Overproduction

คือการผลิตมากเกินไป  เป็นความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความต้องการ เกินกว่าความต้องการของลูกค้า ผู้ผลิตสินค้าต้องการผลิตสินค้าให้มีจำนวนมากพอที่จะขายให้กับลูกค้าได้และต้องไม่สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการ ดังนั้นการผลิตสินค้าเก็บรอไว้จำนวนมากเป็นสาเหตุของการผลิตที่มากเกินไป เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในเรื่องการเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า ระบบ JIT (just in time) จึงเป็นที่นิยมสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการผลิตให้พอดีกับความต้องการของลูกค้า.

Overproduction คือหนึ่งใน ความสูญเสีย7ประกาศที่ บริษัทหรือโรงงานด้านอุตสหกรรมควรรู้

1.      ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)

2.      ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory)

3.      ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transporation)

4.      ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)

5.      ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)

6.      ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Delay)

7.      ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defect)

ที่มาของปัญหา Overproductionคือ แนวคิดที่ว่าทุกหน่วยในธุรกิจจะต้องทำการผลิตมากที่สุด โดยไม่ได้มีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อไปถึงหน่วยงานถัดไป มุ่งดูการจัดการในหน่วยตัวเองเท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหามีการผลิตรายการที่ไม่ต้องการ มีผลผลิตที่มีจำนวนมากกว่าความต้องการจริงมุ่งที่จะเก็บสต๊อดไว้มาก เพื่อป้องกันกรณีมีปัญหาการผลิตในหน่วยตนก็ยังจะสามารถมีสินค้าส่งได้ ไม่เกิดปัญหาในการส่งมอบงานป้อนหน่วยงานถัดไป

จุดสังเกต การผลิตมากเกินไป

– ผลิตภัณฑ์รอผลิตมากไป (WIP)

– ผลิตภัณฑ์สำเร็จมากไป (Finished Goods)

– การมีแผนการผลิตแบบเผื่อเกินความจำเป็น

– วางแผนการผลิตเพื่อชดเชยของเสียเครื่องจักรเสีย

– ระยะเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องมีเวลานาน 

– วางแผนการผลิตแบบล็อตใหญ (Big Lot Production)

– มีนโยบายกำหนดว่า แม้มีกำลังการผถิตส่วนเกินเหลืออยู่ก็ยังต้องผลิตต่อเพื่อไม้ให้เกิดปัญหาคนและเครื่องว่างงาน

วิธีการปรับปรุง แก้ไข การผลิตมากเกินไป

1. บำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพพร้อมผลิตตลอดเวลา

2.ผลิตเฉพาะสิ่งที่ต้องการในปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น

3. ลดของเสียเวลาเครื่องจักรเสียวลาการตั้งเครื่อง (Set Up Time)

4. พร้อมกับกำหนดปริมาณการผลิตแต่ละล็อตให้เล็กลง
กำจัดจุดคอขวดของสายการผลิตและทำให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง

5. ปรับกำลังการผลิตให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการของลูกค้า

6. ลดเวลาการตั้งเครื่องจักร (Reduce setup time) โดยศึกษาเวลาในการตั้งเครื่องจักร

7. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มตั้งเครื่อง

8. แยกขั้นตอนที่ทำได้ในขณะที่เครื่องจักรยังทำงานอยู่ออกจากขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อเครื่องจักรหยุดเท่านั้น

9. ผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น โดยปรับเวลาของกระบวนการให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต (Synchronize time and amount of process)

10. ทำการผลิตเฉพาะที่จำเป็น (Make only what is need now)

11. ฝึกให้พนักงานมีทักษะหลายอย่าง

12.จัดลำดับขั้นตอนในการตั้งเครื่องจักรให้เหมาะสม

13. กระจายงานอย่างเหมาะสมโดยไม่ให้เกิดการรองาน

14.จัดหา/ทำอุปกรณ์เพื่อช่วยในการกำหนดตำแหน่งอย่างรวดเร็ว

15. ปรับปรุงขั้นตอนที่เป็นคอขวด (Bottle-neck) ในกระบวนการ เพื่อลดรอบเวลาการผลิต

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.