เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและขั้นตอนการจดทะเบียน

trade-mark-icon-19เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น

2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

trademaek

3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น

4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

trademaek2.jpg

ตัวอย่างสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ

นี่คือตัวอย่างของสัญลักษณ์ที่คุณสามารถเพิ่มลงในผลิตภัณฑ์และเว็บไซต์ของคุณเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีการปกป้องแบรนด์ชื่อ บริษัท และโลโก้

  • TM – เครื่องหมายการค้า
  • SM – เครื่องหมายบริการ
  • R – เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหรือ Servicemark
  • C – ลิขสิทธิ์

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)

ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)

หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสเปน) และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย

หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ลำดับ หลักฐาน
1 ใบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า —  ได้แก่

  • ชื่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
  • รูปเครื่องหมาย
  • คำอ่านและแปล (ถ้ามี)
  • จำพวก และรายการบริการ
  • ระบุการขอจดทะเบียน

ทั้งนี้ต้องเตรียมสำเนาใบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 5 ฉบับ และรูปเครื่องหมายการค้า 5 รูป

2 รูปเครื่องหมาย — (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)
3 หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ —  ได้แก่

  • ชื่อผู้ประดิษฐ์(ทุกท่าน)
  • หน่วยงานต้นสังกัด
  • ชื่อที่แสดงถึงการสิ่งประดิษฐ์

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ลำดับ รายละเอียด
1 ตรวจทาน/แก้ไข แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 1.) ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (ข้อที่ 2.) และหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 3.) เรียบร้อยแล้ว
2 ให้ท่านส่งไฟล์กลับมายังอีเมลศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ tu.tuipi@gmail.com เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ทำความเข้าใจ และแก้ไขกลับไปให้ท่านอ่านเนื้อหาอีกครั้งว่า ยังมีเนื้อหาที่ตรงกับความประสงค์ของผู้สร้างสรรค์หรือไม่่
3 ให้ท่าน (ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน) ส่งไฟล์ที่แก้ไขกลับมายังอีเมลศูนย์ฯ อีกครั้ง
4 เมื่อหลักฐานครบ รายละเอียดการประดิษฐ์ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานการยื่นที่ได้เลขที่คำขอลิขสิทธิ์แล้วส่งคืนเจ้าของผลงานทั้งในรูปของเอกสาร (Hard copy) และไฟล์ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานร่วมกันกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต่อไป

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม

มีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้

1. การตรวจค้น ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนควรตรวจค้นเครื่องหมายของตนที่ประสงค์จะยื่นขอจดทะเบียนว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วหรืออยู่ระหว่างขอจดทะเบียนหรือไม่ โดยตรวจค้นด้วยตนเองได้ที่กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมฯ (www.ipthailand.go.th) ทั้งนี้ ต้องชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเครื่องหมายและพิจารณาคำขอจดทะเบียนโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

2. การยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจัดเตรียมคำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01) โดยกรอกแบบคำขอให้ครบถ้วนโดยการพิมพ์ และแนบหลักฐานประกอบคำขอ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้าหรือบริการ อย่างละ 500 บาท สามารถยื่นคำขอได้ 4 ช่องทาง คือ 1) กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 2) สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 3) ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และ 4) ทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมฯ (www.ipthailand.go.th)

3. การเตรียมคำขอและเอกสารประกอบ

คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองและเครื่องหมายร่วม ให้ใช้แบบ ก. 01

3.1 กรณียื่นเครื่องหมายรับรองให้ยื่นข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง โดยระบุถึงแหล่งกำเนิดส่วนประกอบวิธีการผลิตคุณภาพหรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าหรือบริการที่จะรับรองตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น

3.2 กรณียื่นเครื่องหมายร่วมให้ยื่นหลักฐานหรือคำชี้แจงที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายร่วมนั้น พร้อมทั้งระบุข้อความในใบต่อ (ก. 11) ว่าเครื่องหมายร่วมนั้นจะใช้โดยบุคคลหรือนิติบุคคลใดบ้างหรือจะใช้โดยสมาชิกทุกคนหรือสมาชิกคนใดของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรใด

4. บัตรประจำตัวของเจ้าของ

4.1 บุคคลธรรมดา ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง จำนวน 1 ฉบับ

4.2 นิติบุคคล ให้ใช้ต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ฉบับ

5 หนังสือตั้งตัวแทน หรือหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนเจ้าของ)

5.1 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในประเทศไทย ให้แนบเอกสาร ดังนี้

  • (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ (แบบ ก. 18)
  • (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทน แล้วแต่กรณี
  • (3) หากผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าในขณะตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริง

5.2 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในต่างประเทศ ให้แนบเอกสารดังนี้

  • (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจที่มีคำรับรองลายมือชื่อ โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ
  • (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทน แล้วแต่กรณี

6. เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนอื่นๆ(ถ้ามี) เช่น หลักฐานพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะ หรือหนังสือผ่อนผันการนำส่งเอกสาร(แบบ ก.19) เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม

การชำระค่าธรรมเนียม ขึ้นอยู่กับจำนวนรายการสินค้าหรือบริการที่จะจดทะเบียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการ อย่างละ 500 บาท

ขั้นตอนการรับจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการ อย่างละ 300 บาท


บทความจาก
http://tuipi.tu.ac.th/

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.