การคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) สำหรับขนส่งทางเรือ (SEA) และ ทางอากาศ (AIR)

การคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) สำหรับขนส่งทางเรือ (SEA) และ ทางอากาศ (AIR)

เชื่อว่าเป็นอีกเรืองที่ผู้นำเข้า-ส่งออกไม่ควรมองข้ามไป นั่นก็คือการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) สำหรับขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight) และ ทางอากาศ (Air Freight) ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ใช้กันเป็นประจำอย่างแน่นอน

แต่ว่า! ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าตามที่บอกไปแล้วนั้น เราต้องมาทราบกันก่อนว่าค่าของหน่วยตัวแปรต่างๆที่จะนำไปใช้ในการคำนวณนั่นมีที่มาที่ไปอย่างไร

หน่วยวัดที่ต้องทราบก่อนการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดของสินค้า

1 เมตร = 100 เซนติเมตร

1 ฟุต = 30.48 เซนติเมตร

1 เซนติเมตร = 10 มิลลิเมตร

1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร

1 กิโล = 2.2 ปอนด์

1 ตัน = 1 คิว

1 คิว = 167 กิโล *อ้างอิงจาก Ratio by Airfreight ( 1 : 6000 )*

1 คิว = 1 ลูกบาศก์เมตร = 1 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร

เมื่อทราบตัวแปลงค่าหน่วยต่างๆกันไปเรียบร้อยแล้ว ต่อไปนี้เราก็มารู้จักกับวิธีการคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) กันเลยจ้า ซึ่งวิธีคำนวณก็มีมากมายหลากหลายนะคะตามแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล

ตัวอย่างวิธีคำนวณ(เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น)
1.การคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยมิลลิเมตร (mm)

ตัวอย่าง : Cargo details 1Pallets น้ำหนัก 1500Kgs, Dim.W.1900mm x L.3000mm x H.2000mm

*เทียบหน่วย 10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร*

(W x L x H)/1ล้านcm3 = (190x300x200cm)/1,000,000 = 11.40cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:
*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่ 11.40คิว , 1,500กิโล
*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก 1,903.80 กิโล (11.40×167=1,903.80) ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักที่คำนวณได้จากขนาดสินค้าโดยจะเรียกว่า “Chargeable weight หรือ Volume weight ” เพราะมีค่ามากกว่าน้ำหนักจริง”Gross Weight” ที่หนักแค่ 1,500 กิโลกรัมนั่นเอง

2.การคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยเซนติเมตร (cm)

ตัวอย่าง : Cargo details 2Pallets น้ำหนัก 1,000Kgs/Pallets, Dim.W.50cm x L.100cm x H 90cm

(W x L x H)/1ล้านcm3 = [(50x100x90cm) x 2Pcs]/1,000,000 = 0.90cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:
*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่= 2 คิว (1ตัน=1คิว) และ 2,000กิโล
*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก=2,000กิโล ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักสินค้าจริง เพราะว่าน้ำหนักจริง “Gross Weight” มีค่ามากกว่าน้ำหนัก “Chargeable weight” ที่คำนวณได้แค่ 150กิโลเท่านั้น (0.90×167=150)

3.การคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยนิ้ว (inch)

ตัวอย่าง : Cargo details 4Pallets น้ำหนัก 750Kgs/Pallets, Dim. W.30″x L.55″x H.40

“เทียบหน่วย 1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร

(W x L x H)/1ล้านcm3 = [(76.20×139.70×101.60cm) x 4Pcs]/ 1,000,000 = 4.326cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:
*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่= 4.326คิว และ 3,000กิโล
*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก=3,000กิโล ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักสินค้าจริง เพราะว่าน้ำหนักจริง “Gross Weight” มีค่ามากกว่าน้ำหนัก”Chargeable weight” ที่คำนวณได้แค่ 722.44 กิโลเท่านั้น (4.326×167=722.44)

จาก3ตัวอย่างข้างต้นคงทำให้พอนึกภาพกันออกแล้วว่าแต่ละค่ามีที่มากันยังไง และนำไปใช้อย่างไร สิ่งที่สำคัญเพราะการที่เรารู้ขนาดสินค้า น้ำหนักสินค้า จำนวนคิวสินค้า ที่ชัดเจนนั้น สามารถช่วยให้เราทราบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และกำหนดราคาขายได้ถูกต้อง

ขอให้สนุกกับการคำนวณนะคะ !

บทความจาก
http://cpo2000.com/


ถ้าต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องส่งออกสินค้าไปอเมริกา สามารถปรึกษาเทอเรสเทรียลได้โดยตรง

Tags:

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.