ต่อจากบทความ (มาดูงาน Art จากปกอัลบั้มเพลงสไตล์ตะวันตกยุค 1938-1949) เราลองมาดูกันว่ายุค 1950-1960 นั้นสไตล์การออกแบบปกอัลบั้มเพลงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนหน้าหรือไม่ สำหรับในบทความนี้จะพูดถึงลักษณะและตัวอย่างผลงานการออกแบบของปกอัลบั้มเพลงที่เริ่มในยุคแห่งเพลงแจ๊สกับสไตล์ภาพวาดสีฉูดฉาด ช่วงนี้ในอดีตเพลงแจ๊สมีอิทธิพลกับคนทั้งโลก มันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไม่แปลกที่ศิลปะบนปกอัลบั้มเหล่านั้นจะได้รับความนิยมด้วยเช่นกัน
มีงานศิลปะบนปกอัลบั้มส่วนใหญ่ยังคงได้รับความนิยม และได้รับไอเดียจาก Alex Steinweiss(1917-2011) ที่เป็นผู้ริเริ่มการออกแบบปกอัลบั้มในยุค 1938 อัลบั้ม Smash Song Hits เป็นสไตล์การออกแบบที่เน้นการวาดภาพเหมือนกับศิลปินหรือนักร้อง นักดนตรีคนนั้นๆและเอามาเพิ่มเติมใส่จินตนาการของผู้ออกแบบเพิ่มเติมให้ดูเหนือความเป็นจริงและดูสร้างสรรค์สร้างความดึงดูดให้กับผู้ฟัง การวางเลย์เอ้าตัวอักษรมักจะวางให้ดูโดดเด่น ดูมันส์ สีฉูดฉาดกระแทกตา

ในขณะเดียวกันในยุคสมัยนั้นก็จะมีปกอัลบั้มเพลงที่เป็นงานศิลปะอีกสไตล์หนึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กันคืองานแบบ Abstract ยกตัวอย่างเช่น อัลบั้มเพลงแจ๊สของ Dave Brubeck ชื่อ Time out เป็นต้น และช่วงยุคสมัยนั้นยังเริ่มมีการนำงานภาพถ่ายมาใช้เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบปกอัลบั้มด้วย เช่น อัลบั้ม What I’D Say ปี 1959 ของ Ray Chales เป็นต้น

Andy Warhol เป็นอีกหนึ่งนักออกแบบที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในยุคนั้นจากงาน ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน ที่ผู้คนรู้จักกันอย่างเป็นวงกว้าง เขาได้ออกแบบปกอัลบั้มมากกว่า 50 ชิ้นงานให้กับเพลงแจ๊สและป๊อป ให้กับวงที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่น The Velvet Underground, The Rolling Stones, Diana Ross, The Smiths and Aretha Franklin เป็นต้น


โดยเชื่อว่าปกอัลบั้มแรกที่ Andy ทำก็คือปกอัลบั้ม Carlos Chavez หรือที่เรียกว่า A Program of Mexican Music ในปี 1949 ตอนเขาอายุได้ 21 ปี สไตล์การออกแบบของเขาส่วนมากจะออกมาในลักษณะของการมีสีต่างๆอยู่ในชิ้นงาน


อีกหนึ่งศิลปินดังที่แจ้งเกิดในยุคนี้และเป็นที่รู้จักในวงกว้างคือ Elvis Presley


สำหรับการออกแบบดีไซน์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนั้นมีนักออกแบบบางส่วนที่ได้นำสไตล์ปกอัลบั้มยุค 1950 มาเป็นไอเดียหรือนำมาทำใหม่เพื่อเข้ากับแบรนด์หรือสินค้าต่างๆ เช่นออกแบบโลโก้ เสื้อวง และส่วนใหญ่ที่เป็นตัวอักษรก็มักถูกนำมาใช้ด้วยเช่นกัน


ซึ่งมองว่าการนำสไตล์ในช่วงปีนั้นมาใช้ส่วนใหญ่จะถูกนำมาเพราะความโด่งดังของศิลปินจะคอยเป็นตัวช่วยในการสร้างการรับรู้และสร้างความรู้จักมากยิ่งขึ้น นักออกแบบบางคนใช้มันเพื่อที่เวลามองเห็นงานออกแบบแล้วอาจนึกถึงภาพศิลปินหรือวงดนตรีนั้นๆที่ถูกถอดแบบเอามาเป็นไอเดีย หรือบางครั้งอาจทำแบรนด์หรือสินค้าใดๆมาจากความชอบส่วนตัวของนักออกแบบด้วยเช่นกัน

เสื้อวง หรือเสื้อศิลปินดัง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำสินค้าจากวงดนตรีดังหรือศิลปินดังนั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนสนใจจะซื้อเป็นอย่างมาก หลายๆคนอาจซื้อของสักหนึ่งชิ้นที่ทำให้นึกถึงศิลปิน หรือแสดงความชอบเกี่ยวกับศิลปินนั้นๆ เช่นเสื้อวง แหวนวง ผ้าเช็ดหน้า พวงกุญแจ ต่างๆล้วนถูกออกแบบมาโดยนักออกแบบทั้งสิ้นเพื่อความสวยงาม แต่ที่ต้องยึดไว้ในการออกแบบลักษณะนี้คือการสร้างเอกลักษณ์ของวงเช่นภาพหน้าศิลปินหรือ Gimmick บางอย่างที่ทำให้นึกถึงนั้นเอง
งานออกแบบอีกสไตล์ที่มีให้เห็นคือการทำโปสเตอร์หนังชีวประวัติของศิลปินดังในยุคนั้น คุณจะได้เห็นงานออกแบบที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และมีบางอย่างที่ทำให้นึกถึงศิลปินหรืกลิ่นอายความเป็นปกอัลบั้มเพลงได้ดีเช่น ตัวอักษร การเล่นสี สไตล์การวางเลย์เอ้าที่ดูมั่นคง ดูเป็นแพทเทิลตรงๆเรียบร้อย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่างาน Art บนปกอัลบั้มส่วนใหญ่ในยุค 1950 – 1960 นั้นจะเป็นการนำภาพศิลปินมาใช้เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้ดูมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น หรือเป็นการใช้ฐานแฟนคลับศิลปินเพื่อให้ถูกพูดถึงกันมากขึ้น โปสเตอร์หนังบางเรื่องก็นำสไตล์การออกแบบลักษณะนี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน

รถยนต์ยี่ห้อ Cadillac ได้ออกโปสเตอร์ในปี 1955 เป็นช่วงที่แบรนด์รถยี่ห้อนี้ได้รับความนิยมจากศิลปินอย่าง Elvis Plesley นำไปใช้