกโมเดิร์นเทรดที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด

เงื่อนไข ข้อที่ 3 : Growth Profit (จีพี)

     Growth Profit : จีพี คือรายได้จากการขายสินค้าของแบรนด์ในโมเดิร์นเทรด ซึ่งทางแบรนด์จะต้องแบ่งรายได้ให้กับทางโมเดิร์นเทรด เพราะแน่นอนว่าเราไปฝากขายในพื้นที่ของเขา ไหนจะค่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ คงไม่มีใครให้เราขายของฟรีแน่ๆ โดยปกติโมเดิร์นเทรดจะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนจีพีไว้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้จากการขายของแบรนด์

ตัวอย่าง เช่น สินค้า A ขายราคา 100 บาท เมื่อหักค่าจีพีให้กับโมเดิร์นเทรด 40% แบรนด์จะได้รับเงินค่าสินค้า A  60 บาท

อย่างไรก็ตามแต่ละโมเดิร์นเทรดจะกำหนดสัดส่วนค่าจีพีไม่เท่ากัน และนอกจากค่าจีพีที่เราต้องหักแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้กับช็อปแล้ว การขายสินค้าในโมเดิร์นเทรดอาจมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆเพิ่มเติมอีก ขึ้นอยู่ว่าแต่ละโมเดิร์นเทรดจะมีกำหนดอย่างไร เช่น ค่าดีซี ค่าส่งเสริมการขาย เป็นต้น

เงื่อนไข ข้อที่ 4 : Distribution Center (ดีซี)

ในขั้นตอนการขนส่งและกระจายสินค้า ต้องขนส่งจากคลังสินค้าใหญ่ไปยังศูนย์กระจายสินค้าก่อน และถึงจะกระจายสินค้าไปแต่ละช็อปสาขาได้ การขนส่งสินค้าแต่ละครั้งจึงใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งในช่วงแรกๆที่เรายังไม่รู้ระบบการจัดการและความต้องการสินค้าของแต่ละช็อปสาขา เราจึงควรวางแผนการส่งสินค้าและเช็คสต็อกสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้เติมสินค้าในช็อปได้ทัน ก่อนที่สินค้าจะหมด ซึ่งแน่นอนว่าการบริหารเวลาจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เราไม่พลาดโอกาสในการขายสินค้า

* ค่าดีซี-ค่ากระจายสินค้า-ค่าขนส่งสินค้า มีคำเรียกหลากหลายที่ผู้ประกอบการแต่ละคนเรียกตามความเข้าใจ อันที่จริงแล้วมีความหมายเหมือนๆกัน คือเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า กระจายสินค้า ซึ่งในบางโมเดิร์นเทรดอาจจะหักค่าดีซีจากยอดขายสินค้าของแบรนด์ประมาณ 1-3 เปอร์เซ็นต์

เงื่อนไขและคำศัพท์ทั้ง 4 ข้อ ที่นำมาอธิบายในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรกเข้า ค่าจีพี ค่าดีพี ตลอดจนข้อมูลเอกสารที่ใช้ประกอบการทำสัญญากับโมเดิร์นเทรด ล้วนเป็นสิ่งพื้นฐานที่ผู้ประกอบการควรรู้ และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการนำสินค้าเข้าโมเดิร์นเทรดได้


ในปัจจุบันนี้ผู้คนทั่วโลกหันมา shopping online กันเป็นจำนวนมาก และสินค้าทั้งหลากหลายหมวดหมู่ของประเทศไทยเรายังไม่เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศมากนัก นี่คือโอกาสที่สำคัญที่จะขยายธุรกิจของท่านในเติบโต ก้าวสู่ตลาดโลกขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา โดยขายออนไลน์บน amazon.com  เวปไซต์ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก  

ทำไมถึงต้องตลาดประเทศอเมริกา?

อเมริกาประกอบไปด้วยเศรษฐกิจซึ่งมีฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ในทางตอนเหนือและภูมิภาคละตินอเมริกา เป็นหนึ่งในเขตที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก จึงมีความหลากหลายและเป็นตลาดที่ให้ผลกำไรสูงสำหรับธุรกิจที่มองหาการขยายตัวด้านการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในสินค้าฟุ่มเฟือยในเม็กซิโกและบราซิล ทำให้ตลาดอเมริกามีความดึงดูดอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออก

d9beba5f13575d8780f80f6722b6193e-5b8ebeb0f3195.jpg

การฝากขายบนเวปไซต์ค้าปลีกใหญ่ที่สุดในโลก Amazon.com

บริษัทของเราได้ดำเนินการขายออนไลน์บน amazon.com มาเป็นจำนวนกว่า 2 ปีแล้ว ด้วยสินค้า 1,000 กว่ารายการ และยอดขาย 50,000 ชิ้นต่อปี บริษัทของเราได้ช่วยบริษัทหรือบุคคลที่ต้องการขยายตลาดส่งออกต่างประเทศประสบความสำเร็จหลายราย

ในการเปิดบัญชีขายกับเวปไซต์ Amazon อย่างถูกต้องนั้นจำเป็นที่บริษัทของคุณจะต้องจดทะเบียนที่ประเทศอเมริกาอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าต้องศึกษาให้ดีรอบคอบและมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก บริษัทของเราได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ดังนั้นการฝากขายกับเราจึงเป็นทางเลือกที่ง่ายและขยายตลาดไปต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

cats


บทความจาก
https://zortout.com
https://www.at-z.co.th
https://sites.google.com/site/acsamtech/hnwy-thi-4-khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-kar-fak-khay-sinkha

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.